วันพฤหัสบดีที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ความเห็นผิด + คลิปเสก โลโซ(เพลงโลภะ โทสะ โมหะ )



ความเห็นผิดตามหัวข้อ ทำให้เกิดอะไร การดำรงชีวิตผิด การใช้ผิด ทำให้เบียดเบียนตนเอง และเบียดเบียนผู้อื่น ทำตนให้เดือดร้อน และคนอื่นๆลำบากหรือไม่เป็นไปด้วยดี ทีนี้ตามคำสอนที่สุดยอดขององค์สมเด็จฯ มีคำว่า โมหะอันเป็นเหตุให้เกิดมิจฉาทิฐิความเห็นผิดนั้นคือเห็นอย่างไร ?

ใจ ได้สัมผัสอารมณ์ ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในใจ ที่ไม่ดี ไม่ชอบ ไม่ปรารถนา เพราะจำได้หมายรู้ (สัญญา) แล้วคิดปรุงแต่งไม่ดี (สังขาร) แล้วเกิดความไม่พอใจ อิจฉาริษยา โกรธ พยาบาทปองร้าง ฯลฯ
นั่นคือ ความทุกข์ใจ ถ้าควบคุมความรู้สึกในใจที่ไม่ดีเหล่านี้ได้ ก็จะแสดงออกทางกาย ทางวาจาให้เห็น

พุทธดำรัสตอบ “..... ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นมิจฉาทิฐิมีความเห็นวิปริตว่า ทานที่ให้แล้วไม่มีผล ยัญที่บูชาแล้วไม่มีผล การเช่นสรวงไม่มีผล ผลวิบากของกรรมที่บุคคลทำดีทำชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มี บิดาไม่มี สัตว์พวกที่เกิดผุดขึ้นไม่มี สมณะพราหมณ์ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ทำโลกนี้และโลกหน้าให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว สอนหมู่สัตว์ให้รู้ตามไม่มีในโลก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าทิฐิวิบัติ.... เพราะทิฐิวิบัติเป็นเหตุ สัตว์ทั้งหลายเมื่อกายแตกตายไป ย่อมเข้าถึงอบายทุคติ วินิบาต นรก.....ฯ”

อยสูตร ติ. อํ. (๕๕๗)
ตบ. ๒๐ : ๓๔๕ ตท. ๒๐ : ๓๐๒

*** องค์ประกอบของมิจฉาทิฏฐิ(ความเห็นผิดไปจากความเป็นจริง) ***
มิจฉาทิฏฐิ คือความเห็นผิดไปจากความเป็นจริง เมื่อแยกบทแล้ว ได้ ๒ บท คือ

มิจฉา แปลว่า วิปริต

ทิฏฐิ แปลว่า ความเห็น

เมื่อรวมกันแล้ว เป็นมิจฉาทิฏฐิ แปลว่าความเห็นที่วิปริต หมายถึง ความเห็นที่ผิดแผกไปจากความเป็นจริง ดังวจนัตถะแสดงว่า

มิจฺฉาปสฺสตีติ - มิจฺฉาทิฏฐิ

แปลความว่า "ธรรมชาติใด ย่อมมีความเห็นที่วิปริตผิดไปจากความเป็นจริง ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า มิจฺฉาทิฏฐิ"

เรื่องมิจฉาทิฏฐินี้ พระพุทธองค์แสดงไว้อย่างกว้างขวาง มีสักกายทิฏฐิ ความเห็นผิดที่ยึดมั่นในขันธ์ ๕ ว่า เป็นเรา.

สำหรับมิจฉาทิฏฐิในมโนทุจริตนี้ มุ่งหมายเอา"นิยตมิจฉาทิฏฐิ" ๓ ประการ อันเป็นมิจฉาทิฏฐิอย่างหยาบ ที่ให้สำเร็จเป็นอกุศลกรรมบทได้ ส่วนมิจฉาทิฏฐิอย่างอื่นนั้น เป็นเพียงทิฏฐิสามัญเท่านั้น

นิยตมิจฉาทิฏฐิ ๓ ประการ คือ

๑. นัตถิกทิฏฐฺ มีความเห็นว่า ทำอะไรก็ตาม ผลที่พึงได้รับนั้น ย่อมไม่มีความเห็นผิดชนิดนี้ จัดเป็นอุจเฉททิฏฐิด้วย คือ เห็นว่า สัตว์ทั้งหลายตายแล้วก็สูญไป ไม่มีการเกิดอีก ในสามัญผลสูตร แสดงความเห็นผิด ชนิดที่เป็น นัตถิกทิฏฐินี้ว่า ได้มาจากความเห็นผิด ๑๐ อย่าง คือ

๑) เห็นว่า การให้ทานไม่ได้รับผลแต่อย่างใด

๒) เห็นว่า การบูชาต่างๆ ไม่ได้รับผล

๓) เห็นว่า การต้อนรับเชื้อเชิญไม่ได้รับผล

๔) เห็นว่า การทำดี ทำชั่วไม่ได้รับผลแต่อย่างใด

๕) เห็นว่า ผู้มาเกิดในภพนี้ไม่มี

๖) เห็นว่า ผู้ไปเกิดในภพหน้าไม่มี

๗) เห็นว่า คุณมารดาไม่มี

๘) เห็นว่า คุณบิดาไม่มี

๙) เห็นว่า สัตว์ที่ผุดเกิดเติบโตในทันที คือ สัตว์นรก เปรต เทวดา พรหม ไม่มี

๑๐) เห็นว่า สมณะพราหมณ์ ที่รู้แจ้งโลกนี้ และโลกหน้าด้วยตนเอง และสามารถแนะนำชี้แจงสมณะพราหมณ์ ที่ถึงพร้อมความสามัคคี ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ นั้นไม่มี

ผู้มีนัตถิกะทิฏฐินี้ มีความเห็น"ปฏิเสธผล" ซึ่งเท่ากับปฏิเสธอำนาจกุศล อกุศลเจตนาที่เป็นเหตุให้เกิดผลต่างๆด้วย

๒. อเหตุกทิฏฐิ คือผู้ที่มีความเห็นว่า สัตว์ทั้งหลายที่กำลังได้รับความลำบาก หรือความสบายก็ตาม ไม่ได้อาศัยเหตุใดๆ ให้เกิดขึ้นเลย เป็นไปเองทั้งนั้น ในสามัญผลสูตรแสดงว่า ชนกเหตุ คือเหตุให้เกิด และอุปถัมภกเหตุ คือ เหตุช่วยอุปถัมภ์ ให้สัตว์ทั้งหลายมีความเศร้าหมอง ลำบากกาย ลำบากใจนั้นไม่มี สัตว์ทั้งหลายที่กำลังเศร้าหมองและลำบากอยู่นั้น ก็ไม่มีชนกเหตุ และอุปถัมภกเหตุแต่อย่างใด เหตุที่ทำให้สัตว์ทั้งหลายมีความบริสุทธิ์ หลุดพ้นจากความลำบากกาย ลำบากใจนั้นไม่มี และสัตว์ทั้งหลายที่มีความบริสุทธิ์ พ้นจากความลำบากกายใจได้นั้น ไม่เกี่ยวกับชนกเหตุ และอุปถัมภกเหตุแต่อย่างใด
ผู้มีอเหตุกทิฏฐินี้ มีความเห็น"ปฏิเสธเหตุ"ไม่เชื่อว่ากรรมดี หรือกรรมชั่วที่สัตว์ทั้งหลายได้กระทำกันอยู่ทุกวันนี้ จะเป็นเหตุให้เกิดผลได้ ผู้ที่ปฏืเสธเหตุ เท่ากับเป็นการปฏิเสธเหตุ และผล ดังสามัญผลสูตร อรรถกถาว่า "ผู้ที่เห็นว่า ความสุขทุกข์ ของสัตว์ทั้งหลายนั้น ไม่เกี่ยวเนื่องมาจากเหตุ ก็เท่ากับว่า เป็นการปฏิเสธเหตุ และผล ไปพร้อมกันด้วย"

๓. อกิริยทิฏฐิ มีความเห็นว่า การกระทำต่างๆของสัตว์ทั้งหลายนั้น ไม่สำเร็จเป็นบาป บุญแต่ประการใด ในสามัญผลสูตรแสดงว่า

ผู้ที่มีความเห็นผิดชนิดอกิริยทิฏฐิ เห็นว่า การทำดี ทำชั่วของสัตว์ทั้งหลาย จะทำเองก็ตาม ใช้ให้ผู้อื่นทำก็ตาม ไม่ได้ชื่อว่าเป็นบุญ บาป หรือฆ่สัตว์ด้วยตนเอง หรือใช้ให้ผู้อื่นทำก็ตาม ลักทรัพย์ด้วยตนเอง หรือใช้ให้ผู้อื่นลักทรัพย์ก็ตาม ไม่ได้ชื่อว่าเป็นบุญ บาป

ความเห็นผิดชนิดอกิริยทิฏฐินี้ เป็นความเห็นที่ปฏิเสธกรรม อันเป็นตัวเหตุ ฉะนั้นจึงเท่ากับว่า ปฏิเสธผลของกรรมด้วย ดังในสามัญผลสูตร อรรถกถาแสดงว่า

"เมื่อปฏิเสธการการทำบาป บุญที่เป็นตัวเหตุแล้ว ก็เท่ากับปฏิเสธผลของการทำบาป บุญนั้นด้วย"

นิยตมิจฉาทิฏฐินี้ เป็นความเห็นผิดชนิดที่สามารถส่งผล ให้เกิดใน"นิรยภูมิ"อย่างแน่นอน แม้พระพุทธองค์ก็โปรดไม่สำเร็จ (นิรยภูมิ - สัตว์นรก)

(คัดจากหนังสือ พระอภิธรรมมัตถสังคหะ)

พระราชนิพนธ์ของรัชกาลที่ 6 เรื่อง โคลนติดล้อ บท 5 ความเห็นผิด
---------------

ไม่ต้องสงสัยเลย ความเห็นที่ประหลาดที่สุดนั้น ก็คือความเห็นที่ว่า ถ้าสามารถจะอ้างเอาอย่างฝรั่งขึ้นเป็นข้อแก้ตัวได้แล้ว จะประพฤติให้เลวทรามต่ำช้าแม้เสมอกับเดียรัจฉานก็ทำได้ ยกตัวอย่าง ถ้าต้องการจะเมา ก็ไปเชิญเอาพวกพ้องมาสัก 3 หรือ 4 คนแล้วก็ "ดื่มให้กัน" จนทุกคนลงนอนกลิ้งอยู่ใต้โต๊ะใต้เก้าอี้กับพื้นหรือกับดิน ซึ่งดูราวกับสัตว์ที่เขาฆ่าแล้วนั้นก็ทำได้ หรืออีกอย่าง 1 เมื่อกล่าวเท็จ กลับชมตนเองว่า ค่อนข้างแหลมอยู่ หรือมิฉะนั้น ถ้าปรารถนาสิ่งไรซึ่งมิใช่ของตนเอง ก็หยิบเอาเสียเฉย ๆ ได้โดยแก้ตัวว่า ตนเป็นคนอิสระไม่ต้องพึ่งผู้ใด "จะไปนั่งคอยถือประเพณีอันล่วงสมัยของคนพื้นเมืองเอาเรื่องอะไร?"

ถ้าแม้มีสาเหตุแค้นเคืองเป็นส่วนตัวอยู่กับผู้ใด เข้าใจว่าถ้าตรงไปเอาปืนยิงมันเสียแล้ว คนทั้งหลายก็จะกลับเห็นชอบด้วยกับตน เพราะในอเมริกาเขาทำกันอย่างนั้น แต่ตัวอย่างตามที่กล่าวมานี้ บางท่านจะเห็นว่ารุนแรงเกินไปก็เป็นได้ ข้าพเจ้าได้ยกมา พอเป็นอุทาหรณ์เพื่อส่อให้เห็นว่าการมีความเห็นผิดนั้น อาจจะให้ผลลึกซึ้งได้ปานใด

ข้าพเจ้าไม่จำเป็นที่จะบรรยายว่า ความ เห็นผิดเหล่านี้เกิดมีมาอย่างไร เพราะเหตุว่ามีแจ้งอยู่ในพระราชนิพนธ์ เรื่องประโยชน์แห่งการอยู่ในธรรม ซึ่งโปรดเกล้าฯ พระราชทานให้ลงในสมุทรสาร เล่ม 4 เดือนเมษายนนั้นแล้ว แต่ไม่ต้องสงสัยเลย การคบค้าสมาคมกับฝรั่งไพร่มีผลทำให้คนไทยหนุ่ม ๆ ซึ่งสำคัญตนว่าได้รับความศึกษามาแล้วนั้น บกพร่องไปในทางจรรยา ที่จริงก็ไม่ผิดกับวิธีฝรั่งที่นำความ "ศิวิไลซ์" ไปสู่พวกอินเดียนผิวแดง โดยใช้สุราเป็นเครื่องเพาะความนิยม แต่บังเอิญเป็นโชคดีของชาวเราที่ยังมีพระศาสนาอันประเสริฐ ซึ่งได้ช่วยเหนี่ยวรั้งชาวเราได้รอดพ้นจากภูมิอันทรามต่ำช้า เช่น ชาวอินเดียนผิวแดงอันน่าสังเวชที่กล่าวมาแล้วนั้น

ท่านไม่นึกหรือว่า ความเห็นผิดในทางจรรยาดังว่านี้ เป็นมลทินแก่นามอันงามของชาติเรา? ถ้าท่านเห็นว่าเป็นมลทินแล้ว ข้าพเจ้าหวังใจว่า ท่านจะถือเอาเป็นกรณียกิจของท่านอย่าง 1 ที่จะบันดาลให้ความเห็นเช่นนี้เสื่อมสูญไป ความเห็นผิดจะคงมีอยู่ต่อไปได้ก็แต่เมื่อผู้ที่เห็นผิดนั้นยังได้รับความ ผ่อนผันปราณี ถ้าเราจะทำให้เป็นที่เข้าใจเสียให้ชัดเจนว่า เราจะไม่คบค้าเขาเหล่านั้นอีกต่อไป เขาจะคงประพฤติชั่วอยู่ต่อไปได้ก็หาไม่

มีคนอยู่เป็นอันมาก แม้ไม่เลวเท่าที่ข้าพเจ้าได้ยกมากล่าวก็ดี ยังต้องนับว่ามีความผิดอยู่ คือมีอยู่หลายคนที่นับว่าเป็นคนฉลาดมีสติปัญญา แต่เห็นผิดคิดไปว่าเป็นการสมควรที่จะต้อนรับแขกด้วยวิศกี้และโซดาแทนน้ำ

เพราะว่าเขาเข้าใจว่าเป็นธรรมเนียมในสมาคม แห่งฝรั่งผู้ดี เขาเหล่านี้จะยังไม่เคยได้ทราบเลยกระมังว่า ฝรั่งผู้ดีเขามีประเพณีการเลี้ยงน้ำชาเวลาบ่าย ข้าพเจ้าได้เคยรู้จักคน ๆ 1 ซึ่งเป็นคนดี และเป็นคนที่เสพสุราไม่ได้เลย แต่เขารับแขกด้วยวิศกี้โซดาเสมอ เมื่อถามเขาว่าด้วยเหตุใดจึงทำเช่นนั้น เขาก็ตอบว่าเขาไม่อยากที่จะให้คนเรียกเขาว่าขี้เหนียว เพราะไม่ว่าแห่งใดที่ที่เขาได้ไปเยี่ยมเยียนก็เห็นเขาใช้รับแขกกันเช่นนี้ ทั้งนั้น เออ! สำหรับผู้ที่กินเหล้าไม่เป็น ธรรมเนียมนี้ก็ลำบากอยู่บ้าง แต่ผู้ที่ข้าพเจ้ารู้จักนั้นก็ถือเอาเป็นธรรมเนียมโดยมิได้ปริปากบ่นว่า ประการใด เพราะเขาคิดว่าเป็นของต้องทำเพื่อรักษาความนับถือแห่งมิตรของเขา

อนิจจา! ถ้าเราจะรักษาความนับถือแห่งมิตรไว้ไม่ได้ นอกจากด้วยความช่วยเหลือจากท่านยอนเดวาหรือวิศกี้ที่เลวกว่าฉะนี้แล้ว ดูเราก็จะเดินลงลึกเสียแล้วกระมัง ท่านไม่นึกหรือว่าการที่เป็นเช่นนี้น่าจะมีอะไรที่ไม่ชอบกลสักอย่าง 1 เป็นแน่?

ความเห็นผิดอีกอย่าง 1 ซึ่งมีฝังอยู่ในคนจำพวก 1 นั้นก็คือว่า ถ้าแม้เป็นหมอความแล้ว ถึงจะฝ่าฝืนกฎหมาย ๆ ก็จะคุ้มครองตน ข้าพเจ้าได้ทราบเรื่องคน ๆ 1 ซึ่งจับเรียนกฎหมายโดยความมุ่งหมายอย่างเดียวจะตีหัวคนอีกคน 1 เขาได้สอบไล่กฎหมายได้จริง ๆ และเขาได้พยายามทำร้ายร่างกาย เช่นที่ได้ตั้งใจไว้จริง ๆ ด้วย แต่ไม่จำเป็นที่ข้าพเจ้าจะต้องกล่าวเพิ่มเติมว่า ในเวลานี้ ผู้ที่ข้าพเจ้ากล่าวถึงนี้ได้ไปอาศัยอยู่ในตะรางแล้ว! ถ้าความเห็นผิดในเรื่องอำนาจแห่งกฎหมายยังมีอยู่ตราบใด สง่าแห่งกฎหมายก็ย่อมจะไม่แผ่เผยพูนเพิ่มได้ตราบนั้น เพราะฉะนั้นถึงแม้จะต้องถูกหาว่าซ้ำซาก ข้าพเจ้าก็ยอม แต่จะต้องขอถามท่านอีกสักครั้ง 1 ว่า การเป็นอยู่ตามที่ควรจะเป็นแล้วละหรือ? ถ้าท่านเห็นว่าไม่ควร ดังที่ข้าพเจ้าหวังใจว่าท่านจะเห็นเช่นนั้น ท่านจะไม่ช่วยลบล้างความเห็นที่ผิดนี้ละหรือ? ถ้าท่านจะรักษาอำนาจแห่งกฎหมาย และท่านประสงค์จะให้กฎหมายเป็นเครื่องคุ้มครองชีวิตร่างกายและทรัพย์สมบัติ ของท่านแล้ว ท่านก็ต้องสะบัดหน้าไม่สมาคมคบค้า พวกที่ใช้กฎหมายเพื่อประโยชน์อย่างร้ายกาจของเขานั้นอีกต่อไป

ในที่สุดยังมีความเห็นผิดอยู่อีกอย่าง 1 ในเรื่องความเป็น "อิสระ" ซึ่งบางคนอธิบายว่า คือการเลือกทำอะไรได้ตามอำเภอใจ ไม่เลือกว่าจะผิดหรือให้โทษเพียงใด คนประเภทนี้ย่อมเป็นที่น่ารังเกียจแก่คนทั้งหลาย และเมื่อเขาดื่มสุราเฟื่องขึ้นด้วยแล้ว ก็เป็นอันเหลือสติกำลังที่จะทนทานได้จริง ๆ! ถ้ามีคนคัดค้านเข้าคราวใด ผู้ตั้งตนเองเป็นผู้รักษา "อิสระภาพ" นี้ ก็มักใช้วาจาหยาบคาย ด่าว่าเฉพาะบุคคลอย่างทารุณ ซึ่งเขาเรียกว่าเป็นคำโต้ตอบความโง่เขลาของชาวพื้นเมือง แต่ส่วนข้อที่ตัวเขาเองเป็นไพร่บัดซบและเป็นคนขี้อวด มีวุฒิอย่างนกแก้วที่สามารถจำคำของปราชญ์มากล่าวได้เป็นตอน ๆ ซึ่งตนเองก็ไม่เข้าใจนั้น หาได้กระทบมันสมองของมันอันมึนด้วยพิษแอลกอฮอลนั้นไม่

ส่วนเราผู้เป็นไทยแท้ เป็นพลเมืองแห่งชาติไทย จะยอมนิ่งทนคนลามกผู้เป็นมลทินแก่นามว่าไทยต่อไปสักเท่าใด? ถ้าเราตกลงใจจะไม่คบค้ามันต่อไป เราก็ไม่จำเป็นต้องคบเลย เราไม่ต้องการความเป็นไทยชนิดที่พวกไพร่บัดซบเหล่านี้สำแดง! เราทั้งหลายมีความเป็นไทยของเราเองอันเป็นสิ่งซึ่งสง่างามอยู่แล้ว ความเป็นไทยอย่างนี้แหละเราทั้งหลายพึงสงวนไว้ให้ถาวรวัฒนาจนกว่าจะสิ้นดิน ฟ้า

ที่มา
http://www.geocities.com/Tokyo/Shrine/6611/a008_05.htm

สัมมาทิฐิ เห็นถูกต้องตามความเป็นจริง

มิจฺฉาทิฏฐิ แปลความว่า มีความเห็นที่วิปริตผิดไปจากความเป็นจริง

ที่ผมวา่งไว้เพราะไม่อยากมีทุกข์ ๆ เกิดจาก และจะละได้ด้วย

กระบวนการของการเกิดความทุกข์ของมนุษย์เราโดยสังเขป จะเกิดขึ้นเมื่อใด
ความรู้แจ้งทางอารมณ์ที่ตามองเห็นสิ่ง ต่างๆ ที่ไม่ดี ไม่ชอบ ไม่ปรารถนา แล้วเกิดความไม่พอใจ โดยแสดงอาการท่าทางต่างๆ ออกมาทางกาย ทางวาจา ให้เห็น นั่นคือ ความทุกข์
ความรู้แจ้งทางอารมณ์ที่หูได้ยินเสียงสิ่งต่างๆ ที่ไม่ดี ไม่ชอบ ไม่ปรารถนา แล้วเกิดความไม่พอใจ โดยแสดงอาการท่าทางต่างๆ ออกมาทางกาย ทางวาจา ให้เห็น นั่นคือ ความทุกข์
ความรู้แจ้งทางอารมณ์ที่จมูกสูดดมกลิ่นสิ่งต่างๆ ที่ไม่ดี ไม่ชอบ ไม่ปรารถนา แล้วเกิดความไม่พอใจ โดยแสดงอาการท่าทางต่างๆ ออกมาทางกาย ทางวาจา ให้เห็น นั่นคือ ความทุกข์
ความรู้แจ้งทางอารมณ์ที่ลิ้นได้ลิ้มรสสิ่งต่างๆ ที่ไม่ดี ไม่ชอบ ไม่ปรารถนา แล้วเกิดความไม่พอใจ โดยแสดงอาการท่าทางต่างๆ ออกมาทางกาย ทางวาจา ให้เห็น นั่นคือ ความทุกข์
ความรู้แจ้งทางอารมณ์ที่กายได้สัมผัสสิ่งต่างๆ ที่ไม่ดี ไม่ชอบ ไม่ปรารถนา แล้วเกิดความไม่พอใจ โดยแสดงอาการท่าทางต่างๆ ออกมาทางกาย ทางวาจา ให้เห็น นั่นคือ ความทุกข์
ความรู้แจ้งทางอารมณ์ที่ใจได้สัมผัสอารมณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในใจ ที่ไม่ดี ไม่ชอบ ไม่ปรารถนา เพราะจำได้หมายรู้ (สัญญา) แล้วคิดปรุงแต่งไม่ดี (สังขาร) แล้วเกิดความไม่พอใจ อิจฉาริษยา โกรธ พยาบาทปองร้าง ฯลฯ
นั่นคือ ความทุกข์ใจ ถ้าควบคุมความรู้สึกในใจที่ไม่ดีเหล่านี้ได้ ก็จะแสดงออกทางกาย ทางวาจาให้เห็น

การดำเนินชีวิตของมนุษย์ในปัจจุบัน ทำอย่างไรทุกข์ใจจะไม่เกิดทุกข์
เมื่อตาได้สัมผัสกับรูป หูได้ยินเสียง จมูกได้สูดดมกลิ่น ลิ้มได้ลิ้มรส กายได้สัมผัส และใจได้นึกคิดต้องระวังใจ ไม่ให้คิดปรุงแต่ง จำได้หมายรู้ในทางไม่ดี ไม่ชอบ ไม่ปรารถนา แล้วความทุกข์ก็จะไม่เกิดขึ้นครอบง่ำจิต ทุกข์ เมื่อเกิดขึ้นแล้ว เป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้

ความสุขไม่มี มีแต่ทุกข์ที่น้อยลงต่างหากละ ฉะนั้นต้องเรียนรู้ในตัวทุกข์ให้แจ้ง

การที่จะเห็นแจ้งอริยสัจ สี่ ตามที่เป็นจริง. ระเบียบแห่งความถูกต้อง คือความถูกต้องตามสัมมัตตะ ๑๐ ประการ ซึ่งเป็นองค์ประกอบแห่งการบรรลุมรรคผล

สัม มัตตะ 10
สัมมัตตะ แปลว่า ภาวะที่ถูกต้อง หรือ ความเป็นสิ่งที่ถูกต้อง 10 อย่าง
1. เห็นชอบ (สัมมาทิฏฐิ) คือเห็นสิ่งต่าง ๆ ตามที่เป็นจริง
2. ดำริชอบ (สัมมาสังกัปปะ) คือ ไม่ลุ่มหลงมัวเมากับความสุขทางกาย ไม่พยาบาทและไม่คิดทำร้ายผู้อื่น
3. เจรจาชอบ (สัมมาวาจา) คือ การไม่พูดเท็จ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดคำหยาบ และไม่พูดเพ้อเจ้อ
4. กระทำชอบ (สัมมากัมมันตะ) คือ ไม่ทำลายชีวิต ไม่ลักขโมย ไม่ประพฤติผิดทางกาม
5. เลี้ยงชีวิตชอบ (สัมมาอาชีวะ) คือ การทำมาหากินด้วยอาชีพที่สุจริต ไม่คดโกง ไม่หลอกลวง ทำกิจการในสิ่งที่เป็นผลร้ายต่อคนทั่วไป
6. พยายามชอบ (สัมมาวายามะ) คือความพยายามที่จะป้องกันมิให้ความชั่วเกิดขึ้น ความพยายามที่จะกำจัดความชั่วที่เกิดขึ้นแล้วให้หมดไป ความพยายามที่จะสร้างความดีที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้นและความพยายามที่จะ รักษาความดีที่เกิดขึ้นแล้วให้คงอยู่ตลอดไป
7. ระลึกชอบ (สัมมาสติ) ความหลงไม่ลืม รู้ตัวอยู่เสมอว่ากำลังเห็นสิ่งต่าง ๆ ตามที่เป็นจริง
8. ตั้งจิตมั่นชอบ (สัมมาสมาธิ) คือ การที่สามารถตั้งจิตให้จดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้นาน
9.รู้ชอบ (สัมมาญาณ) คือ ผลญาณ ได้แก่ ญาณ 3 วิชชา 3, 8 วิปัสสนาญาณ 9 เป็นต้น
ญาณ 3
1.อตีตังสญาณ หมายถึง รู้อดีตและสาวหาเหตุปัจจัยอันต่อเนื่องมาได้
2.อนาคตังสญาณ หมายถึง รู้อนาคต หยั่งผลที่จะเกิดสืบต่อไปได้
3.ปัจจุปปันนังสญาณ หมายถึง รู้ปัจจุบัน กำหนดได้ถึงองค์ประกอบเละเหตุปัจจัยของเรื่องที่เป็นไปอยู่
วิชชา 3 (ความรู้แจ้ง หรือความรู้พิเศษ)
1.ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ หมายถึง ความรู้เป็นเหตุให้ระลึกขันธ์ที่อาศัยอยู่ในก่อนได้, ระลึกชาตได้
2.จุตูปปาตญาณ หมายถึง กำหนดรู้จุติและอุบัติแห่งสัตว์ทั้งหลาย อันเป็นไปตามกรรม เห็นการเวียนว่ายตายเกิดของสัตว์ทั้งหลาย เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ทิพพจักขุญาณ
3.อาสวักขยญาณ ความหยั่งรู้ในธรรมเป็นทิ่สิ้นไปแห่งอาสวะ(กิเลส)ทั้งหลาย ความรู้ที่ทำให้สิ้นอาสวะ, ความตรัสรู้อาสวักขยญาณ
10.หลุดพ้นชอบ (สัมมาวิมุตติ) คือ อรหันตผลวิมุตติ
1.เจโตวิมุตติ แปลว่า ความหลุดพ้นแห่งจิต หมายถึง ความหลุดพ้นด้วยอำนาจการฝึกจิต หรือความหลุดพ้นแห่งจิตจากราคะ ด้วยกำลังแห่งสมาธิ (เป็นการเจริญทั้งสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน)
2.ปัญญาวิมุตติ แปลว่า ความหลุดพ้นด้วยปัญญา หมายถึง ความหลุดพ้นด้วยอำนาจการเจริญปัญญา, หรือความหลุดพ้นแห่งจิตจากอวิชชา ด้วยปัญญาที่รู้เห็นตามเป็นจริง (เป็นการเจริญวิปัสสนากรรมฐานอย่างเดียว)

มิจฉัตตะ 10 แปลว่า ภาวะที่ผิด หรือความเป็นสิ่งที่ผิด
1.มิจฉาทิฏฐิ ความเห็นผิด หมายถึง ความเห็นผิดจากคลองธรรมตามหลักกุศลกรรมบถ 10 และความเห็นที่ไม่นำไปสู่ความพ้นทุกข์
2.มิจฉาสังกัปปะ ความดำริผิด ได้แก่ ความดำริที่เป็นอกุศลทั้งหลาย ตรงข้าจากสัมมาสังกัปปะ
3.มิจฉาวาจา การมีวาจาผิด หมายถึง การมีวจีทุจริต 4
4.มิจฉากัมมันตะ การกระทำผิด หมายถึง การมีกายทุจริต 3
5.มิจฉาอาชีวะ การเลี้ยงชีวิตผิด หมายถึง การเลี้ยงชีวิตในทางทุจริต
6.มิจฉาวายามะ ความพยายามผิด หมายถึง ความเพียรตรงข้ามกับสัมมาวายามะ
7.มิจฉาสติ การระลึกผิด หมายถึง ความระลึกถึงเรื่องราวที่ล่วงแล้ว เช่น ระลึกถึงการได้ทรัพย์ การได้ยศ เป็นในทางอกุศล อันจัดเป็นสติเทียม เป็นเหตุชักนำใจให้เกิดกิเลสมีโลภะ มานะ อิสสา มัจฉริยะ เป็นต้น
8.มิจฉาสมาธิ การตั้งใจผิด หมายถึง การตั้งจิตเพ่งเล็ง จดจ่อปักใจแน่วแน่ในกามราคะ พยาบาท เป็นต้น หรือเจริญสมาธิแล้ว หลงเพลิน ติดหมกมุ่น ตลอดจนนำไปใช้ผิดทาง ไม่เป็นไปเพื่อญาณทัสสนะ และความหลุดพ้น
9.มิจฉาญาณ ความรู้ผิด หมายถึง ความหลงผิดที่แสดงออกในการคิดอุบายทำความชั่วและในการพิจารณาทบทวนว่ความ ชั่วนั้นๆ ตนกระทำได้อย่างดีแล้ว เป็นต้น
10.มิจฉาญาณ ความพ้นผิด หมายถึง การยังไม่ถึงวิมุตติ สำคัญว่าถึงวิมุตติ หรือสำคัญผิดในสิ่งที่มิใช่วิมุตติว่าเป็นวิมุตติ

ชีวิตประกอบด้วย ร่างกายและจิต (รูปและนาม)
1.รูป หมายถึง ร่างกาย คือ ส่วนประกอบของชีวิตเป็นสสาร (ธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ)
2.เวทนา หมายถึง อาการที่เป็นความสุข ความทุกข์ และไม่เป็นสุขไม่เป็นทุกข์ ที่เกิดขึ้นกับร่างกายและใจ เรียกว่า กายเป็นทุกข์ ใจเป็นทุกข์
3.สัญญา หมายถึง ความจำได้หมายรู้ในสิ่งต่างๆ ของใจ
4.สังขาร หมายถึง การคิดปรุงแต่งทั้งทางดี ทางชั่ว ไม่ดีไม่ชั่ว ของใจ
5.วิญญาณ หมายถึง ความรู้แจ้งทางอารมณ์ในสิ่งต่างๆ ของใจ มี 6 ทาง
คือ ตา(จักขุ) หู(โสต) จมูก(ฆานะ) ลิ้น(ชิวหา) กาย (กายะ) ใจ (มโน)

- ความรู้แจ้งทางอารมณ์ที่ตามองเห็นสิ่งต่างๆ เรียก จักขุวิญญาณ
- ความรู้แจ้งทางอารมณ์ที่หูได้ยินเสียงสิ่งต่างๆ เรียก โสตวิญญาณ
- ความรู้แจ้งทางอารมณ์ที่จมูกสูดดมกลิ่นสิ่งต่างๆ เรียก ฆานวิญญาณ
- ความรู้แจ้งทางอารมณ์ที่ลิ้นได้ลิ้มรสสิ่งต่างๆ เรียก ชิวหาวิญญาณ
- ความรู้แจ้งทางอารมณ์ที่กายได้สัมผัสสิ่งต่างๆ เรียก กายวิญญาณ
- ความรู้แจ้งทางอารมณ์เมื่อใจได้สัมผัสอารมณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในใจ เรียก มโนวิญญาณ

หลงประเด็นไปนานเลย ..... มาดูต่อว่าโมหะเป็นอย่างไร

กิเลส 3 กองที่เป็นต้นเหตุให้บุคคลประกอบกรรมชั่วร้าย หรือที่เรียกว่า อกุศลกรรม ได้แก่

1. โลภะ หมายถึง ความอยากได้ของคนอื่นอันเป็นเหตุให้ทุจริต คอร์รัปชัน หรือในภาษาโบราณเรียกว่า การคดโกง

2. โทสะ หมายถึง ความเคียดแค้น ขุ่นเคืองในอารมณ์เป็นเหตุให้เกิดการประทุษร้ายผู้อื่น

3. โมหะ หมายถึง ความหลง เป็นเหตุให้เกิดการคิดผิด พูด และทำในสิ่งผิดด้วยคิดว่าเป็นสิ่งถูก

ในกิเลส 3 ประการนี้ โมหะถือได้ว่าเป็นเหตุแห่งอกุศลกรรมที่สำคัญที่สุด เพราะเป็นต้นตอหรือรากเหง้าให้เกิดกิเลสอื่นๆ ในทุกประเภท โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นเหตุให้เกิดความเห็นผิด หรือที่เรียกว่า มิจฉาทิฐิ อันเป็นอุปสรรคต่อการทำดีทั้งทางกายและวาจา และความเห็นผิดดูเหมือนจะยิ่งเกิดขึ้นและแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็วในสังคม ที่เจริญด้วยวัตถุแต่ด้อยในคุณธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่ชนที่เรียกตัวเองว่า ปัญญาชน หรือคนที่มากด้วยความรู้เมื่อดูจากวุฒิทางการศึกษา และตำแหน่งหน้าที่การงานที่ได้รับ ดังจะเห็นได้ชัดเจนเมื่อมีการนำเรื่ององคุลิมาลมาเปรียบเทียบกับคนที่สังคม รังเกียจในพฤติกรรมที่ผิดทั้งกฎหมายและศีลธรรมของศาสนา เพื่อต้องการให้เห็นด้วยและคล้อยตามในการนำหลักการแห่งการอยู่ร่วมกันอย่าง สันติ ด้วยการเรียกร้องให้คนทุกคนมีความสมานฉันท์ รักใคร่ กลมเกลียวกัน ด้วยการให้อภัยในความผิดที่บุคคลที่ว่านี้ได้กระทำไว้ ในทำนองเดียวกับที่พระพุทธเจ้าได้โปรดองคุลิมาลให้กลับใจเป็นคนดี และออกบวช ทั้งยังได้ดวงตาเห็นธรรมด้วยพุทธปริศนาธรรมย่อๆ ว่า “เราหยุดแล้ว แต่ท่านสิหาไม่หยุด”

เพิ่มเติม

โมหะ

กลุ่มโมหะ ธรรมฝ่ายชั่วนี้มี 4 อย่าง คือ

1.โมหะ เป็นความหลง หรือธรรมชาติที่ปิดความจริงของอารมณ์

2.อหิริกะ เป็นธรรมชาติที่ไม่ละอายในการทำผิดทางกาย วาจา ใจ หรือบาป

3.อโนตตัปปะ เป็นธรรมชาติที่ไม่กลัวเกรงต่อผลของบาป

4.อุทธัจจะ เป็นความฟุ้งซ่านหรือธรรมชาติที่จับอารมณ์ไม่มั่น

ลักษณะของโมหะ

โมหมูลจิตดวงที่สองเกิดร่วมกับอุเบกขาเวทนาประกอบด้วยอุทธัจจะ โดยศัพท์ อุทธัจจะ หมายถึง สภาพไม่สงบ หรือ ฟุ้งซ่าน อุทธัจจะเกิดกับอกุศลจิต ทุกประเภท (ดวง) ขณะใดที่จิตมีอุทธัจจะขณะนั้นไม่มี สติ สติเกิดกับโสภณจิตทุกดวง สติระลึกถึงสิ่งที่ดีงาม สติไม่ได้เกิดเฉพาะกับวิปัสสนาเท่านั้น ขณะให้ทาน รักษาศีล ศึกษาพระธรรม แสดงพระธรรม หรือเจริญสมถภาวนานั้น สติก็เกิดร่วมด้วย แต่สติในการเจริญวิปัสสนาภาวนานั้น ระลึกรู้ลักษณะของนามธรรมและรูปธรรม

โมหะ เป็นโทษเพราะเป็นมูลของอกุศลธรรมทั้งปวงเมื่อไม่รู้สภาพธรรมตามความเป็นจริงอกุศลก็จะสะสมมากขึ้น

โมหะเป็นปัจจัยให้เกิดให้เกิดโลภ เมื่อไม่รู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง ก็ย่อมเพลิดเพลินไปในอารมณ์ทั้งหลายที่ปรากฏทางทวารต่างๆ
โมหะเป็นปัจจัยให้เกิดโทสะด้วย เมื่อไม่รู้สภาพธรรมก็ย่อมจะโกรธเมื่อประสบกับอารมณ์ที่ไม่น่าพอใจ
โมหะเกิดกับอกุศลจิตทุกดวง และ
เป็นเหตุให้กระทำอกุศลกรรมบถ 10 ทางกาย วาจา ใจ ขณะใดที่สติระลึก รู้สภาพธรรมที่ปรากฏทางทวารหนึ่งทวารใดใน 6 ทวารเท่านั้น ปัญญาจึงจะเจริญขึ้นจนสามารถดับโมหะได้เป็นสมุจเฉท http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=5407


อวิชชา ไม่รู้ลักษณะของสภาพธรรมตามความเป็นจริง ไม่รู้อริยสัจจ์ 4 เพราะอวิชชาจึงไม่รู้ในอริยสัจจ์ข้อที่หนึ่ง คือ ทุกข์อริยสัจจ์ ไม่ประจักษ์ว่านามธรรมและรูปธรรมไม่เที่ยงและเป็นทุกข์ ไม่รู้อริยสัจจ์ข้อที่สอง คือ ตัณหา ซึ่งเป็นเหตุเกิดแห่งทุกข์ เพราะติดข้องในนามและรูป สังสารวัฏฏ์ จึงไม่สิ้นสุด ทุกข์จึงไม่สิ้นสุด ไม่รู้อริยสัจจ์ข้อที่สาม คือ พระนิพพาน ซึ่งเป็นธรรมที่ดับทุกข์ ไม่รู้อริยสัจจ์ข้อที่สี่ คือ อริยมรรคมีองค์ 8 ซึ่งเป็นหนทางปฏิบัติที่นำไปสู่ความดับทุกข์ อริยมรรคมีองค์ 8 จะเจริญขึ้นในการเจริญวิปัสสนาภาวนา

โมหะ กำจัดได้ด้วยปัญญา(แต่ปัญญาเกิดจากการมีสติ) คือใช้ปัญญาพิจารณาให้เห็นประจักษ์ในสิ่งนั้นๆ หมายความว่าต้องฝึกสติและการรู้ตามจริงเพิ่มเติม.....รับทราบครับผม.....ฮ่าๆๆๆๆๆ

มีข้อมูลประกอบเพิ่มเติม http://www.watpit.org/index.php?option=com_content&view=article&id=215:2009-12-18-20-32-45&catid=86:2009-12-17-06-19-38&Itemid=131 ดูๆกันน่ะครับผม

เหตุนี้ ท่านผู้เจริญวิปัสสนาทั้งหลาย พึงประคองสติ บำรุงสติให้สมบูรณ์ ขยันหมั่นเพียรตั้งสติบ่อยๆ โมหะตัวเผลอซึ่งเป็นศัตรูของสติก็จะลดน้อยลงๆ เบาบางลงตามลำดับ จนกระทั่งดับสิ้นเชื้อสิ้นยางแล้ว จะได้ชื่อว่ามีอาสวะสิ้นแล้ว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Manager Online - ภาคใต้

Manager Online - ภาคกลาง-ตะวันออก

Manager Online - ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Manager Online - ภาคเหนือ

คันฉ่องนกไฟ

ผู้ติดตาม

http://hi5.com/friend/displayLoggedinHome.do