หลวง ปู่เสน ปัญญาธโร ท่านย้ำอยู่เสมอ ...
"เอา แต่โลกธรรมแปด นี่แหละ เข้าใจมันอยู่เหนือมันให้ได้ ก็พอ ได้อาศัยแล้ว"
โลกธรรม แปดนั้น หมายถึงโลกธรรม๔ คู่มีอาการ ๘ อย่างคือ
มีลาภ - เสื่อมลาภ๑
มี ยศ - เสื่อมยศ๑
มี สรรเสริญ - นินทา๑
มี สุข - ทุกข์๑
ได้ยศ-เสื่อมยศ คือความ ยกย่องว่าเป็นใหญ่เป็นโต มีหน้ามีเกียรติ มีอำนาจหน้าที่ มีชื่อเสียงจิตก็ พองตัวขึ้นไปตามคำว่า "ยศ" นั้นหลงยึดว่าเป็นของตัวจริงๆจังๆ ธรรมดาความยกย่องของคนทั้งหลายแต่ละจิตละใจก็ไม่เหมือนกัน เขาเห็นดีเห็นงามในความมียศศักดิ์ของตนด้วยประการต่างๆ เขาก็ยกยอชมเชยด้วยความจริงใจ แต่เมื่อเขาเห็นกิริยาวาจาอันน่ารังเกียจของตนที่แสดงออกมาด้วยอำนาจของยศ ศักดิ์ เขาก็จำเป็นต้องเสแสร้งแกล้งปฏิบัติไปด้วยความเกรงกลัว ตนกลับไปยึดถือยศศักดิ์นั้นว่าเป็นของจริงของจัง เมื่อมันเสื่อมหายไป ความเกรงใจจากคนอื่นก็หมดไปด้วย ตนเองก็กลับโทมนัสน้อยใจ ไม่เป็น อันหลับอันนอน อันอยู่อันกิน แท้จริงแล้วความได้ยศ-เสื่อม ยศนี้เป็นของมีอยู่ในโลกแต่ไหนแต่ไรมาเช่นนี้ ตั้งแต่เรายังไม่เกิดมา พระพุทธองค์จึงทรงสอนธรรมทับลงเหนือโลก ให้เห็นว่า ได้ยศ-เสื่อมยศนี้เป็นของมีอยู่ในโลกมิใช่ของใครทั้งหมด ถ้าผู้ใดไปยึดถือเอาของเหล่านั้นย่อมเป็นทุกข์ไม่มีที่สิ้นสุดให้เห็นว่ามัน เป็นอนัตตาไม่ใช่ของใครทั้งหมด มันหากเป็นจริงอยู่อย่างนั้นแต่ไหนแต่ไรมา
สรรเสริญ-นินทา ความ สรรเสริญและนินทาก็เช่นเดียวกัน ในตัวคนคนเดียวกันนั่นแหละเมื่อเขาเห็นกิริยาอาการต่างๆที่น่าชอบ เขาก็ยกยอสรรเสริญชมเชย แต่เมื่อเขาเห็นกิริยาวาจาที่น่ารังเกียจเขาก็ติเตียนคน ผู้เดียวกันนั่นแหละมีทั้งสรรเสริญและนินทา มันจะมีความแน่นอนที่ไหน อันคำสรรเสริญและนินทาเป็นของไม่มีขอบเขตจำกัด แต่คนในโลกนี้โดยมากเมื่อได้รับสรรเสริญจากมนุษย์ชาวโลกทั้งหลายที่เขายกให้ ก็เข้าใจว่าเป็นของตนของตัวจริงๆจังๆ อันสรรเสริญไม่มีตัวตนหรอก มีแต่ลมๆแล้งๆหาแก่นสารไม่ได ้แต่เรากลับไปหลงว่าเป็นตัวเป็นตนจริง ไปหลง หอบเอาลมๆแล้งๆมาใส่ตนเข้า ก็เลยพองตัวอิ่มไปตามความยึดถือนั้น ไปถือเอาเงาเป็นตัวเป็นจริงเป็นจัง แต่เงาเป็นของไม่มีตัว เมื่อเงาหายไปก็เดือดร้อนเป็นทุกข์ โทมนัสน้อยใจไปตามอาการต่างๆตามวิสัยของโลก แท้จริงสรรเสริญ-นินทามันหากเป็นอยู่ อย่างนั้นแต่ไหนแต่ไรมา ก่อนที่เราจะเกิดมาเสียอีก พระพุทธองค์ทรงเห็นว่ามนุษย์โง่เขลาหลงไปยึดถือเอาสิ่งไม่แน่นอนมาเป็นของ แน่นอน จึงเดือดร้อนกันอย่างนี้ แล้วพระองค์ก็ทรงบัญญัติธรรมทับลงเหนือโลกอันไม่มีแก่นสารนี้ให้เห็นชัดลง ไปว่ามันไม่ใช่ของตัวของตนแต่เป็นลมๆแล้งๆ สรรเสริญเป็นภัยอันร้ายกาจแก่มนุษย์ชาวโลกอย่างนี้ แล้วก็ทรงสอนมนุษย์ชาวโลกให้เห็นตามเป็นจริงว่าสิ่งนั้นๆเป็นอนัตตาจะสูญหาย ไปเมื่อไหร่ก็ได้ มนุษย์ผู้มีปัญญาพิจารณาเห็นตามความจริงดั่งที่พระองค์ทรงสอนแล้วก็คลายความ ทุกข์เบาบางลงไปบ้าง แต่มิได้หมายความว่า โลกธรรมนั้นจะสูญหายไปจากโลกนี้เสียเมื่อไร เป็นแต่ผู้พิจารณาเห็นตามเป็น จริงดั่งที่กล่าวมาแล้ว ทุกข์ทั้งหลายก็จะเบาบางลงเป็นครั้งคราว เพราะโลกนี้ยังคงเป็นโลกอยู่ตาม เดิม ธรรมก็ยังคงเป็นธรรมอยู่ตามเดิม แต่ธรรมสามารถแก้ไขโลกได้เป็นบางครั้งบางคราวเพราะโลกนี้ยังหนาแน่นด้วย กิเลสทั้ง ๘ ประการอยู่เป็นนิจ ความเดือดร้อนเป็นโลก ความเห็นแจ้งเป็นธรรม ทั้งสองอย่างเป็นเครื่องปรับปรุงเป็นคู่กันไปอยู่อย่างนี้ เมื่อกิเลสหนาแน่นก็เป็นโลก เมื่อกิเลสเบาบางก็เป็นธรรม
มีสุข-ทุกข์ ทุกข์เป็นของอันโลกไม่ชอบ แต่ก็เป็นธรรมดาด้วยโลกที่เกิดมาในทุกข์ อันนี้ก็เป็นทุกข์เดือดร้อนอยู่นั่นเอง ความสุขย่อมเป็นที่ปรารถนาของโลกโดยทั่วไปฉะนั้น เมื่อความทุกข์เกิดขึ้นจึงเดือดร้อน เมื่อความสุขหายไปจึงไม่เป็นที่ปรารถนา แต่แท้ที่จริงความทุกข์และความสุขที่เกิดขึ้นแล้วหายไปนั้นมันหากเป็นอยู่ อย่างนี้ตลอดเวลา เราเกิดมาทีหลังโลก เราจึงมาตื่นทุกข์ตื่นสุขว่าเป็นของตนของตัว ยึดมั่นสำคัญว่าเป็นจริงเป็นจังเมื่อทุกข์เกิดขึ้นสุขหายไป จึงเดือดร้อนกระวนกระวาย หาที่พึ่งอะไรก็ไม่ได้ พระพุทธเจ้าทรงเทศนาว่าโลกอันนี้มีแต่ทุกข์ไม่มีสุขเลย
ฉะนั้น ทุกข์จึงเป็นเหตุให้พระองค์พิจารณาจนเห็นตามสภาพความจริงแล้วทรงเบื่อหน่าย คลายจากทุกข์นั้นจึงทรงเห็นพระอริยสัจธรรม แล้วพระองค์ก็ทรงบัญญัติธรรมลงเหนือทุกข์-สุข ให้เห็นว่า โลกอันนี้มัน หากเป็นอยู่อย่างนั้น อย่าถือว่าเป็นของเรา ถือเอาก็ไม่ได้อะไรไม่ถือก็ไม่ได้อะไร ปล่อยวางเสียให้เป็นของโลกอยู่ตามเดิม ทรงรู้แจ้งแทงตลอดว่าอันนั้นเป็นธรรม โลกกับธรรมจึงอยู่คู่เคียงกันดังนี้
ความเป็นอยู่ของโลกทั้งหมดเมื่อ ประมวลเข้ามาแล้วก็มี ๔ คู่ ๘ ประการ ดั่งอธิบายมาแล้ว ไม่นอกเหนือไปจากธรรม ๔ คู่ ๘ ประการนี้ โลกเกิดมาเมื่อไรก็ต้องเจอธรรม ๔ คู่ ๘ ประการนี้เมื่อนั้นร่ำไป พระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ทรงอุบัติขึ้นมาก็เพื่อมาแก้ทุกข์ ๔ คู่ ๘ ประการนี้ทั้งนั้น พระองค์จึงตรัสว่า "เอสะ ธัมโม สะนะนัตโน" ธรรมนี้เป็นของเก่าแก่แต่ไหนแต่ไรมา พระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ก็มาตรัสรู้ในธรรมทั้งหลายเหล่านี้ ถ้าจะมีคำถามว่าพระพุทธเจ้าที่มาตรัสรู้ในโลกก็เอาของเก่าที่พระพุทธเจ้า องค์ก่อนๆตรัสไว้แล้วแต่เมื่อก่อนมาตรัสรู้หรือ วิ สัชชนาว่า ไม่ใช่เช่นนั้น ความตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าเป็นของที่ไม่เคยได้ยินได้ฟังมาแต่ก่อน และไม่มีครูบาอาจารย์สอนเลย พระองค์ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองต่างหาก ไม่เหมือนความรู้ที่เกิดจากปริยัติ ความรู้อันเกิดจากปริยัติไม่ชัดแจ้งเห็นจริงในธรรมนั้นๆ ส่วนธรรมที่พระองค์ตรัสรู้นั้นเป็นของ ปจุจัตตัง รู้ด้วยตัวเอง ไม่มีใครบอกเล่า และก็หายสงสัยในธรรมนั้นๆ แต่เมื่อรู้แล้วมันไปตรงกับธรรมที่พระองค์ทรงเทศนาไว้แต่ก่อน เช่น ทุกข์เป็นของแจ้งชัดประจักษ์ในใจ สมุทัยเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ เมื่อละสมุทัยก็ดำเนินตามมรรค และถึงนิโรธ ตรงกันเป๋งกับธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้แต่ก่อน ๆ โน้น จึงเป็นเหตุให้เข้าถึงอริยสัจ ไม่เหมือนกับคนผู้เห็นตามบัญญัติที่พระองค์ตรัสไว้แล้วและจดจำเอาตามตำรามา พูด แต่ไม่เห็นจริงตามตำราในธรรมนั้นๆด้วยใจตนเอง เมื่อโลกนี้เกิดขึ้นมาแล้วจึงต้องมีการใช้จ่ายใช้สอยแลกเปลี่ยน วัตถุสิ่งของซึ่งกันและกันจึงจะอยู่ได้ เหตุนั้นรัฐบาลจึงคิดเอาวัตถุธาตุคือโลหะแข็งๆมาทำเป็นรูปแบนๆ กลมๆ แล้วก็จารึกตัวเลขลงบนโลหะนั้น เป็นเลขสิบบ้างยี่สิบบ้างหนึ่งร้อยบ้าง ที่เรียกว่าเหรียญสิบบาท ยี่สิบบาทร้อยบาท เป็นต้น หรือเอากระดาษอย่างดีมาตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า แล้วใส่ตัวเลขลงไปเป็น สิบบ้าง ยี่สิบบ้าง หนึ่งร้อยบ้าง ห้าร้อยบ้าง ตามความต้องการแล้วเรียกว่าธนบัตร เอาไว้ให้ประชาชนแลกเปลี่ยนซื้อขายซึ่ง กันและกัน เมื่อมีเงินจะซื้อวัตถุสิ่งของอะไรก็ได้ตามที่ตนต้องการ คนที่ต้องการเงินก็เอาวัตถุสิ่งของ อีกคนต้องการธนบัตรที่มีราคาเท่ากันก็จะ ได้แลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน การที่ได้ ของที่ตนชอบใจมาเป็นกรรมสิทธิ์ จะเป็นวัตถุหรือเงินตราก็ช่าง เรียกว่า " ได้ " แต่เมื่อได้วัตถุมาเงินก็หายไป เรียกว่าได้ลาภเสื่อมลาภพร้อมกันทีเดียว
โลก อันนี้เป็นอยู่อย่างนี้แต่ไหนแต่ไรมา คนหลงมัวเมาในวัตถุและเงินตรา ก็คิดว่าตนได้มา ตนเสียไปก็แสดงอาการชอบใจและเสียใจตามสิ่งของนั้น ๆ พระพุทธเจ้าทรงเห็นโลกเดือดร้อนวุ่นวายด้วยประการนี้ และด้วยอาศัยความเมตตากรุณาอย่างยิ่ง ที่ทรงมีต่อบรรดาสัตว์ทั้งหลาย พระองค์จึงทรงชี้เหตุเหล่านั้นว่าเป็นทุกข์ เดือนร้อนเมื่อของเหล่านั้นหายไป เป็นสุขสบายเมื่อได้ของเหล่านั้นมา ไม่เห็นตามเป็นจริงในสิ่งเหล่านั้น เมื่อเกิดเป็นทุกข์กระสับกระส่ายในใจของตน ก็เป็นเหตุให้แสดงอาการดิ้นรนไปภายนอกด้วยอากัปกิริยาต่างๆจนเป็นเหตุให้ เดือดร้อนวุ่นวายทั่วไปหมดทั้งโลก เหตุนั้นพระองค์จึงสอนให้เข้าใจถึง "ใจ" เพราะมนุษย์มีใจด้วยกันทุกคนสามารถที่จะรู้ได้ ผู้มีปัญญารู้ตามที่พระองค์ทรงสอนว่าได้ลาภ-เสื่อมลาภมีพร้อมๆกัน ในขณะเดียวกัน จึงไม่มีใครได้ใครเสีย ได้เพราะมัวเมา เสียก็เพราะมัวเมาในกิเลสเหล่านั้น ผู้มีปัญญาพิจารณาเห็นแจ้งตามนัยที่พระองค์ทรงสอนจึงสร่างจากความมืดมนเหล่า นั้นพอจะบรรเทาทุกข์ลงได้บ้าง แต่มิได้หมายความว่าพระองค์ทรงสอนให้รู้แจ้งเห็นจริงตามเป็นจริงแล้วจะ บรรเทาทุกข์ได้ทั้งหมดเป็นธรรมล้วนๆก็หาไม่ เพราะว่า โลกนี้มันมืดมนเหลือเกิน พอจะสว่างนิดหน่อย กิเลสมันก็เข้ามาอีก โลกนี้มันหากเป็นอยู่อย่างนั้นแต่ไหนแต่ไรมา พระองค์ลงมาตรัสรู้ในโลกอันมืดมนก็ด้วยทรงเห็นว่า สิ่งเหล่านั้นมันเป็นความทุกข์ของสัตว์โลก จึงได้ลงมาตรัสรู้ในหมู่ชุมชนเหล่านั้น ถ้าโลกไม่มีกิเลสไม่มี พระองค์ก็ทรงไม่ได้เสด็จลงมาตรัสรู้ เป็นพระพุทธเจ้าในโลกนี้พระพุทธเจ้า ทุกๆพระองค์ที่ลงมาตรัสรู้ในโลกนี้ก็ทำนองเดียวกัน ทรงเล็งเห็นโลกอย่างเดียวกัน คือทรงเห็นความเดือดร้อนวุ่นวายเพราะมนุษย์ไม่ มีปัญญาพิจารณาเห็นโลกตามเป็นจริงดังกล่าวมาแล้ว
พระองค์ทรงสอนให้พวกมนุษย์ที่มัวเมาอยู่ในโลกเหล่านั้นเห็นแจ้ง ประจักษ์ด้วยใจตนเองว่าเป็นทุกข์จาก ไม่เข้าใจรู้แจ้งเห็นจริงตามสภาวะของโลกดังอธิบายมาแล้ว บางคนพอรู้บ้างก็ สร่างจากความมัวเมา เพราะรู้แจ้งตามเป็นจริงของปัญญาของตนๆ แต่บางคนก็มืดมิดไม่เข้าใจของเหล่านี้ตามเป็นจริงเอาเสียเลยก็มีมากมาย ทุกข์ของโลกจึงเป็นเหตุให้พระพุทธเจ้าเสด็จลงมาตรัสรู้ในโลกและก็อาศัยความ เมตตากรุณาอย่างเดียวนี้ด้วยกันทั้งนั้น พระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ที่ทรงปรารถนาจะมาตรัสรู้ในโลกก็โดยทำนองเดียวกันนี้ หรือจะกล่าวว่าโลกเกิดขึ้นก่อนแล้ววุ่นวาย กระสับกระส่ายเดือดร้อน ด้วยประการอย่างนี้จนเป็นเหตุให้พระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นในโลกเรียกว่า โลกเกิดก่อนธรรม ก็ว่าได้
พระพุทธเจ้าทั้งหลายที่จะลงมาตรัสรู้ตามยุคตามสมัยของพระองค์ เมื่อพระองค์ทรงเล็งเห็นว่าคน ในยุคนั้นสมัยนั้น อายุประมาณเท่านั้นเท่านี้สมควรจะได้รับฟังพระธรรมเทศนาของพระองค์ พระองค์จึงได้อุบัติขึ้นมาเทศนาสั่งสอนนิกรสัตว์ทั่วโลก เมื่อเทศนาสั่งสอน แล้วจนเข้าพระนิพพาน บางพระองค์ก็ได้ไว้ศาสนา อย่างพระโคดมบรมครูของพวกเราทั้งหลาย พระองค์ทรงไว้ศาสนาเมื่อนิพพานแล้ว ๕,000 ปี เพื่ออนุชนรุ่นหลังที่ยังเหลือหลอจะได้ศึกษาพระธรรมวินัยต่อไป บางพระองค์ก็ไม่ได้ไว้พระศาสนาอย่างพระศรีอารยเมตไตรยทรงมีพระชนมายุ ๘0,000 ปี เป็นต้น เมื่อพระองค์ตรัสรู้แล้ว ทรงสั่งสอนมนุษย์สัตว์นิกรอยู่จนพระชนม์ได้ ๘0,000 ปี ก็เสด็จปรินิพพานแล้วก็ไม่ได้ทรงไว้พุทธศาสนาอีกต่อไป เพราะพระองค์ทรงพิจารณาแล้วเห็นว่าสัตว์ผู้จะมาศึกษาพระธรรมวินัยของพระองค์ ได้หมดไปไม่เหลือหลอแล้ว ผู้สมควรจะได้มรรคผลนิพพานสิ้นไปหมดเท่านั้น
โลกวินาศย่อมหมุนเวียนเปลี่ยนไปเป็นวัฎจักรดั่งอธิบายมาแล้วแต่ต้น ตลอดกัปป์ตลอดกัลป์ หาความเที่ยงมั่นถาวรไม่มีสักอย่างเดียว แต่คนผู้มีอายุสั้นหลงไหลในสิ่งที่ตนได้ตนเสียก็เดือดร้อนวุ่นวายอยู่ร่ำไป แท้ที่จริงสิ่งเหล่านั้นมีอยู่ประจำโลกแต่ไหนแต่ไรมา ผู้มีปัญญาพิจารณาเห็นความเสื่อมความเสียตามนัยที่พระองค์ทรงสอนเห็นเป็น ของน่าเบื่อหน่าย จิตใจสลดสังเวชจนเป็นเหตุให้ผู้มีปัญญาเหล่านั้นเบื่อ หน่ายคลายความกำหนัด แล้วละโลกนี้เข้าถึงพระนิพพานจนหาประมาณมิได้ ผู้ไม่มีปัญญาก็จมอยู่ในวัฎสงสารมากมายเหลือคณานับ โลกเป็นที่คุมขังของผู้เขลาเบาปัญญา แต่ ผู้มีปัญญาแล้วไม่อาจสามารถคุมขังเขาได้ โลกเป็นของเกิด-ดับอยู่ทุกขณะ ธรรมอุบัติขึ้นมาให้รู้แจ้งเห็นจริงในโลกนั้นๆ แล้วตั้งอยู่มั่นคงถาวรต่อไป เรียกว่า โลกเกิด-ดับ ธรรมเกิดขึ้นตั้งอยู่ถาวรเป็นนิจจังเพราะไม่ตั้งอยู่ในสังขตธรรม ธรรมเป็นของไม่มีตัวตน แต่พระพุทธเจ้าทรงเทศนาไว้ที่หัวใจของคน คนรู้แล้วตั้งมั่นตลอดกาล ถึงคนไม่รู้เท่าทันแต่ธรรมนั้นก็ยังตั้งอยู่เป็นนิจ กาล เป็นแต่ไม่มีใครรู้ใครสอนธรรมนั้นออกมาแสดงแก่คนทั้งหลาย ถึงแม้พระพุทธองค์จะนิพพานไปแล้ว แต่ธรรมนั้นก็ยังตั้งอยู่คู่ฟ้าแผ่นดิน จึงเรียกว่า อมตะ โลกเป็นของฉิบหายดังกล่าวมาแล้ว เพราะตั้งอยู่ใน สังขตธรรม มีอันต้องแปรปรวนเป็นธรรมดา ธรรมที่พระองค์ทรงสอนให้รู้แจ้งเห็นจริงเข้าถึงหัวใจคนเป็นของไม่มีตัวตน เป็นอนิจจังไม่ได้ ตั้งอยู่เป็นกลางๆถึงคน คนนั้นจะตายไป แต่ธรรมก็ยังมีอยู่เช่นนั้น จึงเรียกว่า “สิ้น โลก-เหลือธรรม” ด้วยประการฉะนี้
หมายเหตุ ได้แรงบันดาลใจจาก
คัดลอกจาก http://www.thewayofdhamma.org/page2/moradok212.html(คำค้น"โลกธรรมแปด"ตัดตอนมาน่ะครับ)
จากกรณี หลวงพ่อปราโมทย์ http://www.jozho.net/index.php?mo=3&art=397892
http://www.fungdham.com/monk-pic/monk-pic-pramote.html
ธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น