วันเสาร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2553

การแพทย์ทางเลือก

โดยธรรมชาติมนุษย์ทุกคนมีพลังชีวิตซึ่งถือว่าเป็นต้นทุนชีวิตที่ มีติดตัวมา เช่น การหายใจ การคิด อารมณ์ความรู้สึก การเคลื่อนไหว การกินดื่ม การอดพักขับถ่าย แต่ต้นทุนชีวิตจะเสื่อมหรือถูกบั่นทอนก็ด้วยพฤติกรรมของเราเอง ซึ่งอาจก่อให้เกิดโรคและความเสื่อมสภาพของร่างกาย อาจารย์ยงยุทธได้นำเสนอแบบแผนที่เหมาะสมและใช้ได้จริงกับคนทั่วไปที่ใส่ใจ การดูแลสุขภาพตนเอง ด้วยทางเลือก ๘ ประการโดยเน้นเรื่อง
๑. อาหารที่ดี กินน้อยและกินพอดี
๒. น้ำ เลือก กินน้ำที่ให้พลังชีวิต
๓. อดพักขับถ่าย ลดและล้างสารพิษกาย-ใจ
๔. ดุลยภาพ โครงร่าง ปรับสมดุลร่างกายด้วยการออกกำลังกาย
๕. เพิ่มพลังชีวิต ด้วย การกระตุ้นภูมิต้านทาน อาบแดด สั่นสะเทือน รีด แกว่งแขน ฯลฯ
๖. สมุนไพร ขับ พิษ บำบัด ฟื้นฟู
๗. ของใช้ที่อยู่อาศัย ปรับให้เข้ากับวิถี
๘. การ อยู่ในสังคม เพื่อน กัลยาณมิตร เอื้อเฟื้อ สร้างทัศนะบวก


บุคลากรมากประสบการณ์ด้านการแพทย์ทางเลือกที่มีชื่อเสียงและมีผลงานจนได้รับการยอมรับทั้งในและต่างประเทศ ได้แก่ นายแพทย์ประสาน ต่างใจ, หมอทราย พิชิต กัณฑรัตน์, หมอดิน ตถตา ทองเพียร, รศ.พญ.ลดาวัลย์ สุวรรณกิตติ, หมอเขียว ใจเพชร กล้าจน และหมอแดง วีระชัย วาสิกดิลก

๑. น.พ. ประสาน ต่างใจ

“ศ.นพ.ประสาน ต่างใจ” ชีวิตสุดท้ายเพื่อ Happy Soul

พหูสูต แห่งสุขภาวะที่ดีในการใช้ชีวิต

"อะไรที่เป็นสัจธรรม ผมเขียนและบรรยายได้หมด ไม่ว่าจะทางวิทยาศาสตร์ สังคม ชีววิทยา ผมทำได้ทุกเรื่อง ชีวิตที่ผ่านมา ทำทำงานทุกวัน ไม่เคยพักร้อนตอนเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยก็ไม่เคยพัก การทำงานก็คือ การพัก ที่เราไม่เครียดเพราะเราช่างคุย ก็แบ่งเบาเรื่องในใจออกไปได้ แม้บางครั้งเครียด เพราะเอนไซม์ในสมองเปลี่ยน ต้องพึ่งพายาเหมือนกัน"เป็นคำพูดของ ศาสตราจารย์ นพ.ประสาน ต่างใจ ผู้มีประสบการณ์ในชีวิตมายาวนาน

คุณหมอประสาน มีชีวิตตั้งแต่เมื่อ 23 กันยายน 2471 นับกาลเวลายาวนานจนอายุเกือบจะ 80 ปี ในเดือนกันยายนนี้แล้ว ที่สำคัญ ผู้คนทั้งหลาย เรียกคุณหมอว่า "พหูสูต "เพราะความเป็นคุณหมอที่อ่านมาก เห็นมาก รู้เรื่องราวเป็นไปในสังคมมากมาย ด้วยสายตาที่พบปะผู้คน บวกกับความสนใจเป็นมาเป็นไปของกระแสโลก โดยเฉพาะ เรื่องความ ปรัชญา ศาสนา และความเชี่ยวชาญด้านสุขภาพ ในฐานะเป็นแพทย์

"ผมเป็นคนที่อยู่ใกล้เคียงกับพุทธศาสนามาตั้งแต่ไหนแต่ไรเด็กๆ แม่เป็นนายกพุทธบริษัทของจังหวัด ใกล้ชิดวัดใช้ชีวิตส่วนตัวอย่างมีความสมดุลมาตลอด เพราะมีความศรัทธาในศาสนาและมีศีลธรรมในการดำเนินชีวิต (Happy Soul-ทางสงบ) ทำตั้งแต่เด็กจนเป็นชีวิตจิตใจ"

แม้วันนี้ คุณหมอประสาน จะเกษียณอายุราชการมาหลายปี แต่ทำงานทุกวัน เหมือนหนุ่มสาวออฟฟิศ โดยใช้เวลาจำนวนหนึ่งไปกับการอ่านหนังสือเพื่อใช้เขียนหนังสือทำวิจัยเป็น Happy Brain เพราะศึกษาหาความรู้ พัฒนาตนเองตลอดเวลา จากแหล่ง ต่างๆ นำไปสู่การเป็นมืออาชีพ และความมั่นคงก้าวหน้าในการทำงานเป็นปกติในความรู้สึกเหมือนว่า ตัวเองเกิดมาจะต้องทำอย่างนั้น หมอประสานชี้ชัดว่า มันคุ้นเคยกับงานเหมือนกับการท่องเที่ยว ฉะนั้น ประโยชน์ที่จะได้ คือสิ่งที่รู้ไปสอนคนอื่นนั่นเอง

สิ่งที่เรียนรู้ ทำให้เรารู้จักตัวเอง รู้จักความสัมพันธ์ของตัวเองกับโลก ความสัมพันธ์ของเรากับสิ่งแวดล้อม ด้านหนึ่ง เรารู้ว่าต้องมีความรัก สามัคคี เอื้อเฟื้อต่อชุมชน สังคมและสภาพแวดล้อมที่ดี (Happy Society)

นำไปสู่การรักษาความสมดุลในตัว เพื่อทำตนเป็นประโยชน์กับผู้อื่นบ้าง โดยคิดถึงตัวเองให้น้อย แต่รู้ตัวตลอดเวลาว่าทำอะไรอยู่ทำสิ่งใดให้กับส่วนร่วม กับมนุษย์ชาติ กับโลก กับจักรวาล ถือเป็นเป้าหมาย ที่ นพ.ประสาน ตั้งใจทำให้กับสังคม

"ผมเชื่อว่าชีวิตเกิดมามีหน้าที่ อันนี้คือการทำงาน เพื่อเรียนรู้และก้าวเดินผ่านไปตลอดเวลา เรียนรู้ผ่านตัวตน ผ่านความสัมพันธ์ระหว่างตัวตนกับสิ่งแวดล้อม กับโลก จักรวาล โดยเฉพาะระยะหลังทำงานใกล้คนเจ็บป่วยระยะสุดท้าย คนที่ใกล้ตาย เป็นคนที่เราจะต้องเข้าไปช่วยเหลือ เพราะคนกลุ่มนี้พอถึงเวลาจริงๆ ทำให้เขารู้ตัวว่า คุณต้องหยุดพัก เลิกห่วงได้แล้ว หยุดคิด มันเป็นเวลาที่ต้องคิดถึงตัวเอง คิดถึงอนาคต นึกถึงวัน นรรานณุสติตลอดเวลา "นี่เองที่คุณหมอประสาน พยายามสะกิดใจคนป่วยให้ใช้ชีวิตบั้นปลายสุดท้ายอย่าง "รู้สติ"

ทุกคนต้องเกิด แก่ เจ็บและตายร้อยเปอร์เซ็นต์ ไม่มีใครหนีพ้นการเกิดแก่เจ็บตายเหล่านี้ แต่ละขั้นตอนเป็นการเรียนรู้มหาศาลมากกว่าหนังสือที่พวกเราเรียนจาก มหาวิทยาลัย คือเรียนจากหนังสือจากวิชาแพทย์วิทยา วิทยาศาสตร์ แทบจะไม่มีความหมาย เมื่อเทียบกับความรู้ที่ได้จากการสะสมประสบการณ์การอ่าน การฟัง และการพูดคุยกับผู้อื่น

ฉะนั้น คนที่เป็นอาจารย์ นักวิชาการมหาวิทยาลัยส่วนมากเข้าใจตัวเองเป็นนักวิทยาศาสตร์ จบแค่นั้น ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง แต่จริงๆ แล้ว ทุกอย่างเปลี่ยนแปลง เลื่อนไหล เคลื่อนที่ เป็นอนิจจังตลอดเมื่อเรารู้ว่า เป็นอนิจจัง จะไปยึดถือทำไม ไม่เห็นต้องยึดถือตัวตนต้องให้ก้าวผ่านไปให้ได้

เพราะชีวิตสุดท้าย เป้าหมายเพื่อ Happy Soul หากทำให้ชีวิตสงบ ได้ Happy Heart ย่อมจะก่อเกิดความมีน้ำใจ เอื้ออาทรต่อกันและกัน เมื่อนั้นกายและใจย่อมเข้มแข็ง ปลาบปลื้ม นำมาสู่ Happy Body ที่สมบูรณ์ตามมานั่นเอง

ที่ มา : หนังสือพิมพ์มติชน

ภาพ ประกอบ : อินเตอร์เน็ต

Update : 27-08-51 “การแพทย์สาธารณสุขต้องตั้งหลักอยู่บนวิทยาศาสตร์ใหม่ ซึ่งจะพูดถึงการเชื่อมโยงสัมพันธ์ซึ่งกันและกันทั้งหมดของจักรวาล คือ เป็นหนึ่งเดียวกัน หนึ่งคือทั้งหมด ทั้งหมดคือหนึ่ง”
นายแพทย์ประสาน หรือคุณหมอประสานเป็นสมาชิกอาวุโสของกลุ่มจิตวิวัฒน์ ผู้ซึ่งสนใจและทุ่มเทค้นคว้าองค์ความรู้ใหม่จากหลากหลายสาขา ไม่ว่าจะเป็น ทางสังคม ปรัชญา ศาสนา รวมถึง วิทยาศาสตร์กระบวนทัศน์ใหม่ และการดูแลสุขภาพที่เน้นไปยัง ชีวิตมนุษย์ที่เป็นองค์รวม กล่าวคือ ชีวิตที่ประกอบด้วย กาย ใจ และ จิตวิญญาณ และเป็นชีวิตซึ่งสัมพันธ์เชื่อมโยงกับธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมรอบตัว และจักรวาล อีกด้วย ท่านจึงเป็นปราชญ์และนักคิดคนสำคัญที่คอยกระตุ้นเตือนสังคมไทยให้ตื่นรู้อยู่เสมอ

๒. หมอทราย พิชิต กัณฑรัตน์

หมอ เมือง ศาสตร์และศิลป์แห่งการรักษา


หมอเมือง

ศาสตร์และศิลป์แห่งการรักษา

วุฐิศานติ์ จันทร์วิบูล: เรื่อง/ภาพ

หากจะให้ผมเอ่ยเล่าถึงเพื่อนคนนี้ ผมอยากเริ่มต้นว่า...

ใน ท่ามกลางกระแสสังคมที่ผู้คนต่างสนใจโลกของตัวเอง เรากลับมองเห็นเขาดุ่มเดินอยู่ลิบลิ่ว ห่างไกลออกไป ด้วยขณะที่เพื่อนในกลุ่มพอใจพูดคุยถกเถียงกันด้วยเรื่องราวของวรรณกรรม และคร่ำเคร่งกับการอ่านการเขียนของตน เขากลับเลือกเดินออกไปพบปะผู้คนที่สนใจเรื่องราวของการทำกิจกรรมเพื่อสังคม และสิ่งแวดล้อมกับกลุ่มเยาวชนในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ จนได้รับฉายาจากเพื่อนๆ ว่าเป็น มือปืนร้อยค่าย ทำให้เขาดูเหมือนจะเดินทางห่างไกลออกไปจากเพื่อนๆ ในกลุ่มศิลปะวรรณกรรม มหาวิทยาลัยรามคำแหง ด้วยความศรัทธาอันแน่วแน่ของตนเอง และนี่คือเรื่องราวที่ผมอยากเอ่ยเล่าถึงเพื่อนที่ชื่อ พิชิต กันทรัตน์ หรือหมอทราย หมอเมืองแห่งบ้านปงใหม่

หมอทราย พิชิต กันทรัตน์

ธรรมชาติไม่ได้มีไว้ขาย

จาก ผ้ามัด ย้อม ศิลปะจากหัวใจของ (อดีต) ไอ้เด็กเลว เรื่องราวของหมอทรายเคยถูกบันทึกไว้ในนิตยสาร Open ปลายปี ๒๕๔๖ ในช่วงที่เขากำลังมือขึ้นเรื่องการทำผ้ามัดย้อมจนสามารถขยายการผลิตจนกลาย เป็นธุรกิจเล็กๆ ส่วนตัว ทว่ายามนั้น ทุกครั้งที่แวะเวียนไปเยี่ยมหา ผมมักเห็นเขาคร่ำเคร่งกับการย้อมผ้าอยู่หน้าเตาไฟทุกครั้งไป ใบหน้าเขามิได้เปี่ยมสุขเหมือนเมื่อแรกที่เราเริ่มเรียนรู้การทำผ้ามัดย้อม ด้วยกัน กระทั่งหลังจากนั้นไม่ถึงสองปี เขากลับเลือกทิศทางเดินใหม่ และสุดท้ายมันพกพาความฝันของเขากลับไปยังบ้านเกิด ความ จริงผมไม่ได้เปลี่ยนนะ เรื่องการทำผ้าผมก็ไม่ได้เปลี่ยน หมายถึงมันยังอยู่ในใจ ที่ผ่านมาแค่เปลี่ยนจากการทำเพื่อขายมาเป็นการทำในเชิงอบรม เป็นการส่งเสริม หรือจัดกิจกรรมเกี่ยวกับเด็กๆ มากกว่า

จากพื้นฐานที่เคยทำงานด้านสิ่งแวดล้อมมา พยายามรณรงค์ให้คนดูแลสิ่งแวดล้อม ใช้สินค้าจากธรรมชาติ ขณะเดียวกันก็พบว่าตัวเองกำลังกลายเป็นผู้ทำร้ายธรรมชาติเสียเอง นั่นทำให้เขาพบว่าแท้จริงแล้วธรรมชาติมิได้มีเอาไว้ขาย จริงๆ การทำผ้ามัดย้อมมันน่าจะเป็นการทำเพื่อใช้ เพื่อให้ได้เรียนรู้ในเรื่องของสี เรื่องของธรรมชาติมากกว่าที่จะไปทำขายเยอะๆ อย่างที่เคยทำมา ทั้งนี้ยังมีมิติในเรื่องของการดูแลต้นไม้ที่เป็นความขัดแย้งอยู่ในใจของเขา เพราะเอาเข้าจริงๆ แล้วเราต้องไปตัดต้นไม้ คือ จริงๆ การทำผ้ามันค่อนข้างอ่อนไหวในเรื่องของการดูแลต้นไม้ เราต้องทำเป็นองค์รวม แค่การไหว้ขอขมา เพื่อแสดงความเคารพต่อธรรมชาติที่เขาให้เรายังไม่พอ ความเคารพมันน่าจะกลับไปให้เขาบ้าง ด้วยการปลูกทดแทน ด้วยการทำให้มันงอกงามขึ้นมา ใจเราน่าจะมีเรื่องแบบนี้ ผมจำวิธีหนึ่งมาจากชนเผ่ากะเหรี่ยง เวลาถากต้นไม้ เขาจะเอาโคลนเปียกไปลูบ มันจะช่วยรักษาบาดแผลและความชื้นตรงนั้น ผมทำอย่างนี้เป็นประจำ มีพ่อคนหนึ่งเคยสอนไว้ว่าอย่างน้อยเราควรจะรักษาแผลให้เขาด้วย ความจริงมันทำได้หลายรูปแบบ เราอาจจะใช้ใบ ใช้เมล็ด คือมันทดแทนกันได้ แต่ก็ยังเป็นการทำร้ายเขาอยู่ดี

ครั้น เมื่อได้กลับมาอยู่บ้าน ได้มีโอกาสทดแทนคุณต้นไม้ ได้นำองค์ความรู้มาใช้ทำกิจกรรมกับเด็กๆ ในหมู่บ้าน เขาบอกว่า มันให้ ความรู้สึกมากกว่า เพราะอย่างน้อยเราได้ทำประโยชน์ เด็กได้ทำกิจกรรมในช่วงปิดเทอม ได้เรียนรู้เรื่องสีของต้นไม้ เรียนรู้ถึงคุณค่า และยังช่วยสร้างจินตนาการให้กับเด็กอีกด้วย

หมอทรายกำลังเก็บเมล็ดดอกคำฝอย

ไม้เรียวของหลวงพ่อ

จุดที่อาจเรียก ได้ว่าเป็นทางแยกอีกครั้งในชีวิตของหมอทราย คือช่วงที่เขาเริ่มหันหลังให้การทำธุรกิจผ้ามัดย้อม มีความสนใจอย่างใหม่คืบคลานเข้ามาในใจ ช่วงนั้นผมทำงานเกี่ยวกับ ที่ดิน สปก. ได้ทำงานกับชุมชน รู้จักปราชญ์ชาวบ้านและผู้นำที่เป็นผู้รู้ มีทั้งหมอยา เกษตรกร นักจัดการ มีโอกาสได้เดินตามพ่อคนหนึ่งที่มีความรู้เรื่องยาสมุนไพร มันค่อยๆ ซึมเข้ามาเหมือนกับเป็นธรรมะจัดสรร เหมือนมีอะไรจัดวางเราไว้ พอนึกย้อนไปตอนเป็นเณร ไปช่วยหลวงพ่อเก็บยาในป่า ไปสับยา ตำรับยาภาษาล้านนาผมท่องจำมาจนถึงทุกวันนี้ มันได้นำมาใช้หมด พอมาลงชุมชน มาทำงานกับหมอพื้นบ้าน ไอ้ตำรับตำยาที่เรียกว่า ปั๊บสา มันย้อนกลับมาให้เราได้เรียนรู้ใหม่ ได้รื้อฟื้นใหม่ ตรงนี้ถือว่าเราได้มากๆ ตอนแรกคิดว่าบวชแล้วไม่ได้อะไรเลย แต่มันมีคุณค่ามาก สิ่งที่ติดตัวมาตลอด กับไม้เรียวที่หลวงพ่อเฆี่ยน เพื่อขัดเกลาเรามันมีคุณค่า

ส่วนเรื่องการนวดแผนโบราณ เขาเริ่มจากการคิดถึงคนที่อยู่ใกล้ตัวมากที่สุด ตอนนั้น อยากทำเพราะนึกถึงพี่ชายที่ป่วย เลยไปเรียนเพื่อกลับมานวดพี่ชาย อาจารย์บอกว่ารู้เรื่องนวดอย่างเดียวไม่พอ ต้องรู้เรื่องยา เรื่องการรักษาด้วย เลยทำให้ผมตัดสินใจเรียน การได้มาเรียนการนวดและสมุนไพร บวกกับต้นทุนที่เคยเรียนรู้จากปราชญ์ชาวบ้านและไม้เรียวของหลวงพ่อ รวมถึงจิตใจที่พร้อมจะให้คนอื่น ทำให้เขาค่อยๆ สั่งสมเป็นประสบการณ์ชีวิต หากเขามองว่า มันเป็นการค้นหาตัวเองมากกว่า อย่างที่บอกว่าปริญญาที่สำคัญที่สุดคือการค้นหาตัวเองให้พบ ผมว่าจบแล้ว ณ วันนี้ เขาได้พบตัวตนที่แท้จริงนั้นแล้ว แต่นั่นไม่สำคัญเท่ากับ การได้อยู่ใกล้พ่อแม่ การได้กลับบ้าน ได้ทำชุดความรู้ที่ตัวเองมีอยู่สองสามชุดเพื่อมาจัดการกับตัวเอง ได้แบ่งปันคนรอบข้าง และได้ดูแลครอบครัว ที่สำคัญคือได้เอาน้องกลับบ้าน คือมันพร้อมหน้าพร้อมตา ดูพ่อแม่ก็มีความสุข


อุปกรณ์ฝังเข็ม

ศาสตร์และศิลป์แห่งการรักษา

ขึ้นชื่อว่า หมอเมือง หรือหมอพื้นบ้าน วิธีการตรวจรักษาย่อมแตกต่างจากการวินิจฉัยโรคของแพทย์แผนใหม่ตรงที่ไม่ได้ มีเครื่องมืออันทันสมัย แต่หมอเมืองคนนี้นำเอาศาสตร์และศิลป์ที่มีโอกาสได้เรียนรู้จากอาจารย์และ ประสบการณ์โดยตรงจากคนไข้มาช่วย โดยมีหลักการวินิฉัยโรคด้วยเครื่องมือหลากหลาย เรียกได้ว่าตั้งแต่ก้าวแรกที่คนไข้เดินเข้ามาหา สังเกตการเดินเพื่อดูว่าโครงร่างเขาเป็นอย่างไร สังเกตสีของนัยน์ตา และใช้การสัมภาษณ์พูดคุยเป็นเบื้องต้น การได้พูด คุยกับคนไข้ก็ถือว่าเป็นการรักษา บางคนก็แค่ทุกข์มา มาร้องไห้ บางคนก็แค่อยากมานั่งระบายความในใจ นอกจากนี้ยังมีการสัมผัส การจับชีพจรหรือแมะ เป็นการเช็คธาตุแบบอายุรเวทของอินเดีย การตรวจพลังชีวิตหรือการ LET (Life Energy Test) เป็นศาสตร์ของญี่ปุ่นโดยมีอาจารย์ยง ยุทธ ตรีนุชกร (ครูภูมิปัญญาด้านการแพทย์แผนไทยแบบองค์รวม) เป็นผู้นำมาปรับและทดลองใช้ ด้วยการตรวจแบบง่าย ๆ โดย ปกติมนุษย์เราทุกคนจะมีพลังอยู่ในตัว ตรวจเช็คโดยใช้วิธีการดึงนิ้วเพื่อตรวจหาช่องว่างหรือตำแหน่งที่มีพลัง อ่อนแอ การ LET ต้องใช้เวลาฝึกพอสมควร เพราะจะมีเรื่องของสมาธิและการฝึกจิตเข้ามากำหนดด้วย

ครั้นเมื่อรู้สาเหตุอาการหรือต้นทุน ชีวิต* ของผู้ป่วย บางคนมีต้นทุนชีวิตที่ไม่ถูกต้อง บางคนมีต้นทุนชีวิตมาจากกรรมเก่า จากพ่อแม่ตั้งแต่การปฏิสนธิ หรือการตั้งครรภ์ (ซึ่งเป็นรายละเอียดที่ต้องซักถาม) ขั้นต่อไปคือการกระทุ้งพิษหรือขับพิษออก จากนั้นจึงทำการรักษา ฟื้นฟูสภาพร่างกาย และติดตามสอบถามอาการ ตัวอย่างการรักษา เช่นถ้าคนไข้เป็นโรคเก๊าต์ ต้นทุนคนไข้อาจมีพฤติกรรมการกินเนื้อสัตว์ อาหารมัน อาหารรสจัด และการกินยาซึ่งเป็นการสั่งสมสารตกค้างที่ตับหรือไต การรักษาขั้นแรกต้องใช้การกระทุ้งพิษออก โดยเลือกใช้สมุนไพร เช่น รางจืด มีคุณสมบัติในการขับพิษออกทางเลือดหรือทางปัสสาวะ ส่วนเถาวัลย์เปรียงจะมีคุณสมบัติขับพิษออกทางอุจจาระ จากนั้นจึงทำการรักษาด้วยกลุ่มสมุนไพรที่สามารถขับกรดยูริคได้ สมุนไพรบำรุงไต หรือบำรุงไขข้อ เมื่ออาการดีขึ้น ก็เริ่มทำการฟื้นฟู ด้วยการกำหนดเรื่องอาหารการกิน และออกกำลังกาย เป็นต้น

หรือถ้าคนไข้ปวด หัวไมเกรน เป็นโรคผิวหนัง สะเก็ดเงิน หรือปวดเมื่อยตามร่างกาย จะใช้การพอกโคลนหรือพอกดิน หมอทรายบอกว่าโคลนมีคุณสมบัติในการดูดความร้อนออก โคลนที่ผม ใช้คือดินจอมปลวก เพราะเป็นดินที่สะอาด เป็นดินที่อ่อนไหวต่อสารเคมีอยู่แล้ว สังเกตได้คือดินตรงไหนที่มีปลวก ที่นั่นจะไม่มีสารเคมี ผมเอาดินตรงนั้นมาใช้โดยแช่ทิ้งไว้หนึ่งคืน จากนั้นนำมารีดให้เป็นครีมแล้วเอามาตากแห้งบดทำเป็นผงเก็บไว้ ส่วนตัวยาที่นำมาผสมจะปรับใช้ตามอาการนั้นๆ ส่วนเวลาที่ใช้ในการพอกไม่ควรเกิน ๓๐ นาที

วิธี การดูแลคนไข้ หมอทรายใช้หลากหลายวิธี ไม่ทำเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง เขายังใช้การฝังเข็ม การย่าง แช่น้ำสมุนไพร สั่นสะเทือน และการอบสมุนไพร โดยใช้กับคนไข้ที่เป็นโรคลมผิดเดือนหรือลมพิษ ลมมะเร็งคุด การอบจะมี ประโยชน์ในด้านการขับพิษออกทางเหงื่อ หรือลมที่คั่งค้างตามร่างกาย คนที่อายุ ๓๒ ปีขึ้นไปทางแพทย์แผนไทยเขาเรียกว่าปัจฉิมวัย ซึ่งมักจะเป็นโรคลม ลมที่คั่งค้างตามข้อ ลมที่จุกเสียด ต้องใช้การอบเข้าช่วย อีกวิธีหนึ่งเป็นอายุรเวทของอินเดียคือ ศิโรธารา หรือการหยาดน้ำมันลงบนศีรษะโดยใช้น้ำมันงาบีบเย็น ที่ความร้อน ๓๐-๓๕ องศา พวกนี้ผมจะใช้ดนตรีเข้าช่วยบำบัด เช่น เพลงบรรเลง ดนตรีทิเบต สะล้อซอซึง เป็นการจัดเรียงความคิด การได้เฝ้าดูตนเอง ช่วยในเรื่องการทรงตัว ลดความดัน ผมพยายามถอดรหัสอยู่เหมือนกัน คือพอคนมันนิ่งได้อยู่กับตัวเอง ได้คิดจินตนาการว่าน้ำมันไหลไปถึงไหนแล้ว ไหลไปปลายเท้าไหม ไหลไปที่ปลายมือไหม พอคนป่วยได้เฝ้าดูตัวเอง เขาจะสงบ ทุกอย่างกลับเข้าสู่ภาวะสงบสุข เป็นวิธีการที่ใช้ได้ผลค่อนข้างดี

นอก จากนี้ยังมีการรีด โดยใช้เตารีดรีด ด้วยความร้อนที่สม่ำเสมอของเตารีดจะไปช่วยเพิ่มพลังชีวิตให้ฟื้นกลับคืนมา ใหม่ การรีดจะช่วยกระตุ้นให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น เช่น การรีดบริเวณตับอ่อนกับคนที่เป็นเบาหวาน เป็นไตก็ให้รีดบริเวณไต เป็นภูมิแพ้หรือหอบหืดก็รีดตรงปอด ตับใหญ่ วิธีการนี้อาจารย์ริวสุเกะ อูริว จากญี่ปุ่นเป็นผู้แนะนำ แต่ทั้งหลายทั้งปวงในเรื่องของการดูแลสุขภาพ หมอทรายบอกว่ามันเป็นเรื่องเฉพาะตัวทั้งสิ้น มิได้ขึ้นอยู่กับหมอ หมอจะเป็นเพียงคนแนะนำ อำนวยความสะดวก ฝึกคนไข้ให้ดูแลตัวเอง เรื่องทัศนคติจึงสำคัญมาก เพราะไม่มีใครสามารถหายใจแทนกันได้ กินแทนกันได้ เจ็บปวดแทนกันได้ เป็นเรื่องของตัวเรา ถ้าไม่ใส่ใจหรือพยายามป้องกัน ความบิดเบี้ยวก็จะเกิดขึ้นกับร่างกายของเราเอง

ด้วย ศาสตร์แห่งการรักษาอันหลากหลายทั้งแพทย์แผนไทย แผนพื้นบ้าน รวมถึงแผนจีน ญี่ปุ่น อินเดีย เป็นการบูรณาการศาสตร์ต่างๆ ให้เกิดการลงมือทำจริง และให้เกิดการยอมรับบนฐานที่สะดวก ประหยัด ง่ายและปลอดภัย แต่มีประสิทธิภาพสูงในการสร้างเป็นแบบแผนการดูแลสุขภาพ ซึ่งเป็นที่มาของ ฮอมผญา หรือแหล่งรวมภูมิปัญญา หมอทรายจะเน้นเรื่องการดูแลสุขภาพตั้งแต่อาหารการกิน ชีวิตความเป็นอยู่ของคนไข้ เหตุนี้ทำให้เขาและคนหนุ่มสาวชาวสวนรุ่นใหม่ที่สนใจเรื่อง Health farm หรือสวนสุขภาพรวมตัวกันภายใต้เครือข่ายดูแล สุขภาพวิถีไท ซึ่งเกิดขึ้นทั้งเหนือ ใต้ กลาง อีสาน ทั้งหมดตอนนี้มี 14 สวน เป็นการสร้างอาณาจักร สร้างพื้นที่ของตนเองให้เป็นแบบครบวงจร ทั้งเรื่องข้าวปลาอาหาร การกิน การอยู่ คือทุกบริบทมันเป็นเรื่องของการรักษาหมด เน้นการปลูกผัก ปลูกสมุนไพร การสีข้าว การทำงานในสวน ใช้ความเป็นไปของพื้นที่ตัวเองในการดูแลคนไข้ ได้แบ่งปันกัน ได้พึ่งพากัน คนที่จะเข้ามาอยู่ด้วยก็มาเรียนรู้ร่วมกัน คือผมใช้สุขภาพเป็นเงื่อนไขในการรวมตัวกัน เพื่อทำงานของตัวเองและได้ทำงานเพื่อสังคมด้วย

ศิโรธารา อายุรเวทของอินเดีย

กลับ มาเติมคุณค่าให้หมอพื้นบ้าน

ลักษณะที่สำคัญอย่างหนึ่งของหมอพื้น บ้านคือการอยู่ร่วมกับชุมชน ทำให้เกิดการเรียนรู้และการทำความเข้าใจร่วมกันระหว่างผู้ป่วยกับตัวหมอเอง ซึ่งแตกต่างจากแพทย์แผนตะวันตก จริงๆ โดยพื้นฐาน สังคมบ้านเรามีแพทย์สองอย่างนี้เคียงคู่กันมา แพทย์ตะวันตกเขาแซงมาเรื่อยๆ ที่สำคัญคือแพทย์แผนตะวันตกใช้ยาเข้าไปจัดการเฉพาะที่ จัดการโรคได้ฉับพลัน คือจัดการไปเรื่อยๆ ตามอาการ มันเห็นผลเร็ว แต่ผลข้างเคียงหรือผลที่ตามมาเขาไม่เคยคิด ฉะนั้นหมอพื้นบ้านจำเป็นต้องยกระดับของตัวเองขึ้นมา เพราะโรคเดี๋ยวนี้มันพัฒนาเร็วมาก เป็นโจทย์ที่เราต้องค้นคว้า ต้องทันมัน คือหมอพื้นบ้านจะโดนดูถูกว่ายาตำรับเดียวรักษาได้ร้อยอย่าง มันกลายเป็นโจทย์เพื่อให้เราคิดต่อว่าทำไมมันรักษาได้หลายโรค เราต้องมาถอดรหัสยา คือมันต้องอธิบายให้ได้

หมอทรายมิได้มอง เพียงเรื่องการรักษาอย่างเดียว เขามองว่าทุกบริบทของชีวิตคือเรื่องของการดูแลรักษา ทั้งภายนอกและภายใน ผมมอง เรื่องการรักษาแบบองค์รวม มันสำคัญมาก คือไม่ใช่แค่จัดยาให้ แต่มันต้องดูทั้งหมด ดูทั้งพฤติกรรมการกิน การนอน หรือชีวิตครอบครัวเป็นยังไง ต้องมานั่งคุยกัน นี่คือเสน่ห์ของหมอพื้นบ้าน มันมีเรื่องของใจ เรื่องความเอื้ออาทร เรื่องการแบ่งปัน ผมว่าคุณค่าของหมอพื้นบ้านอยู่ตรงนี้ เมื่อถามถึงอนาคตของหมอพื้นบ้าน เขาบอกว่า หมอพื้น บ้านต้องเปิดใจตัวเอง รับสิ่งใหม่ๆ รับความรู้ใหม่ๆ รับศาสตร์ใหม่ๆ ที่จะมาช่วยจัดการโรคที่มันเปลี่ยนมันพัฒนาไป เราต้องพัฒนาความรู้ของตัวเอง สำคัญมาก เพราะถ้าหมอพื้นบ้านยังคงย่ำอยู่ที่เดิมก็ตาย ถูกกดจากแพทย์แผนตะวันตกตลอด ความจริงแพทย์ตะวันออกมันมีเสน่ห์อยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นทางอินเดีย ญี่ปุ่น หรือจีน

จน ถึงวันนี้เขายังคงก้าวต่อไปอย่างมุ่งมั่น เช่นเดียวกับเพื่อนคนอื่นๆ ที่ต่างมุ่งมั่นตามแนวทางของตน แม้จะเป็นเพียงก้าวแรกๆ แต่มันก็เป็นก้าวที่พร้อมจะฝ่าฟันกับอุปสรรคที่ผ่านเข้ามา ความจริง คาดหวังตัวเองไว้เยอะ ทำในมิติด้านสุขภาพ และมิติเรื่องของชุมชนด้วย คือทำยังไงให้มันเชื่อมโยงกับเยาวชนได้ด้วย เพิ่งมาอยู่บ้านได้ปีเศษ ก็กำลังจะก้าว กำลังจะเดินทาง สำคัญที่สุดคือการเดินทางภายใน ถ้าภายในไม่ชัดเจน ภายในไม่มั่นคงก็เป๋เหมือนกัน ถ้อยคำสุดท้ายยิ่งเหมือนเป็นการตอกย้ำ และท้าทายภาวะภายในของเราว่ามั่นคงชัดเจนเพียงใด



พิชิต กันทรัตน์ ได้รับการยกย่องเป็นปราชญ์เกษตรเขตปฏิรูปที่ดินปี ๒๕๕๐ ผู้สนใจแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการดูแลสุขภาพ สามารถติดต่อได้ที่ เครือข่ายดูแลสุขภาพวิถีไทฮอมผญา ๒ หมู่ ๘ บ้านปงใหม่ ตำบลทุ่งกล้วย อำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา ๕๖๑๑๐

ปริญญาที่สำคัญที่สุดในชีวิตคือการค้นพบตัวเอง ค้นหาตนเองให้เจอ เพื่อให้การดำรงชีวิตแข็งแรงและมั่นคงต่อไป

ที่ มา: สานแสงอรุณ ปีที่ ๑๒ ฉบับที่ ๔ กรกฎาคม-สิงหาคม ๒๕๕๑

*นำไปเผยแพร่ต่อ กรุณาอ้างอิงที่มา*
"ผมคิดพืชสมุนไพรสามารถรักษาโรคได้ ทั้งโรคเกาต์ นิ่ว ผื่นแพ้ ดีซ่าน ขับพิษอุจจาระได้หมด ผมคิดว่า เราทุกคนมีทางเลือกมากกว่าหนึ่ง เพื่อทำให้ต้นทุนชีวิตกลับมาดีขึ้น วิธีการรักษาของผมจะต้องสอดคล้องกับวิถีชีวิต"
หมอทราย แพทย์พื้นบ้านผู้ผันตัวเองกลับสู่ชุมชน และดูแลสุขภาพของคนในชุมชนใน อ.ภูซาง จ.พะเยา หมอทรายพยายามรณรงค์ให้ชาวบ้านหันกลับมาพึ่งตนเองด้านสุขภาพ ซึ่งนอกจากจะเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลแล้ว ยังเป็นการ “สร้าง” สุขภาพ แทนการ “ซ่อม” สุขภาพ เช่น การทำเกษตรปลอดสารพิษ การทำแชมพู-สบู่ที่ลดการใช้สารเคมี การปลูกสมุนไพร และการให้ความรู้ด้านพืชสมุนไพร การใช้พืชพื้นบ้านแทนผงชูรส เป็นต้น นอกจากนั้นหมอทรายยังเรียนรู้ศาสตร์การบำบัดรักษาจากแพทย์แผนโบราณต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น แพทย์แผนไทยแบบองค์รวม การตรวจพลังชีวิตหรือ LET (Life Energy Test) จากญี่ปุ่น การตรวจธาตุ และการทำศิโรธาราบำบัดความเครียดแบบอายุรเวทของอินเดีย เป็นต้น

๓. หมอดิน ตถตา ทองเพียร
แพทย์แผนทิเบตถือได้ว่าเป็นการแพทย์ที่มีรากเดิมมาจากพุทธศาสนา ซึ่งเชื่อว่าโรคเกิดจากอารมณ์ที่เป็นอวิชชา ได้แก่ โลภ โกรธ หลง และเป็นการแพทย์แผนดั้งเดิมที่ให้ความสำคัญกับสุขภาวะทางกาย ทางใจ และทางจิตวิญญาณ หมอดิน คนไทยเพียงคนเดียวที่เดินทางไปศึกษาแพทย์แผนทิเบตจากชุมชนธรรมศาลา ประเทศอินเดีย กับคุณหมอผู้ซึ่งเป็นหนึ่งในทีมแพทย์ประจำองค์สมเด็จทะไลลามะที่ ๑๔ จึงได้เรียนรู้และนำเอาองค์ความรู้ดังกล่าวมาผสานกับแนวทางของ ไท ฉี ฉวน หรือ มวยจีน ที่ได้ฝึกฝนจากอาจารย์ฌานเดช พ่วงจีน ผู้แตกฉานเรื่องดังกล่าวมาเป็นเครื่องมือสำคัญในการดูแลสุขภาพของผู้คนอีกด้วย( “ผมเริ่มจากเรียนมวยจีน แล้วได้ทำความรู้จักกับร่างกายตัวเอง ก่อนหน้านี้สมัยวัยรุ่นผมไม่สนใจตัวเอง ไม่สนใจว่าจะกินอะไร นอนตรงไหน ทำตามอารมณ์เป็นหลัก ไม่คิดว่าร่างกายจะได้รับผลกระทบอะไรบ้าง โอกาสดีได้ไปศึกษาการแพทย์ทิเบตเพิ่มเติม ซึ่งมีส่วนคล้ายการแพทย์แบบ จีน เป็นการเชื่อมโยงระหว่างกายกับจิต ปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตให้เหมาะสม ด้วยอารมณ์ที่สงบ และมีความกลมกลืนกับจิตวิญญาณ สมมุติถ้าวันหนึ่งเราเครียดก็เหมือนพลังชีวิตขาดหายไป แต่ถ้าเราสร้างสมดุลได้ร่างกายจะมีพลัง อารมณ์สดชื่นแจ่มใส สมองปลอดโปร่ง”)

๔. หมอลดาวัลย์ สุวรรณกิตติ
คุณหมอผู้ผสมผสาน และบูรณาการคิดค้น “ดุลยภาพบำบัด “ ซึ่งก็คือการรักษาโรค ที่ยึดหลักสมดุลตามแนวทางธรรมชาติของมนุษย์โดยคำนึงถึงโครงสร้าง หน้าที่ ของอวัยวะทุกระบบ สภาพจิตใจ อาชีพ อิริยาบถประจำวัน อาหาร ตลอดจนสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม โดยมีความเชื่อว่า โรค เกิดจากสภาวะการขาดสมดุลของอวัยต่างๆ รวมถึงสภาวะทางกายภาพ วิถีชีวิตที่ใช้ร่างกายสองข้างไม่เท่ากัน เช่น การนั่งเอียงไปทางใดทางหนึ่ง หรือการใช้ร่างกายซีกใดซีกหนึ่งมากกว่าอีกด้าน ซึ่งร่างกายที่ขาดสมดุลเหล่านี้ก่อให้เกิดโรคต่างๆ เช่น โรคไต โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต เป็นต้น คุณหมอลัดดาวัลย์ ยังมีความเชี่ยวชาญเรื่องการฝังเข็มเพื่อปรับโครงสร้างร่างกาย โดยเป็นการบำบัดพื้นฐานเบื้องต้นเพื่อปรับสมดุลร่างกาย เพื่อเตรียมพร้อมร่างกายให้มีศักยภาพในการเยียวยารักษาตัวเองต่อไปได้

๕. หมอเขียว ใจเพชร กล้าจน

หมอเขียว หมอผู้ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจในการคิดค้นวิธีการรักษามาจากพระไตรปิฎก โดยและบูรณาการองค์ความรู้แผนทางเลือกต่างๆ มาใช้ในการให้ความรู้ด้านการพึ่งตนเองด้านสุขภาพ ผ่านการปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตให้สมดุลมากขึ้น ด้วยแนวทางการรักษาที่รวบรวมและผสมผสานแนวทางในการดูแลสุขภาพขึ้นใหม่ เช่น การรับประทานอาหารปรับสมดุล ร้อน – เย็น การดื่มนํ้าคลอโรฟิลล์ปรับสมดุล การขูดกัวซาเพื่อขับพิษ เป็นต้น และด้วยแนวทางเหล่านี้ ปัจจุบันหมอเขียวเปิดอบรมค่ายสุขภาพพึ่งตนเองเดือนละ ๑ ครั้งเพื่อเผยแพร่องค์ความรู้การพึ่งตนเองด้านสุขภาพให้แก่คนทั่วไป โดยมีผู้เข้าร่วมครั้งละกว่า ๒๐๐ คน มีผู้ป่วยอาการต่างๆ เช่น มะเร็ง (โดยได้ทดลองการรักษาคุณแม่ของท่านเองซึ่งป่วยเป็นมะเร็งมดลูก จนหายเป็นปกติมาจนถึงทุกวันนี้) ความดัน เบาหวาน นิ่วในถุงนํ้าดี ฯลฯ ที่รับเอาแนวคิดดังกล่าวไปดูแลตนเองและปรากฏผลที่ดีขึ้นมาแล้วกว่า ๒,๐๐๐ คน

รู้จัก คุณหมอเขียว ใจเพชรคุณหมอเขียว ใจเพชร

ก่อนที่จะนำเสนอวิธีการดูแลสุขภาพ
ธรรมชาติบำบัดตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง
ที่ใช้หลักการดูแลสุขภาพ ๘ อ.คือ
อิทธิบาท, อารมณ์,อาหาร, อากาศ,
ออกกำลังกาย, อิริยาบถ-เอนกาย,
เอาพิษออก และอาชีพ อันถูกต้อง
โดยเน้นการพึ่งตนเองเป็นหลัก
ขอแนะนำ คุณหมอเขียว คุณหมอที่
อยากจะให้ทุกคนมีสุขภาพที่ดี ก่อนนะค่ะ

ชื่อ ใจเพชร กล้าจน (หมอเขียว )
เกิด จังหวัด มุกดาหาร
การศึกษา
: วิทยาศาสตร์สุขภาพ สาขาสาธารณสุข มสธ.
: วิทยาศาสตรสุขภาพ สาขาบริหารสาธารณสุข มสธ.
: สำเร็จการศึกษาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์แผนไทย,
แนวคิดและทฤษฎี การแพทย์แผนไทย เภสัชพฤกษศาสตร์
เวชกรรมแผนไทย, ธรรมานามัย และสังคมวิทยาการแพทย์ มสธ.
: ศึกษาและอบรมด้านการแพทย์ทางเลือกจากประเทศมาเลเซีย
และจีน ไต้หวัน

ประสบการณ์การปฏิบัติงาน

: โรงพยาบาลหว้านใหญ่ จังหวัดมุกดาหาร (พ.ศ.2535-2540)
: สถานีอนามัยบ้านนิคมเกษตรกรรมทหารผ่านศึก จังหวัดมุกดาหาร
(พ.ศ.2540-2545)
: สำนักงานที่ปรึกษาด้านพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของนายกรัฐมนตรี
(พ.ศ.2546-2548)
: สำนักงานสาธารณสุขอำเภอหว้านใหญ่ จังหวัดมุกดาหาร (พ.ศ.2548)
: โรงพยาบาลอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ (พ.ศ.2548- ปัจจุบัน)

ตำแหน่งหน้าที่และการงานปัจจุบัน
: นักวิชาการสาธารณสุข กลุุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลอำนาจเจริญ
: นักบำบัดสุขภาพทางเลือก และครูฝึกแพทย์แผนไทย สถาบันบุญนิยม
: หัวหน้าฐานงานสุขภาพบุญนิยม สวนป่านาบุญดอนตาล
(ศูนย์เรียนรู้สุขภาพพึ่งตนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง) จังหวัดมุกดาหาร

"หมอ เขียว" ศูนย์บาท รักษาทุกโรค (ฅ คน )

การที่ชายคนหนึ่งเปลี่ยนชื่อตนเองจาก "สำเริง มีทรัพย์" เป็น "ใจเพชร กล้าจน" ในทางหนึ่งเป็นความพยายามบอกกับทุกคนถึงสิ่งที่เขายึดเหนี่ยว

จุดหมายชีวิตแท้จริงที่ชายผู้นี้ยึดถือ คือ ความพยายามช่วยเหลือให้เพื่อนมนุษย์ได้หายจากโรคภัย โดยไม่ต้องเสียเงินสักบาท... ด้วยการรักษาแบบ "แพทย์วิถีพุทธ"

"หมอเขียว" หรือ ใจเพชร กล้าจน จบการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ เขาพยายามรักษาผู้ป่วยตามวิชาแพทย์ที่ได้ร่ำเรียนมาอย่างเต็มที่ แต่พอทำไปได้ชั่วระยะ คนเป็นหมอก็ต้องผจญกับคำถามในใจที่ไหนคำตอบกับตัวเองไม่ได้เสียที

"ทำไมทุกคนยังป่วย ทั้งที่เครื่องมือแพทย์ทันสมัยขึ้น ทำไมรักษาไปแล้วแพงขึ้นทุกวัน ที่สำคัญเจ้าหน้าที่สาธารณสุขกลับป่วยแซงหน้าชาวบ้านอีก"

ยิ่งคิด ก็ยิ่งงง เขาว่า ไม่เพียงเท่านั้น ตัวหมอเองที่เป็นโรคหัวใจขาดเลือดและปวดข้อ ใช้ยาที่ดีที่สุดของโรงยาบาลรักษาแล้วแต่ก็ไม่หายความสงสัยนี้ทำให้หันกลับ มาศึกษาแพทย์ ทางเลือกและนำมาใช้ร่วมกับแผนปัจจุบันผลปรากฏว่าคนไข้หายเพิ่มขึ้นเกือบเท่า ตัว แต่นับแล้วก็ยังได้แค่ 40 เปอร์เซ็นต์ของคนไข้ทั้งหมด ซึ่งทำให้หมอเขียวยังคาใจต่ออีกว่า ทำไมอีก 60 เปอร์เซ็นต์ รักษาไม่ได้ คนที่รักษาได้ก็กลับมาเป็นใหม่ หรือการแพทย์ที่ทำอยู่จะมาผิดทาง หมอเขียวเครียดกับเรื่องนี้มากจนต้องไปปฏิบัติธรรม แต่พอได้อ่านพระไตรปิฎกก็พบว่า คำตอบทั้งหมดอยู่ในนี้แล้ว

หนึ่งในคำสอนที่นำมาพิจารณา คือ เรื่องสังคีติสูตร หมอเขียวคิดไปถึงเรื่องสมดุลของร่างกาย เรื่องปรับร้อน-ปรับเย็น ซึ่งมีในศาสตร์แพทย์แผนไทยอยู่แล้ว เพียงแต่ยังใช้ไม่ได้ผลดี เพราะมัวแต่ปฏิบัติตามตำราซึ่งเขียนในสมัยโบราณ ในขณะที่โลกปัจจุบันร้อนขึ้น การปรับร้อน-เย็นจึงต้องเปลี่ยนตามโลก เพื่อให้เกิดสมดุลที่แท้จริง

หมอเขียวลองรักษาโดยวิเคราะห์ ธาตุร้อน - เย็น ด้วยตนเอง ให้ยาฤทธิ์เย็นมากขึ้นตามโลกที่ร้อนขึ้น เริ่มจากรักษาแม่ที่ปวดมดลูกให้หายได้ ทั้งที่แพทย์ปัจจุบันหาสาเหตุไม่พบ จากนั้นก็ใช้แนวทางดังกล่าวไปรักษาโรคมะเร็ง โรคไต โรคความดัน และบันทึกการรักษาทุกครั้ง ผลปรากฏว่าคนไข้ร้อยละ 90 อาการทุเลา รู้สึกสบายขึ้น เมื่อค้นพบว่าการรักษาที่ได้ผลจริงนั้น พระพุทธเจ้าได้สอนไว้หมดแล้ว หมอจึงประมวลความรู้ทั้งหมด และเรียกชื่อว่า "การแพทย์วิถียุทธ"

ใจความของการแพทย์แผนนี้ คือ ใช้คำสอนของพระพุทธเจ่าเป็นแก่นแกน นำจุดดีของการแพทย์ต่าง ๆ มารวมกัน โดยมีธรรมะเป็นตัวเชื่อมประสานบูรณาการ โดยมีหลักการ 3 ข้อ คือ ใช้สิ่งที่ประหยัดและเรียบง่าย มีประสิทธิภาพในการแก้ปัญหา เพราะแก้ที่ต้นเหตุ และแต่ละคนทำเองได้ ไม่ต้องให้หมอรักษา แต่รักษาตัวเอง

ยา 9 เม็ดที่หมอเขียวใช้รักษาก็ไม่มีราคาค่างวด เพราะเป็นหลักปฏิบัติ 9 ประการที่ทำได้เอง ได้แก่
รับประทานสมุนไพรปรับสมดุล แช่มือเท้าในน้ำสมุนไพร รับประทานอาหารปรับสมดุล ใช้ธรรมะคลายเครียด ออกกำลังกายกดจุดลมปราณรู้จักเพียรและพักให้พอดี ทำกัวซา ดีทอกซ์ และพอก ทา หยอด ประคบ อบ อาบ ด้วยสมุนไพรที่ถูกกัน เมื่อไม่ต้องเสียค่ายาแพง ๆ หรือเสียค่าหมอ จึงเป็นจุดเริ่มต้นของคำว่า "ศูนย์บาท รักษาทุกโรค"

นอกจากเหนือจากมิติทางสุขภาพ หมอเขียวยังให้ความสำคัญกับวิถีชีวิตแบบพุทธอย่างครบวงจร ดังที่ได้สละพื้นที่กว่า 40 ไร่ เพื่อตั้ง "สวนป่านาบุญ" ซึ่งเป็นศูนย์เศรษฐกิจพอเพียง ใช้ปลูกข้าว ผัก พืชสมุนไพร เพื่อเตรียมความพร้อมในการพึ่งพาตนเองก่อนที่ต่อมาจะเปิดเป็นศูนย์สุขภาพให้ ผู้คนเข้ามาเก็บเกี่ยวความรู้เรื่องการใช้ชีวิตตามแนววิถีพุทธอีกด้วย

ความตั้งใจทั้งหมดของหมอเขียว ไม่เพียงทำให้หลาย ๆ คนได้เห็นว่า ชีวิตที่ดี ไม่มีโรคภัย ก็ไม่จำเป็นต้องใช้เงินจำนวนมากๆ ไปแลกหาจากการแพทย์สมัยใหม่ หากแต่ยังมีนัยไปถึงวิถีพุทธ วิถีไทย ในแบบที่เราเป็นนั่นเอง ที่เพียงพอแล้วสำหรับความสุข

หมอมีเวปด้วย http://morkeaw.net/ และ http://www.morkeaw.com/


“ หมอที่เก่งที่สุดก็คือ ตัวเรา และเครื่องมือที่แท้จริงในการบำบัดรักษาโรคคือ ร่างกายของเราเอง "

ลำดับ การกินเพื่อสุขภาพ สไตล์หมอเขียว




ลำดับการกินเพื่อสุขภาพ สไตล์หมอเขียว
(momypedia)
โดย: Olivier

เรื่องกินของมนุษย์เรานั้นมีรูปแบบเดิม ๆ มานานเป็นร้อยปี คือกินอาหาร 3 มื้อ กินข้าวแล้วกินผลไม้เป็นการปิดท้าย แต่ในมุมมองของแพทย์ทางเลือก หมอเขียว ใจเพชร กล้าจน ได้ให้หลักปฏิบัติในการรับประทานอาหารไว้ดังนี้

ลำดับที่ 1 ดื่มน้ำสมุนไพรปรับสมดุล

คือการดื่มน้ำสมุนไพร ฤทธิ์เย็น น้ำย่านางซึ่งก็คือคลอโรฟิลสดจากธรรมชาตินั่นเอง

ลำดับที่ 2 รับประทานผลไม้ฤทธิ์เย็น

เช่น กล้วยน้ำว้า แก้วมังกร กระท้อน สับปะรด ส้มโอ ชมพู่ มังคุด แตงโม แตงไทย แคนตาลูป มะม่วงดิบ มะขามดิบ มะละกอดิบ โดยรับประทานเท่าที่รู้สึกสดชื่น พออิ่ม

ลำดับที่ 3 รับประทานผักฤทธิ์เย็นสด

อ่อมแซบ (เบญจรงค์) ผักบุ้ง แตง กวางตุ้ง สายบัว ผักกาดฮ่องเต้ ผักกาดขาว ผักกาดหอม ถั่งงอก บัวบก มะเขือเปราะ มะเขือยาว มะเขือเทศ โดยอาจกินกับน้ำสลัด เป็นสลัดผักสด หรือจะปรุงรสกับน้ำมะขาม น้ำมะนาว น้ำปลาเป็น ส้มตำ แต่ควรงดใส่พริกนะ กินกับน้ำพริกที่รสไม่จัดมาก

ลำดับที่ 4 รับประทานข้าวจ้าวพร้อมกับข้าว

เลือกข้าวกล้อง หรือข้าวซ้อมมือยิ่งดีที่สุด ควรงดข้าวและคาร์โบไฮเดรท

ที่มีฤทธิ์ ร้อนมาก เช่น ข้าวเหนียว ข้าวแดง ข้าวดำ ข้าวอาร์ซี ข้าวสาลี

ข้าวบา เลย์ เผือก มัน กลอย

เมื่อเลือกข้าวได้แล้ว กับข้าวควรใช้ผักฤทธิ์เย็นเป็นหลักในการปรุง เช่น ผัดบวบในน้ำ แกงจืดยอดตำลึงใส่ผักหวานข้าวโพด หรืออาจปรุงเป็นยำผัก ก้อยผัก แกงจืด แกงอ่อม ยำเห็ด เต้าหูผัด เป็นต้น หรือเมนูอาหารอื่นๆ ที่มีทั่วไป เพียงแต่ใช้ผักฤทธิ์เย็นเป็นหลักในการปรุง

ลดการปรุงอาหารที่กระบวน การทำเกิดความร้อนมาก เช่น เผา ปิ้ง ย่าง อบ ผัดด้วยน้ำมัน ปรุงรสจัด อย่าตั้งไฟนานเกินไป และอย่าอุ่นอาหารซ้ำแล้วซ้ำอีกนะคะ

ลำดับที่ 5 รับประทานต้มถั่วหรือธัญพืชฤทธิ์เย็น

ถั่ว ประเภทต่าง ๆ เช่น ถั่วขาว ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ถั่วลันเตา ลูกเดือย โดยหมุนเวียนชนิดในแต่ละวัน

นี่แหละค่ะคือ หลักการกิน 5 ข้อ ของหมอเขียว ที่ใคร ๆ บอกว่า ออกจะยากสำหรับคนที่กินยาก ไม่ชอบรับประทานอาหารที่รสชาติไม่จัดจ้าน แต่ขอบอกว่า ผู้ป่วยหลาย ๆ คนได้หายจากโรคร้ายเช่นมะเร็งต่าง ๆ มานักต่อนัก




ขอขอบคุณข้อมูลจาก


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย hura : 27-11-2009 เมื่อ 09:19 PM

อบรมสุขภาพวิถีพุทธ ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง(หมอเขียว)

เป้า หมายของการจัดอบรม

1. เรียนรู้วิธีปฏิบัติเพื่อการป้องกันโรค ควบคุมโรค และฟื้นฟูสุขภาพ สำหรับผู้ป่วย มะเร็ง เนื้องอก เบาหวาน

ความ ดันโลหิตสูง ไขมันสูง โรคหัวใจ หอบหืด ไตเสื่อม ภูมิแพ้ ปวดตามข้อ ปวดเมื่อย ปวดตัว ปวดบวมแดงร้อน

ตามร่างกาย และผู้ป่วยที่ภูมิต้านทานน้อย

2. เรียนรู้ภาวการณ์เกิดโรคต่างๆ จากข้อ 1 และโรคเหล่านี้ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด หายได้และบรรเทาได้ด้วย

การปรับสมดุลของร่างกาย

3. เรียนรู้เทคนิคการรับประทานอาหาร ตามลำดับการย่อยง่าย และการคุ้มครองเซลล์ และมารู้จักอาหาร 7 สูตร

เพื่อการปรับสมดุล

4. เรียนรู้กายบริหาร โยคะ การกดจุดลมปราณของอวัยวะต่างๆ และการเดินเร็ว เพื่อช่วยฟื้นฟูสุขภาพ

5. เรียนรู้ กัวซา...ศาสตร์แห่งการดูแลสุขภาพ ซึ่งสามารถตรวจเช็คโรคได้ด้วยตนเอง

6. เรียนรู้ การแช่มือ แช่เท้า และ ขับพิษ (Detox) ปรับสมดุล ด้วยน้ำสมุนไพร

7. มารู้จัก ผลไม้ ผัก สมุนไพร และกลุ่มอาหารที่มีฤทธิ์ร้อนและฤทธิ์เย็น

8. เรียนรู้การทำน้ำสมุนไพร น้ำผักผลไม้รวม และการปรุงอาหาร เพื่อการปรับสมดุลร้อน-เย็น

9. มารู้จักแนวทางดับโลก (โรค) ร้อน ด้วยวิถีแห่งพรหม และการผ่าตัดจิตวิญญาณ ในการบำบัดรักษาโรค

10.เพื่อ ให้ทุกท่านมาเป็นหมอดูแล และบำบัดสุขภาพตนเอง โดยใช้เทคนิค 9 ข้อ หรือยา 9 เม็ด ในการดูแล สุขภาพ







๖. หมอแดง วีระชัย วาสิกดิลก
หมอผู้ซึ่งพลิกผันตัวเองจากการเป็นคนไข้ (ป่วยด้วยโรค Office Syndrome ปวดขาทั้ง ๒ ข้างทุกวันและรักษาไม่หาย) จึงกลับมาค้นหาแนวทางในการฟื้นฟูร่างกายด้วยตนเอง และในที่สุดก็กลายเป็นหมอผู้ให้ความรู้แก่คนอื่น และมีความเชื่อเรื่องการเผยแพร่ความรู้ด้านการดูแลสุขภาพให้กว้างขวางผ่านสื่อมวลชนสาขาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น หนังสือ วิทยุ และโทรทัศน์ ทั้งนี้เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูล มีความรู้ในการดูแลสุขภาพของตนเองด้วยหลักการง่ายๆ ที่ปฏิบัติได้ในชีวิตประจำวัน เช่น การดื่มนํ้าอย่างถูกวิธี การดูแลรักษาระบบย่อยอาหาร และระบบขับถ่าย เป็นต้น

ธันวาคม 2552
หลาก เส้นทาง "สุขภาพ" เลือกอย่าง "สมดุล"
8 วิถีบำบัดสุขภาพ เขาทำได้อย่างไร?
ผู้ป่วยจะลุกขึ้นมารักษาตัวเองได้จริงหรือ?
แล้วถ้า หายจะกลับมาป่วยอีกหรือเปล่า ?
5 ผู้ป่วยที่ฟื้นฟูตนเอง ด้วยองค์ความรู้ซึ่งแตกต่างจากการแพทย์แผนตะวันตก พวกเขามาเป็น “หมอ” ร่วมไขรหัสและแกะปมปัญหาสุขภาพ เพื่อดุลยภาพแห่งชีวิต ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่ผู้สนใจและรักสุขภาพได้เข้ามามีส่วนร่วมเรียนรู้และ
นำ ไปปฏิบัติด้วยตนเอง

ปัจจุบัน เมนูอาหารทางเลือก การออกกำลังทางเลือก การเรียนทางเลือก ศิลปะทางเลือกหรือเพลงอินดี้ ผุดขึ้นมาเต็มไปหมด เห็นแล้วว่ามีหลากหลายเคาท์เตอร์ให้เดินชอปปิ้งกันไม่หวาดไม่ไหว หลายครั้งอดตั้งคำถามไม่ได้ว่า การโหยหาอดีต
อย่างสุดขั้ว กับการวิ่งตามโลกสมัยใหม่สุดขีด อย่างไหนจะดีกว่ากัน แล้วจุดไหนถึงจะเรียกว่าพอดี

ล่าสุด เมื่อวันที่ 22 ตุลาคมที่ผ่านมา มูลนิธิระพี – กัลยา สาคริก ร่วมกับ มูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สถาบันอาศรมศิลป์ ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดงาน ระพี เสวนา : การเรียนรู้เพื่อความเป็นไท ครั้งที่ 3 “สุขภาพทางเลือกเพื่อดุลยภาพแห่งชีวิต” ขึ้น โดยมีผู้ร่วมงานกว่า 300 คน ณ ห้องประชุมมหิศร ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) งานนี้เขาไม่เลือกข้าง เพราะผู้จัดงานเน้นให้เป็น สุขภาพทางเลือกเพื่อดุลยภาพแห่งชีวิต คือ เสาะหาวิธีการรักษาอาการป่วยไข้ หรือการดูแลตัวเองจากการผสมผสานระหว่างแพทย์แผนเก่าและใหม่ หลักสำคัญต้องเลือกให้เหมาะสม เพื่อสร้างสมดุลให้กับตัวเองมากที่สุดซึ่งคงไม่มีใครรู้ดีเท่าตัวเราเอง

ศาตราจารย์ระพี สาคริก ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ โครงการระพีเสวนา กล่าวว่า “ชีวิตคนเราจิตใจบอกได้ ในที่สุดตัวเราเองจะรู้ว่าเราต้องทำอะไร โดยเฉพาะสุขภาพ เวลานี้ผมอายุจะขึ้น 88 ปีแล้ว แต่ผมยังทำงานอย่างมีความสุข ชีวิตคนเราทำได้ทุกอย่างถ้ามีความสุข เพราะผมมีธรรมะอยู่ในใจ ใช้ธรรมะรักษาให้สุขภาพกายใจดี ใช้ธรรมะในทางที่ถูกต้อง เห็นไหมว่า
แม้ แต่ธรรมะก็รักษาสุขภาพได้”
หมอ เขียว-ใจเพชร กล้าจน ผู้ป่วยที่ฟื้นฟูตัวเองจาก “วิถีพุทธ” จากการไขรหัสพระไตรปิฎกแล้วนำมาบูรณาการณ์กับการแพทย์ เล่าถึงแรงบันดาลใจที่ผลักเขาหลุดจากการแพทย์แผนใหม่แบบเดิมๆ ว่า แม้ในชีวิตการเรียนเขาจบวิทยาศาสตร์สุขภาพมาถึง 2 ใบ แต่ปัญหาข้องใจ 3 ข้อทำให้เขาต้องหยุดคิดถึงวิถีการแพทย์ที่ใช้รักษาอยู่ในปัจจุบัน

“3 ปีแรกที่ผมทำงานรักษาคนไข้ ผมใช้ความรู้ทั้งหมดที่มี แต่กลับแก้ปัญหาคนไข้ไม่ได้ อย่างแรกที่ผมตั้งคำถามคือ ทำไมคนป่วยมากขึ้นทุกวันๆ โรคที่เคยรักษาได้กลับรักษาไม่ได้ แล้วทำไมบุคลากรทางการแพทย์จึงมีอัตราการป่วยมากกว่าคนทั่วไปถึง 3 เท่า เป็นเรื่องที่น่าตกใจและต้องคิด ข้อสองรักษาไป แทนที่ค่าใช้จ่ายจะถูกลง กลับแพงขึ้นเรื่อยๆ จะหายก็ไม่หาย ข้อสาม แล้วทำไมเราก็ป่วยและสังเกตเห็นว่าคนพึ่งตัวเองได้น้อยลง ป่วยนิดหน่อยก็เสียเวลามานั่งรอหมอ ผมว่าถ้าคนนิยมมาหาหมอแล้วทำให้อัตราการเจ็บป่วยน้อยลงก็ว่าไปอย่าง แต่นี่ตรงข้าม”
ส่วน อดีตผู้ป่วยโรคต่อมน้ำเหลืองบวมที่คอ และอีโคโนมีคลาส ซินโดรม (Economy Class Syndrome) หมอแดง-วีระชัย วาสิกดิลก ผู้ป่วยที่ฟื้นฟูตัวเองจาก “ธรรมชาติบำบัด” บอกว่า แรกป่วยเขาต้องเข้าพบแพทย์ที่โรงพยาบาลอยู่บ่อยครั้ง รักษาตามอาการทั้งกินยา ผ่าตัดมาสารพัดก็ไม่หาย กระทั่งขาบวมจนเดินไปไหนไม่ได้ แต่หมอแดงก็ดั้นด้นพาตัวเองมานวดที่วัดโพธิ์ “ผมแปลกใจว่าทำไมนวดแล้วอาการดีขึ้น เวลาเจ็บป่วยยาที่กินกลับช่วยเราไม่ได้ แต่ไปนวดเท้า 3-4 ครั้ง ช่วยให้รู้สึกดีขึ้นมาก ผมเลยหันมาศึกษาเรื่องการนวด การรักษาโรคกับรักษาคนไม่เหมือนกัน ถ้าคุณรักษาโรค คุณเป็นโรคอะไรก็มาตรวจหาโรค หมอจ่ายยาก็จบ แต่การรักษาคนต้องปรับพฤติกรรมคน พฤติกรรมที่ก่อโรค หมอมีหน้าที่แนะนำให้ผู้ป่วยพึ่งตนเอง
ร่างกายเป็นหนึ่งเดียวกับเรา เราต้องดูแลตัวเอง”
รศ.พญ.ลดาวัลย์ สุวรรณกิตติ ผู้ป่วยที่ฟื้นฟูตัวเองจาก “ดุลยภาพบำบัด” อธิบายว่า เมื่อชีวิตขาดสมดุล โรคภัยย่อมมาเยือน ดุลยภาพบำบัดจึงนำการวินิจฉัยแบบแผนปัจจุบันมาผสมผสานกับการนวดไทยและการฝัง เข็มแบบจีนโบราณ ซึ่งเน้นวิธีบำบัดแบบองค์รวมให้อวัยวะต่างๆ ในร่างกายทำงานสอดคล้องกัน แล้วฟื้นฟูโครงสร้างร่างกายผู้ป่วยกลับสู่สมดุล “ทุกวันนี้เราใช้ชีวิตแบบขาดดุลยภาพโดยไม่รู้ตัว เช่น ใช้อวัยวะร่างกายข้างใดข้างหนึ่งมากเกินไป ลงน้ำหนักเอียงข้างขวาหรือซ้ายมากเกินไป การเกิดอุบัติเหตุ หรือกระทั่งตอนคลอด นำมาสู่การเป็นโรคต่างๆ ทั้งหมอนรองกระดูกทับเส้น อัมพฤตอัมพาต ส่วนใหญ่เวลาไปหาหมอก็จะรักษาตามอาการ เคยสงสัยไหมว่า ทำไมปวดหลังหาหมอหายแล้วก็เป็นอีก
นั่นเพราะโครงสร้างเสียสมดุล แต่อาการเหล่านี้สามารถบำบัดเบื้องต้นด้วยการบริหารร่างกายแบบง่ายๆ ที่บ้านได้ทุกวัน แล้วสังเกตการเปลี่ยนแปลงจากร่างกายตัวเอง”
หมอ ดิน -ตถตา ทองเพียร ผู้เยียวยาร่างกายด้วย “แพทย์แผนทิเบต” เลยเอ่ยถึง วัยเด็กของตัวเองว่า “ผมเริ่มจากเรียนมวยจีน แล้วได้ทำความรู้จักกับร่างกายตัวเอง ก่อนหน้านี้สมัยวัยรุ่นผมไม่สนใจตัวเอง ไม่สนใจว่าจะกินอะไร นอนตรงไหน ทำตามอารมณ์เป็นหลัก
ไม่คิดว่าร่างกายจะได้รับผลกระทบอะไรบ้าง โอกาสดีได้ไปศึกษาการแพทย์ทิเบตเพิ่มเติม
ซึ่งมีส่วนคล้ายการแพทย์แบบ จีน เป็นการเชื่อมโยงระหว่างกายกับจิต ปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตให้เหมาะสม ด้วยอารมณ์ที่สงบ และมีความกลมกลืนกับจิตวิญญาณ สมมุติถ้าวันหนึ่งเราเครียดก็เหมือนพลังชีวิตขาดหายไป แต่ถ้าเราสร้างสมดุลได้ร่างกายจะมีพลัง อารมณ์สดชื่นแจ่มใส สมองปลอดโปร่ง”
อย่าง ไรก็ตาม การพึ่งตนเอง ถือเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด “การตรวจรักษาคนไข้สอดคล้องกับวิถีชีวิต การทำเกษตรปลอดสารพิษก็ทำให้คนปลูกคนซื้อได้กินอาหารดีๆ ใช้ชีวิตร่วมกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นมิตร ผมจบปริญญาตรีกลับบ้านมาปลูกพืชสมุนไพร คนอื่นก็สงสัยว่าทำไม่ไม่ปลูกยางซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจขายได้ราคา แต่พืชสมุนไพรก็รักษาโรคได้ ทั้งโรคเก๊าท์ นิ่ว ผื่นแพ้ ดีซ่าน ขับพิษอุจจาระได้หมด ถามผมได้ เราทุกคนมีทางเลือกมากกว่าหนึ่งเพื่อทำให้ต้นทุนชีวิตกลับมาดีขึ้น” หมอ ทราย พิชิต กัณฑรัตน์ แพทย์ทางเลือกสู้ชุมชนพึ่งตนเอง กล่าว
นอก จากวงเสวนา งานนี้ยังจัดให้มีการสาธิตเมนูอาหารเพื่อสุขภาพ และกิจกรรมเวิร์คชอป “สถานีสุขภาพ” แบ่งเป็นวงเสวนากลุ่มย่อย 8 กลุ่ม ได้แก่ 1)ค่ายศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล 2)ค่ายสุขภาพโรงเรียนรุ่งอรุณ และสถาบันอาศรมศิลป์ 3)ค่ายโยคะฝึกจิตพิชิตโรค 4) “สมุนไพรการดูแลตนเองแบบไทย” โดยโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร 5) “แพทย์วิถีพุทธ”
6) “ใครไม่ป่วยยกมือขึ้น” 7) “แพทย์วิถีพึ่งตนเอง” และ 8) “ดุลยภาพบำบัด”

ทั้งนี้ ตัวแทนจากผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้ง 8 ค่าย มีความเห็นร่วมกันว่า “สุขภาพทางเลือกเพื่อดุลยภาพแห่งชีวิต” เป็นเรื่องมหัศจรรย์ที่ช่วยให้ทุกคนหันมาสนใจตัวเองมากขึ้น รู้จักสำรวจร่างกายและจิตใจของตนเอง พร้อมเปิดโลกทัศน์ทางการแพทย์
ในมุม มองใหม่ให้ทุกคนเป็นหมอใหญ่ในการรักษาตนเองได้เป็นอย่างดี

ดังนั้น ไม่ว่าเราจะเป็นกลุ่มคนที่โหยหาอดีตอย่างสุดกู่ หรือล้ำหน้าวิ่งเร็วจี๋ในโลกโลกาภิวัฒน์ วันนี้คงต้องหันมาเลือก “หยุด” เพื่อฟังเสียงร่างกายและหัวใจตัวเอง ว่าแล้ว ‘มาเริ่มฟังเสียงตัวเอง กันดีกว่า’
ดาวน์โหลด



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Manager Online - ภาคใต้

Manager Online - ภาคกลาง-ตะวันออก

Manager Online - ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Manager Online - ภาคเหนือ

คันฉ่องนกไฟ

ผู้ติดตาม

http://hi5.com/friend/displayLoggedinHome.do