วันพฤหัสบดีที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2553

สัปปุริสธรรม ๘

เพราะเรามองหาเราจึงได้เจอ เพราะเราสงสัยจึงต้องค้นหา ความรู้ที่เราไม่รู้อย่างจัดเจนเพื่อเพิ่มพูนให้ชีวิตสมบูรณ์ยิ่งกว่าเดิม แม้ไม่ใช่่แนวทางของเป้าหมายตัว(ยอมแวะสักครู่ก็ยังได้ครับ) อย่าหาสาระมากนักกับชีวิตไม่ใช่เพราะชีวิตไม่มีสาระหากแต่ชีวิตไม่ใชสิ่งแน่นอน มีองค์ประกอบเยอะต่อการดำเนินชีวิต คิดเสียว่าเป็นองค์ประกอบหนึ่งของการดำเนินชีวิตแบบตัวผมอะน่ะ ฮ่าๆๆๆๆๆๆ

สัปปุริสธรรม ๘ ธรรมของสัตบุรุษ( ธรรมที่ทำให้เป็นสัตบุรุษ คุณสมบัติของคนดี)

๑. สัทธัมมสมันนาคโต ประกอบด้วยสัทธรรม ๗ ประการ คือ

ก. มีศรัทธา

ข. มีหิริ

ค. มีโอตตัปปะ

ง. เป็นพหูสูต

จ. มีความเพียรอันปรารภแล้ว

ฉ. มีสติมั่นคง

ช. มีปัญญา

๒. สัปปุริสภัตตี ภักดีสัตบุรุษ คือ คบหาสมณพราหมณ์ ท่านผู้ประกอบด้วยสัทธรรม ๗ ประการข้างต้น เป็นมิตรสหาย

๓. สัปปริสจินตี คิดอย่างสัตบุรุษ คือ จะคิดสิ่งใด ก็ไม่คิดเพื่อเบียดเบียนตนและผู้อื่น

๔. สัปปุริสมันตี ปรึกษาอย่างสัตบุรุษ คือ จะปรึกษาการใด ก็ไม่ปรึกษาเพื่อเบียดเบียนตนและผู้อื่น

๕. สัปปุริสวาโจ พูดอย่างสัตบุรุษ คือ พูดแต่คำที่ถูกต้องตามวจีสุจริต ๔

๖. สัปปุริสกัมมันโต ทำอย่างสัตบุรุษ คือ ทำการที่ถูกต้องตามกายสุจริต ๔

๗. สัปปุริสทิฏฐิ มีความเห็นอย่างสัตบุรุษ คือ มีสัมมาทิฏฐิ เช่นว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นต้น

๘. สัปปุริสทานัง เทติ ให้ทานอย่างสัตบุรุษ คือ ให้ตามหลักสัปปุริสทาน เช่น ให้โดยเอื้อเฟื้อทั้งแต่ของที่ตัวให้ทั้งแก่ผู้รับทาน ให้ของบริสุทธิ์ ให้โดยเข้าใจถึงผลที่จะมีตามมา เป็นต้น

บางทีเรียกว่า สัปปุริสธรรม ๗ เพราะนับเฉพาะสัทธรรม ๗ ในข้อ ๑

(มชฺฌิม นิกาย อุปริปณฺณาสก ๑๔/๑๔๓/๑๑๒.)

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ -

หน้าที่ 380


สปฺ ปุริสานํ ธมฺมา ได้แก่ ธรรมของสัตบุรุษ. ชนใดรู้ธรรม ใน

บรรดาสัปปุริสธรรมเหล่านั้น มีสุตตะและเคยยะเป็นต้น เพราะ

เหตุนั้น ชนนั้น ชื่อว่า ธัมมัญญู ( รู้จักเหตุ ).

ชน ใด รู้อรรถแห่งภาษิตนั้น ๆ นั่นแล เพราะเหตุนั้น ชนนั้น ชื่อ

ว่า อัตถัญญู (รู้จักผล)

ชน ใด รู้จักตน อย่างนี้ว่า เราเป็นผู้มีประมาณเท่านี้ ด้วย ศีล

สมาธิปัญญา เพราะเหตุนั้น ชนนั้น ชื่อว่า อัตตัญญู ( รู้จักตน ).

ชน ใดรู้จักประมาณในการรับและการบริโภค เพราะเหตุนั้น ชน

นั้น ชื่อว่ามัตตัญญู (รู้จักประมาณ).

ชน ใด รู้จักกาลอย่างนี้ว่า นี้กาลแสดง นี้กาลไต่ถาม นี้กาลบรรลุ

โยคธรรม เพราะเหตุนั้น ชนนั้น ชื่อว่า กาลัญญู(รู้จักกาล). ก็

บรรดากาลเหล่านั้น กาลแสดง ๕ ปี กาลไต่ถาม ๑๐ ปี.นี้นับว่า

คับแคบยิ่งนัก. กาลแสดง ๑๐ ปี กาลไต่ถาม ๒๐ ปี. เบื้องหน้าต่อ

แต่นั้นไป บัณฑิตพึงกระทำกรรมในการประกอบเถิด.

ชน ใด รู้จักบริษัท๘ อย่าง เพราะเหตุนั้น ชนนั้น ชื่อว่า ปริสัญญู

( รู้จักบริษัท ).

ชน ใดรู้จักบุคคลที่ควรเสพหรือไม่ควรเสพ เพราะเหตุนั้น ชน

นั้น ชื่อว่า. ปุคคลัญญู( รู้จักบุคคล ).
อรรถกถาของพระสูตรนี้ อธิบายความหมายของ กาลัญญู ว่า


ชนใด รู้จักกาลอย่างนี้ว่า นี้กาลแสดง นี้กาลไต่ถาม นี้กาลบรรลุโยคธรรม

เพราะเหตุนั้น

ชนนั้น ชื่อว่า กาลัญญู(รู้จักกาล). ก็บรรดากาลเหล่านั้น กาลแสดง ๕ ปี

กาลไต่ถาม ๑๐ปี.นี้นับว่า คับแคบยิ่งนัก.

กาลแสดง ๑๐ ปี กาลไต่ถาม ๒๐ ปี. เบื้องหน้าต่อแต่นั้นไป

บัณฑิตพึงกระทำกรรมในการประกอบเถิด


แต่ ผมชอบความหมาย ดังต่อไปนี้ มากกว่า

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 236

๔. ธัมมัญญูสูตร

[๖๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ

เป็นผู้ควรของคำนับ ฯลฯ เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า

ธรรม ๗ ประการเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้

เป็นธัมมัญญู รู้จักธรรม ๑ อัตถัญญู รู้จักอรรถ ๑ อัตตัญญู รู้จักตน ๑

มัตตัญญู รู้จักประมาณ ๑ กาลัญญู รู้จักกาล ๑ ปริสัญญู รู้จักบริษัท ๑

ปุ คคลโรปรัญญู รู้จักเลือกคบคน ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นธัมมัญญูอย่างไร ..............

ภิกษุเป็น กาลัญญูอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้จักกาลว่า

นี้เป็นกาล เรียน นี้เป็นกาลสอบถาม นี้เป็นกาลประกอบความเพียร

นี้เป็นกาล หลีกออกเร้น

หากภิกษุไม่พึงรู้จักกาลว่า นี้เป็นกาลเรียน นี้เป็นกาลสอบถาม

นี้เป็นการประกอบความเพียร นี้เป็นการหลีกออกเร้น เราไม่พึงเรียกว่าเป็นกาลัญญู

แต่เพราะภิกษุรู้จักกาลว่า นี้เป็นกาลเรียน นี้เป็นกาลสอบถาม

นี้เป็นกาลประกอบ ความเพียร นี้เป็นกาลหลีกออกเร้น

ฉะนั้น เราจึงเรียกว่าเป็นกาลัญญู ............................


ขอเชิญอ่านพระสูตรนี้ www.dhammahome.com/front/tipitaka/tipitaka_pdf/tipitaka_37.pdf

ขอให้เป็นคนดีสมปรารถนา.....ฮ่าๆๆๆๆๆ

แถมอีบุ๊คทีนี่http://www.toodoc.com/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%9B%E0%B8%9B%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1-word.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Manager Online - ภาคใต้

Manager Online - ภาคกลาง-ตะวันออก

Manager Online - ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Manager Online - ภาคเหนือ

คันฉ่องนกไฟ

ผู้ติดตาม

http://hi5.com/friend/displayLoggedinHome.do