วันเสาร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2553

สูตรปุ๋ย ยางพารา และการกรีดยาง


บริเวณที่ใส่ปุ๋ย

ระยะแรกหลังจากปลูก ยาง รากของต้นยางจะแผ่ออกเป็นวงกลมรอบลำต้น ประมาณปีที่ 4 รากจึงจะแผ่ขยายออกไปจนถึงกึ่งกลางระหว่างแถวยาง และเมื่อต้นยางมีอายุเกิน 5 ปีขึ้นไป รากก็จะแผ่ขยายเพิ่มขึ้นและหนาแน่น อยู่ในบริเวณห่างจากลำต้น ประมาณ 60 เซนติเมตร จนถึง 3 เมตร ดังนั้นเพื่อให้การ ดูดอาหารของต้นยางเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงควรใส่ปุ๋ยบริเวณ ที่มีรากดูดอาหาร หนาแน่นคือเมื่อต้นยางยังเล็กควรใส่ปุ๋ยเป็นวงกลม รอบลำต้น ส่วนต้นยาง ที่มีออายุตั้งแต่ 17 เดือนขึ้นไป ให้หว่านปุ๋ยกระจายสม่ำเสมอเป็นแถบยาว ไปให้แถวยาง ห่างจากโคน ต้นยางข้างละ 1 เมตร เมื่อยางมีอายุ 5 ปีขึ้นไปให้หว่านปุ๋ยเป็นแถบกว้างห่าง จากโคนต้นยางอย่างน้อย 50 เซนติเมตร และขยายออกไปถึง 3 เมตร สำหรับยาง ที่เปิดกรีด แล้วให้หว่านปุ๋ยทั่วแปลงห่างจากโคนต้นยางข้างละ 1 เมตร


การใช้ปุ๋ยให้ตรงกับสภาพดินของเรามากขึ้น เราต้องรู้ว่าดินในสวนยางพาราของเรา มีธาตุไนโตรเจน, ฟอสฟอรัส, โปแตสเซี่ยม ในระดับใด (สูง – กลาง – ต่ำ) และ ค่าความเป็นกรด-ด่าง(pH) เท่าใด
มีวิการตรวจสภาพดินอยู่ 2 วิธี
1. การใช้กระดาษลิบมัส
เราสามารถทำกระดาษลิตมัสจากสีของดอกไม้ได้ เช่น ดอกชบาซ้อน ดอกอัญชันสีม่วงดอกกระเจี๊ยบ วิธีการทำก็ง่ายๆ คือ1.ตัดกระดาษวาดเขียสความกว้าง 1 เซนติเมตร ความยาวประมาณ 4 เซนติเมตร และ นำดอกไม้ที่กล่าวไว้นำมาขยี้กับน้ำเปล่าสะอาด ให้ได้สีของดอกไม้ชนิดนั้น และ นำกระดาษที่ตัดเตรียมไว้ นำลงไปแช่ในน้ำที่มีสีของดอกไม้อยู่ สักพัก ก็นำมาตากแดดให้แห้งสนิท และลองทดลอง กับ สารแอซิติก หรือ น้ำส้มสายชู ว่ามีการเปลี่ยนสีหรือเปล่าถ้ามีการเปลี่ยนสี แสดงว่ากระดาษลิตมัสจากสีของดอกไม้ได้ผลจริง

2. วิธีวัด pH มีหลายวิธีครับ
1. ใช้เครื่องทดสอบ pH ดิน
2. ใช้กระดาษลิตมัส
3. ใช้น้ำยาทดสอบของ ภาควิชาปฐพีวิทยา ม.เกษตรศาสตร์
แต่ pH ไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืชนะครับ
ถ้าจะดูแบบละเอียดต้องส่งดินไปวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ จะสามารถ
บอกคุณสมบัติของดินออกมาได้ทั้งหมด แต่ต้องแลกกับค่าใช้จ่ายราคา
ค่อนข้างสูงเช่นกัน
เครื่องทดสอบ pH หาได้จากศึกษาภัณฑ์

หมอดินหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ และจังหวัด หรือที่สถานีพัฒนาที่ดิน/สามารถเอาดินไปตรวจได้ที่พัฒนาที่ดินจังหวัด- ตรวจขั่นต้นก็ดูสภาพดินว่าเป็น ดินลูกรัง หรือดินร่วน หรือดินเหนียว ดินทราย ลองขุดดู ถ้ามีร่วนซุยมีฮิวมัส(ซากพืชซากสัตว์มากก็สันนิฐานว่าดินน่าจะดีครับ)
- ตรวจกรด-ด่าง ของดิน โดยเก็บตัวอย่างดิน ในไร่สัก 10 จุด เอาไปให้ กรมพัฒนาที่ดินตรวจดู หรือ ขอให้หมดดินมาตรวจให้ก็ได้ครับ

วิธีง่ายๆ ในการทดสอบดินเปรี้ยวหรือดินเค็ม ก็คือ ลองตักดินหนึ่งช้อนโต๊ะใส่ในน้ำฝน 1 แก้ว และเติมแอมโมเนียลงในแก้วประมาณ เศษ 2/3 ของแก้ว คนให้เข้ากันและทิ้งไว้สองชั่วโมงผลที่ได้ถ้าหากน้ำใสคือดินมีความเค็ม หากน้ำยังขุ่นอยู่หมายถึงดินเปรี้ยวและเป็นกรด...ลองดูนะครับ

http://docs.google.com/viewer?a=v&q=cache:w7pXIPXrFYoJ:202.29.77.139/globe/handbook/soil/intro8-11.pdf+%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%88%E0%B8%AA%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%99&hl=th&gl=th&pid=bl&srcid=ADGEESjkN0ja-ThV6s2yXUiPtjvudRX2jL_wX1i2t_4HvkPhUH6rMPkGzjYQO6M32x7GlA-Slj9GY0yfv3p-_DQocP5tL7WgROomiwiT9_5nHFM0ztsBJFawnooiQ2MntUqs0KGz6qd4&sig=AHIEtbQxYUC7XYW5ohhoDHpdxWFxFIyVdw

นับตั้งแต่ปี 2550 เป็นต้นมา ราคาน้ำมันได้เริ่มปรับตัวสูงขึ้นเรื่อย ๆ เป็นระยะ ๆ ทำให้ราคาปุ๋ยปรับตัวสูงตามขึ้นมาเป็นระยะ ๆ เช่นกัน และในไตรมาสที่ 3 ของปี 2551 ราคาน้ำมันได้ขึ้นสู่จุดสูงสุด ส่งผลให้เกษตรกรชาวสวนยางพาราต้องเจอกับภาวะราคาปุ๋ยที่แพงสุด ๆ เท่าที่ผ่านมา โดยราคาปุ๋ยเคมีสำหรับยางพาราสูตร 20-8-20 (เต็มสูตร)ได้สูงถึง 31 บาทต่อกิโลกรัม หรือกระสอบละ 1,550 บาท และในช่วงระยะเวลาดังกล่าวก็มีข่าวเกี่ยวกับปุ๋ยปลอมหรือปุ๋ยเคมีต่ำกว่า มาตรฐาน อยู่ทั่วไปในท้องตลาด ยังความเสียหายอย่างใหญ่หลวงแก่เกษตรกรชาวสวนยางพาราทั่วประเทศ ดังนั้น ในการจะซื้อปุ๋ยยางพาราจึงควรต้องมีหลักในการพิจารณา ดังนี้

1. พิจารณาเลือกสูตรปุ๋ยให้เหมาะสมกับสภาพดินและอายุต้นยางพาราโดยอาศัยค่า จากการวิเคราะห์ดิน แต่หากไม่สามารถวิเคราะห์ได้ ให้พิจารณาปุ๋ยสูตรทั่วไป คือ ถ้าเป็นสวนยางพาราในระยะก่อนให้ผลผลิต สูตรที่สามารถใช้ได้ คือ สูตร 20-8-20, 25-7-7, 19-6-5, 18-4-5 หรือ 20-10-5 แต่ถ้าเป็นสวนยางพาราในระยะเปิดกรีดหรือให้ผลผลิตน้ำยาง สูตรที่ใช้ได้ เช่น สูตร 29-5-18, 15-7-18
2. บนกระสอบปุ๋ยจะต้องระบุรายการต่าง ๆ อาทิ มีคำว่า "ปุ๋ยเคมี" หรือ "ปุ๋ยเคมีมาตรฐาน", มีชื่อการค้าและเครื่องหมายการค้า, แสดงปริมาณธาตุอาหารรับรอง เช่น สูตร 20-8-20, ต้องแจ้งชื่อผู้ผลิต, สถานที่ผลิตหรือสถานที่นำเข้าหรือสั่งซื้อปุ๋ยเคมีเข้ามาในราชอาณาจักร และชื่อผู้ผลิตในต่างประเทศด้วย, ต้องระบุเลขทะเบียนที่ออกโดยกรมวิชาการเกษตร, ต้องแสดงน้ำหนักสุทธิในระบบเมตริก(กิโลกรัม), ปุ๋ยเคมีบางชนิดอาจแสดงชนิดและปริมาณธาตุอาหารรอง หรือธาตุอาหารเสริมไว้บนกระสอบด้วย ก็ได้
3. Q shop-สินค้าเกษตรและอาหารที่มีคุณภาพถึงแม้ว่าที่ข้างกระสอบจะมีตัวเลขแสดงปริมาณธาตุอาหารรับรอง เช่น สูตร 20-8-20 ก็ตาม เพื่อให้แน่ใจมากขึ้นว่าจะได้ปุ๋ยตรงสูตร เราจึงควรซื้อปุ๋ยยางพาราจากแหล่งจำหน่าย หรือแหล่งผลิตที่น่าเชื่อถือ, มีใบอนุญาตให้จำหน่ายปุ๋ยถูกต้องตามกฎหมาย ยิ่งถ้าเป็นร้านที่มีการรับรองจากกรมวิชาการ กระทรวงเกษตรฯ เช่น ร้านที่ได้ รับ Q Shop ก็จะเป็นการดีมาก (Q Shop เป็นโครงการมอบตราหรือสัญลักษณ์ให้แก่ร้านขายสินค้าเกษตรและอาหารมีคุณภาพ และมีความปลอดภัย จากกรมวิชาการเกษตร เพื่อแสดงว่าเป็นร้านที่มีคุณสมบัติตามที่กรมฯ กำหนด และมีความรู้ความเข้าใจ ตลอดจนสามารถถ่ายทอดความรู้เรื่องการใช้ปุ๋ยและสารเคมีเกษตรอย่างถูกต้องแก่ เกษตรกรได้)
4. ในกรณีที่มีปุ๋ยเคมีมากกว่าหนึ่งสูตรให้เลือก หากเรโชปุ๋ยเป็นเรโชเดียวกัน การเลือกซื้อควรพิจารณาราคาต่อหน่วยธาตุอาหารรวม หากสูตรใดต่ำกว่าก็ควรซื้อสูตรนั้น ไม่คิดแต่เพียงราคาปุ๋ยต่อน้ำหนัก
5. ไม่ซื้อปุ๋ยที่แบ่งบรรจุ เพื่อป้องกันการปลอมปน
6. ในการสั่งซื้อปุ๋ย เกษตรกรชาวสวนยางพาราควรรวมตัวกันซื้อคราวละมาก ๆ เพื่อให้ได้ราคาที่ต่ำและประหยัดค่าขนส่ง ถ้าเป็นไปได้ ก็น่าจะตั้ง “กองทุนปุ๋ย” แต่ละหมู่บ้าน
7. ซื้อปุ๋ยเคมีที่ขึ้นทะเบียนถูกต้องโดยมีเลขทะเบียนของกรมวิชาการเกษตร อยู่ข้างกระสอบ
8. ควรขอใบเสร็จรับเงินทุกครั้งที่ซื้อขาย เพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐานในการดำเนินการทางคดี หากปุ๋ยที่ซื้อมามีคุณภาพไม่ถูกต้อง
9. ไม่ควรขายกระสอบปุ๋ย หรือถุงบรรจุปุ๋ยเคมีที่ใช้หมดแล้ว เพราะอาจมีการนำไปบรรจุปุ๋ยเคมีปลอมมาจำหน่าย
10. หากจำเป็นต้องซื้อปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ ควรซื้อที่มีคุณภาพดีและควรมีรายละเอียดข้างกระสอบ เช่น จำนวนและสายพันธุ์จุลินทรีย์, ปริมาณจุลินทรีย์ที่มีชีวิตต่อปุ๋ย 1 กรัม, ความชื้น, วันเดือนปีที่ผลิต, วันเดือนปีที่หมดอายุ เป็นต้น

ธาตุอาหารพืชที่พืชหรือที่ยางพาราต้องการและจำเป็นต้องได้รับอย่างพอ เพียงมีอยู่ทั้งหมด 16 ธาตุ ได้แก่ ธาตุคาร์บอน, ออกซิเจน, ไฮโดรเจน, ไนโตเจน, ฟอสฟอรัส, โพแทสเซียม, แคลเซียม, แมกนีเซียม, กำมะถัน, เหล็ก, แมงกานีส, โบรอน, โมลิบดินัม, ทองแดง, สังกะสี และคลอรีน

ธาตุอาหารพืช 3 ธาตุแรกคือ ธาตุคาร์บอน, ออกซิเจน และ ไฮโดรเจน พืชหรือยางพาราได้รับจากธรรมชาติ พืชรับธาตุ คาร์บอน และออกซิเจน จากอากาศ โดยรับธาตุคาร์บอนเข้าทางปากใบ (Stomata) ในรูปกาซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) และได้รับออกซิเจนในรูปก๊าซออกซิเจน (O2) ทางปากใบและที่ผิวของราก และพืชได้รับไฮโดรเจนจากโมเลกุลของน้ำในรูปของไฮโดรเจนอะตอมจากขบวนการ สังเคราะห์แสงของพืชเอง เนื่องจากในสภาพธรรมชาติมีธาตุอาหารเหล่านี้อยู่อย่างเหลือเฟือ พืชจึงไม่ขาดธาตุเหล่านี้ เราจึงมักไม่มีการพูดถึงธาตุเหล่านี้กัน

ธาตุอาหารพืชอีก 3 ธาตุต่อมา คือ ธาตุไนโตเจน, ฟอสฟอรัส และ โพแทสเซียม เป็นธาตุอาหารที่สำคัญมาก และพืชต้องการเป็นปริมาณมาก ๆ จึงเรียกว่า ธาตุอาหารหลัก หรือ Macronutrient elements หรือ Primary elements ซึ่งหากเป็นดินที่ปลูกยางพารามาเป็นระยะเวลานาน ส่วนมากมักจะขาดธาตุเหล่านี้

ธาตุอาหารพืชอีก 3 ธาตุต่อมา คือ ธาตุแคลเซียม, แมกนีเซียม และ กำมะถัน เป็นธาตุอาหารที่พืชต้องการเป็นปริมาณมากเช่นกัน แต่ไม่มากเท่าธาตุอาหารหลัก และมักเป็นธาตุที่โดยปกติจะมีอยู่ในดินค่อนข้างมากเพียงพอกับความต้องการของ พืชทั่ว ๆ ไปอยู่แล้ว จึงไม่ค่อยมีปัญหามากนัก และถูกเรียกว่า ธาตุอาหารรอง หรือ Secondary elements

ธาตุอาหารพืชอีก 7 ธาตุสุดท้าย คือ ธาตุเหล็ก, แมงกานีส, โบรอน, โมลิบดินัม, ทองแดง, สังกะสี และคลอรีน เรียกว่า จุลธาตุ หรือธาตุอาหารเสริม หรือ Micronutrient elements หรือ Trace elements เพราะเป็นธาตุอาหารที่พืชต้องการเพียงปริมาณน้อย แต่ขาดไม่ได้เช่นกัน

ปุ๋ยเคมี มีธาตุอาหารหลักอยู่ 3 ธาตุด้วยกันคือ
ไนโตรเจน (N)
ฟอสฟอรัส (P) และ
โพแทสเซียม (K)
ซึ่งจะแสดงไว้ในสูตรปุ๋ยเป็นลำดับของตัวเลขสามชุด เช่น 16-16-8 หมายถึงปุ๋ยเคมีที่มี ไนโตรเจน 16% มีฟอสฟอรัส 16% และโพแทสเซียม 8% ตามลำดับ และธาตุอาหารหลักทั้ง 3 ธาตุ สามารถได้จากแม่ปุ๋ยดังต่อไปนี้

ยู เรีย (Urea) 46-0-0 แม่ปุ๋ยสำหรับธาตุไนโตรเจน
แดป (Di-Ammonium Phosphate - DAP) 18-46-0 แม่ปุ๋ยสำหรับธาตุฟอสฟอรัส
มอป (Muriate of Potash - MOP) 0-0-60 แม่ปุ๋ยสำหรับธาตุโพแทสเซียม

ธาตุไนโตรเจน

ธาตุไนโตรเจนต่อต้นยางพาราโดยธรรมชาติ ธาตุไนโตรเจนในดินจะมาจากการสลายตัวของสารอินทรียวัตถุโดยจุลินทรีย์จะเป็น ผู้ย่อยสลายและปลดปล่อยธาตุไนโตรเจนออกมาในรูปของอนุมูลสารประกอบ เช่น แอมโมเนียมไอออน (NH4+) และไนเทรตไอออน (No3-) แต่เนื่องจากในขณะนี้ดินมักมีอินทรีย์วัตถุเหลืออยู่น้อย จึงทำให้ไนโตรเจนในดินมีไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืชหรือต้นยางพารา เราจึงต้องใส่ปุ๋ยเคมีลงไปในดินเพื่อเพิ่มธาตุไนโตรเจนให้แก่ดินและพืชหรือ ต้นยางพารา นอกจากนี้ ในความเป็นจริง ธาตุไนโตรเจนมีอยู่อย่างมากมายในอากาศในรูปของก๊าซไนโตรเจน แต่พืชโดยทั่วไปไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้เลย ยกเว้น พืชตระกูลถั่ว รวมทั้งพืชคลุมดินตระกูลถั่วด้วย เท่านั้น ที่มีระบบรากพิเศษที่ทำให้สามารถเปลี่ยนรูปก๊าซไนโตรเจนจากอากาศมาเป็นธาตุ ไนโตรเจนที่ปมรากได้ ซึ่งเรียกขบวนการนี้ว่า “Nitrogen fixation”

ธาตุไนโตรเจน เป็นธาตุที่สำคัญมากในการส่งเสริมการเจริญเติบโตของต้นยางพาราในระยะก่อนให้ ผลผลิต และในระยะที่ต้นยางพาราให้ผลผลิตน้ำยางแล้ว ธาตุไนโตรเจนทำ ให้ผลผลิตน้ำยางเพิ่มมากขึ้น ธาตุไนโตรเจนจึงเป็นธาตุอาหารที่ต้นยางพาราต้องการตลอดชีวิต ปุ๋ยที่เหมาะสำหรับยางพาราจึงมักเป็นปุ๋ยที่มีธาตุไนโตรเจนสูง เช่น 20-8-20, 25-7-7 หรือ 29-5-18 เป็นต้น
ธาตุฟอสฟอรัส

แหล่งที่มาของธาตุฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ในดินมาจากการสลายตัวผุพังของ หินแร่ในดิน การสลายตัวของสารอินทรียวัตถุในดินก็สามารถปลดปล่อยฟอสฟอรัสออกมาเป็น ประโยชน์ต่อพืชที่ปลูกได้เช่นกัน ธาตุฟอสฟอรัสในดินที่จะเป็นประโยชน์ต่อพืชได้จะต้องอยู่ในรูปของอนุมูลสาร ประกอบที่เรียกว่า ฟอสเฟตไอออน (H2PO4- และ HPO4-) ซึ่งจะต้องละลายอยู่ในน้ำในดิน

ในความเป็นจริง ธาตุฟอสฟอรัสในดินมักมีอยู่เป็นจำนวนมาก แต่มักละลายน้ำได้ยาก ดังนั้น จึงไม่อาจเป็นประโยชน์กับพืชหรือต้นยางพาราได้ นอกจากนี้ อนุมูลฟอสเฟตที่ละลายน้ำได้ มักจะทำปฏิกิริยากับแร่ธาตุต่าง ๆ ในดิน ดังนั้น เมื่อเราใส่ปุ๋ยฟอสเฟตที่ละลายน้ำได้ลงไปในดิน ประมาณร้อยละ 90 จะทำปฏิกิริยากับแร่ธาตุในดินกลายเป็นสารประกอบที่ละลายน้ำยาก จนไม่อาจเป็นประโยชน์ต่อพืชได้ ดังนั้นการใส่ปุ๋ยฟอสเฟต จึงไม่ควรคลุกเคล้ากับดิน เพราะจะทำให้ปุ๋ยฟอสเฟตทำปฏิกิริยากับแร่ธาตุต่างๆ ในดินได้เร็วขึ้น จึงควรจะใส่ปุ๋ยฟอสเฟตแบบเป็นจุดหรือโรยเป็นแถบให้ถึงระดับบริเวณที่มีราก ของยางพาราอยู่ ปุ๋ยฟอสเฟตถึงแม้จะอยู่ใกล้ชิดหรือติดอยู่กับรากของยางพารา ก็จะไม่เป็นอันตรายแต่อย่างใด ดังนั้น ในการปลูกยางพารา เราจึงควรรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยหินฟอสเฟต(0-3-0)ก่อน

ธาตุฟอสฟอรัส จะทำให้ระบบรากของพืชและต้นยางพาราในระยะแรก ๆ แข็งแรงแพร่กระจายไปในดินอย่างกว้างขวาง ซึ่งก็จะทำให้สามารถดูดน้ำและธาตุอาหารพืชได้ดี สำหรับพืชอื่น ธาตุฟอสฟอรัส จะช่วยในการออกดอกและติดผลดีขึ้น เร็วขึ้น
ธาตุโพแทสเซียม

ธาตุโพแทสแซียมต่อต้นยางพาราธาตุโพแทสเซียมในดินมาจากการสลายตัวของหินและแร่หลายชนิด โพแทสเซียมที่อยู่ในรูปอนุมูลบวก หรือโพแทสเซียมไอออน (K+) เท่านั้นที่พืชจะดึงดูดไปใช้เป็นประโยชน์ได้ อนุมูลโพแทสเซียมในดินมักพบอยู่รอบ ๆ ผิวของอนุภาคดินเหนียว ดังนั้นดินที่มีเนื้อดินละเอียด เช่น ดินเหนียว จึงมีปริมาณของธาตุโพแทสเซียมสูงกว่าดินที่มีเนื้อหยาบ เช่น ดินทราย หรือดินร่วนปนทราย ถึงแม้โพแทสเซียมไอออนจะดูดยึดอยู่ที่อนุภาคดินเหนียว แต่รากพืชหรือยางพาราก็สามารถดึงดูดธาตุนี้ไปใช้ประโยชน์ได้ง่าย ๆ พอ ๆ กับเมื่อมันละลายอยู่ในน้ำในดิน

ธาตุโพแทสเซียมมีความสำคัญในการสร้างและการเคลื่อนย้ายอาหารพวกแป้งและ น้ำตาลไปเลี้ยงส่วนที่กำลังเติบโต และส่งไปเก็บไว้เป็นเสบียงที่หัวของพืชหรือที่ลำต้น สำหรับต้นยางพาราในระยะเปิดกรีดหรือระยะให้ผลผลิต ธาตุโพแทสเซียมทำ ให้ผลผลิตน้ำยางเพิ่มมากขึ้น ปุ๋ยที่เหมาะสำหรับต้นยางพาราระยะนี้ คือปุ๋ยที่มีธาตุโพแทสเซียมสูงด้วย เช่น 15-7-18 หรือ 29-5-18 เป็นต้น



การใส่ ปุ๋ย
สูตรปุ๋ยยางพาราที่กรมวิชาการ เกษตรแนะนำให้ใช้อยู่ในปัจจุบันมี 6 สูตร แต่ละสูตรจะเหมาะสมกับเนื้อดินและ อายุของ
ต้นยางแตกต่างกัน ดังแสดงไว้ ในตารางที่ 3

ตารางที่ 3 แสดงสูตรปุ๋ยที่ มีความเหมาะสมกับเนื้อดินและอายุของต้นยาง


- ดินทราย คือดิน ที่มีเนื้อดินส่วนใหญ่เป็นดินทราย อุ้มน้ำไม่ดี ถูกชะล้างได้ง่ายตรึงธาตุอาหาร ได้น้อย
มีโปแตสเซียมต่ำ
- ดินร่วน คือดินที่มีเนื้อดินละเอียดพอสมควร อุ้มน้ำ ได้ดี มีการระเหยน้ำและถ่ายเทอากาศพอเหมาะ
ตรึงธาตุอาหารได้มากพอสมควร มีโปแตสเซียมตั้งแต่ปานกลางถึงค่อนข้างต่ำ
- ปุ๋ยเม็ด คือปุ๋ยที่ได้จากการนำวัตถุดิบให้กำเนิดปุ๋ยไป ผ่านกรรมวิธีการผลิตทางเคมีตามขั้นตอนต่างๆ
ปุ๋ยที่ได้จะเป็นเนื้อเดียว กัน ปุ๋ยแต่ละเม็ดจะมีองค์ประกอบของธาตุเหมือนๆ กัน เช่นปุ๋ยสูตร 15-7-18, 15-15-15 จัดเป็นปุ๋ยเคมีตามพ ระราชบัญญัติปุ๋ย เป็นปุ๋ยที่มีขายทั่วไปตามท้องตลาดและมีผู้ นิยมใช้มากที่สุด
- ปุ๋ยผสม คือ ปุ๋ยที่ได้จากการนำแม่ปุ๋ยหรือปุ๋ยเชิง เดี่ยวมาผสมด้วยวิธีกลโดยไม่ผ่านกรรมวิธีทาง เคมี เช่น
นำเอาปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต ปุ๋ยร้อคฟอสเฟตและปุ๋ยโปแตสเซียมคลอไรด์มา ผสมคลุกเคล้ากันในอัตราส่วนต่างๆ เพื่อให้ได้ปริมาณธาตุอาหารตามต้องการ แล้วนำไป ใช้ทันที เป็นต้น

ปุ๋ยผสมสำหรับสวนยางจะใช้ แม่ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟตร้อคฟอสเฟตและโปแตสเซียม คลอไรค์ผสมกันในอัตราส่วน
ที่แตกต่างกันไปตามสูตร ปุ๋ยทั้ง 6 สูตร ดังแสดงไว้ในตารางที่ 4


หมายเหตุ - ควรผสมปุ๋ยบนพื้นซีเมนต์ โดยคลุกเคล้าแม่ปุ๋ยที่ ใช้ผสมให้สม่ำเสมอเป็นเนื้อเดียวกัน เมื่อผสมแล้วควรใช้ทันที ปุ๋ยจะไม่แข็งตัว และ ควรผสมให้ใช้หมดภายในครั้งเดียว



การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ หรืออินทรีย์ชีวภาพ ถ้าใช้ได้ก็จะดีมาก ๆ แต่ขอให้เข้าใจว่าปุ๋ยประเภทนี้ ไม่สามารถใช้แทนปุ๋ยเคมีได้ 100 % เนื่องเพราะว่ามาตรฐานปริมาณธาตุอาหารที่มีอยู่ในปุ๋ยขั้นต่ำที่กำหนดไว้ โดยกรมวิชาการเกษตรคือ 1-0.5-0.5 เท่านั้นเอง แต่จุดเด่นของปุ๋ยอินทรีย์ หรืออินทรีย์ชีวภาพคือจะเป็นตัวช่วยให้จุลินทรีย์ในดินทำงานดีขึ้น ส่งผลให้ดินมีสภาพดีขึ้นในทุก ๆ ด้าน แม้แต่ในเรื่องความต้านทานต่อโรคพืชด้วยเช่นกัน

การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพสำหรับยางพาราเพื่อ ใช้เอง http://www.live-rubber.com
/index.php/para-rubber-articles/48-para-rubber-fertilizer/110-producing-organic-fertilizer-for-rubber-plantation


สุดทางก้อที่นี่ http://osl101.ldd.go.th/thaisoils_museum/INDEX.HTM

แถมด้วย 1.ปุ๋ยเร่งดอก เรียก ปุ๋ยไดแอมโมเนียมซัลเฟตสูตร 18-46-0
2.ปุ๋ยที่มีธาตุฟอสฟอรัสสูง เช่น 1:2:1 จะเร่งการเจริญเติบโตของราก และการออกดอก ทำให้ต้นแข็งแรง ทนทานโรค
และแมลง ถ้าขาดจะมีสีม่วงที่ใบและต้น
3.ปุ๋ยที่มีธาตุโพแทสเซียมสูง เช่น 1:3:5 หรือ 5:7:9 เหมาะกับกล้วยไม้ระยะออกดอก ช่วยให้ดอกมีคุณภาพดี สีสดใส
และบานทน

หรือจะอุดหนุนลุงจำลองเพื่อ เอเอสทีวีกัน http://www.astv-tv.com/news1/kwuandin/recipe.php?file=caoutchouc

วิธีการเพิ่มผลผลิตยางพารา

เพิ่มผลผลิตน้ำยางให้เป็น 2.5-4 เท่าต่อเดือนด้วยแก๊สเอทธิลีนนับ เป็นเวลาที่เนิ่นนาน ที่มนุษย์พยายามค้นหาวิธีในการที่จะเพิ่มผลผลิตน้ำยางพาราให้ได้มากกว่าที่ เป็นอยู่ ในที่สุดก็พบว่าในทุกครั้งที่มีการกรีดยางหรือทำให้เปลือกยางได้รับบาดแผลจน น้ำยางไหลออกมา ต้นยางก็จะสร้างฮอร์โมนพืชที่มีชื่อว่า “เอทธิลีน” ขึ้นในบริเวณเปลือกยางโดยเอทธิลีนจะมีผลต่อการไหลของน้ำยาง ในปัจจุบันจึงมีการผลิตแก๊สเอทธิลีน ซึ่งถือเป็นสารเคมีที่มีคุณสมบัติเหมือนฮอร์โมนพืช มาเป็นตัวการเร่งหรือกระตุ้นให้ได้น้ำยางมากขึ้นกว่าเดิม 3-10 เท่าต่อวัน หรือ 2.5-4 เท่าต่อเดือน

หากจะย้อนเวลาเพื่อดูความพยายามของผู้คนในการจะเพิ่มผลผลิตน้ำยาง ก็พอจะมีบันทึก ไว้บ้าง ดังนี้

* พ.ศ. 2455 Camerun พบว่าส่วนผสมของมูลโคและดินเหนียว ทาใต้รอยกรีด จะช่วยเร่งน้ำยางได้
* พ.ศ. 2494 Tixier พบว่าจุนสี หรือ CuSo4 ที่ฝังในรูที่เจาะไว้ที่โคนยาง 2 รู ทำให้ผลผลิตยางเพิ่มเป็นเวลา 3 เดือน และ G.W. Chapman พบว่า 2,4-D ผสมน้ำมันปาล์มทาใต้รอยกรีดที่ขูดเปลือก ทำให้ผลผลิตน้ำยางเพิ่มขึ้น ซึ่งต่อมาได้มีการปรับปรุงส่วนผสมใหม่ ได้เป็นสารเคมีเร่งน้ำยางสูตรใหม่ ภายใต้ชื่อ Stimulex และผลิตออกขายเป็นระยะเวลานาน
* พ.ศ. 2504 พบว่า เอทธิลีนออกไซด์ ทำให้น้ำยางไหลมากขึ้น
* พ.ศ. 2507 นักวิทยาศาสตร์ชาวรัสเซีย ได้ผลิตสารที่ให้เอทธิลีนขึ้นมา ชื่อว่า อีเทฟอน(Ethephon) ซึ่งสามารถเร่งน้ำยางได้
* พ.ศ. 2508 บริษัทยูเนียนคาร์ไบด์ ได้ผลิตสารอีเทฟอน เพื่อเชิงการค้าโดยใช้ชื่อว่า อีเทรล (Ethrel)
* พ.ศ. 2511 Bonner ได้ทดลองใช้พลาสติกหุ้มเหนือรอยกรีด โดยภายในบรรจุด้วยแก๊สเอทธิลีน พบว่า ทำให้มีผลผลิตน้ำยางเพิ่มขึ้นอย่างมาก จึงได้ข้อสรุปว่า สารที่เป็นฮอร์โมนและสามารถปลดปล่อยแก๊สเอทธิลีนได้ สามารถเร่งหรือเพิ่มผลผลิตน้ำยางได้

ผลิตภัณฑ์เร่งน้ำยาง
โดยวิธีธรรมชาติปลอดสารเคมี ต้นไม่โทรมไม่ก่อให้เกิดโรค

น้ำยาทาหน้ายาง
รับเบอร์แม็ก ปุ๋ยเร่งน้ำยาง
ตรานกอินทรีคู่ ปุ๋ยน้ำสำหรับยางพารา
ตรานกอินทรีคู่ สารปรับสภาพดิน
ไฮ-แมกก้า

ในปัจจุบันจึงมีสารเคมีเร่งน้ำยางที่มีคุณสมบัติเหมือนฮอร์โมนพืชอยู่ 2 ชนิด คือ ชนิดที่เป็นของเหลวที่มีชื่อว่า อีเทฟอน ซึ่งผลิตจำหน่ายในชื่อการค้า เช่น อีเทรล, อีเทค, โปรเทรล, ซีฟา และอีเทรลลาเท็กซ์ และชนิดเป็นแก๊ส คือ เอทธิลีน ซึ่งทั้ง 2 ชนิด ล้วนสลายตัวให้ เอทธิลีน แก่ต้นยางเหมือนกัน และถึงแม้จะสลายตัวให้ เอทธิลีนเหมือนกัน แต่พบว่า การใช้ อีเทฟอน จะทำให้ต้นยางเป็นโรคหน้าตายอย่างมากมาย เนื่องจากผู้ใช้มักไม่ใช่เจ้าของสวนยางเอง, ใช้ไม่ถูกต้องตามคำแนะนำและใช้ระบบกรีดไม่เหมาะสมกับการใช้สารเร่ง) ตรงกันข้ามกับการใช้แก๊สเอทธิลีนที่ไม่ส่งผลดังกล่าว(แต่ต้องใช้ตามอัตราที่ กำหนดเช่นกัน)

การอัดแก๊สเอทธิลีนแบบเลท-ไอ (LET-I)เทคโนโลยี หรือนวัตกรรมการอัดแก๊สหรือฮอร์โมนเอทธิลีนเข้าไปในเปลือกต้นยางพาราเพื่อ เพิ่มผลผลิตน้ำยางได้ก่อกำเนิดมาจาก ดร.สิวากุมาราน อดีตผู้อำนวยการโครงการวิจัยและพัฒนาของสถาบันวิจัยยางมาเลเซีย ผู้ซึ่งเล็งเห็นความสำคัญของการเพิ่มผลผลิตน้ำยาง โดยเฉพาะจากต้นยางพาราที่ปลูกมาแล้วไม่น้อยกว่า 15 ปี ซึ่งมีการกรีดยางไปแล้วทั้ง 2 หน้า และเปลือกงอกใหม่ยังบางหรือหนาไม่ถึง 1 ซม. หากกรีดซ้ำหน้าเดิมก็จะได้น้ำยางน้อย จึงได้คิดค้นเทคโนโลยีการใช้อุปกรณ์ณ์เพื่อให้สามารถอัดฮอร์โมนเอทธิลีน เข้าไปในเปลือกยางพาราได้ ซึ่งเรียกสิ่งนี้ว่า เทคโนโลยีริมโฟลว์ (กระเปาะพลาสติก)โดยทำการกรีดยางหน้าสูงด้วยรอยกรีดสั้นเพียง 4 นิ้ว ทำให้ได้ผลผลิตน้ำยางมากอย่างน่าอัศจรรย์ เทคโนโลยีนี้ได้เริ่มทดลองใช้ในประเทศมาเลเซียเมื่อ ประมาณ 12 ปีกว่ามาแล้ว และถูกนำมาเข้ามาทดลองใช้ในประเทศไทยโดยศูนย์วิจัยยางสุราษฎร์ธานี นับเป็นเวลา 8 ปี นอกจากนี้ ในปัจจุบันเราจะพบเห็นระบบอุปกรณ์การให้ฮอร์โมนแก่ต้นยางอีกแบบหนึ่ง (กระเปาะเหล็ก)หรือแบบเลท-ไอ (LET-I) ซึ่งเป็นการดัดแปลงระบบริมโฟลว์ของมาเลเซียจนกลายมาเป็นแบบของไทยโดยห้าง หุ้นส่วนจำกัดไอ ที รับเบอร์ (อ.เบตง จ.ยะลา)

ข้อมูลต้นฉบับจาก: http://www.live-rubber.com/index.php/rubber-news-events/27-from-rubber-plantation/227-innovation-increasing-rubber-yield

การตอบสนองของพันธุ์ยางต่อสารเคมีเร่งน้ำยาง
ยางแต่ละพันธุ์ตอบสนองต่อสารเคมีเร่งน้ำยางแตกต่าง กัน ดังนั้นผู้ใช้สารเคมีเร่งน้ำยาง ควรพิจารณาพันธุ์ยางประกอบด้วย เพื่อให้ได้ผลตอบแทนจากการใช้สารเคมีเร่งน้ำยางสูงสุด การตอบสนองของพันธุ์ยางต่างๆ เป็นดังนี้ พันธุ์ยาง BPM 1 ตอบสนองสารเคมีเร่งน้ำยางดี พันธุ์ยางสงขลา 36 PB 255 PB 260 PR 255 RRIC 110 RRIM 600 และ GT 1 ตอบสนองสารเคมีเร่งน้ำยางปานกลาง และพันธุ์ยาง BPM 24 PB 235 สถาบันวิจัยยาง 250 และสถาบันวิจัยยาง 251 ตอบสนองสารเคมีเร่งน้ำยางต่ำ
ผลกระทบที่มีต่อต้นยางจากการใช้สาร เคมีเร่งน้ำยาง
1. ปริมาณเนื้อยางแห้งลดลง การใช้สารเคมีเอทธิฟอนทำให้ปริมาณเนื้อยางแห้งลดลงร้อยละ 3-6 การลดลงมากหรือน้อยขึ้นกับชนิด
ของพันธุ์ยางและการใช้สารเคมีบ่อยครั้งมีผลให้ปริมาณเนื้อยางแห้งลดลงมาก ขึ้น
2. การใช้สารเคมีเร่งน้ำยางบ่อยครั้งร่วมกับการใช้ระบบกรีดถี่ เช่น กรีดทุกวัน กรีดสองวันเว้นวัน หรือกรีดสามวันเว้นวัน หน้ายางสูญเสีย
น้ำมากและคุณสมบัติในการทำงานของเซลต่างๆ ในท่อน้ำยางเปลี่ยนไป ทำให้อัตราการเกิดอาการเปลือกแห้งสูงขึ้น ดังนั้นจึงไม่ควรใช้สารเคมีเร่งน้ำยางกัน
ระบบกรีดถี่
3. การใช้สารเคมีเร่งน้ำยางความเข้มข้นสูงทาบ่อยครั้งทำให้เกิดอาการเปลือกแห้ง เพิ่มขึ้น พบว่าการใช้สารเคมีเร่งน้ำยาง 5 เปอร์เซ็นต์ ทาทุกเดือนและทาทุก 15 วัน หลังจากเปิดกรีดในระยะปีที่ 2 หน้ากรีดเกิดอาการเปลือกแห้งร้อยละ 20-22
ผลกระทบของการใช้แก๊สเอทธิลีนต่อเนื้อ ไม้
การวิเคราะห์สมบัติเชิงกลของไม้ยางแปรรูป จากต้นยางอายุ 14 ปี ที่ใช้ระบบกรีดแบบเจาะร่วมกับการใช้แก๊สเอทธิลีน เปรียบเทียบกับ
การกรีดปกติเป็นเวลา 7 ปี พบว่า สมบัติเชิงกลใกล้เคียงกัน และมีค่าไม่แตกต่างกับค่ามาตรฐานของไม้ยางพารา เช่นเดียวกับการวิเคราะห์สมบัติเชิงกล
ของไม้ยางแปรรูปจากต้นยางอายุ 20 ปี ที่ผ่านการกรีดปกติและการเจาะร่วมกับการใช้แก๊สเอทธิลีนเป็นเวลานาน 4 ปี มีสมบัติเชิงกลใกล้เคียงกัน
อย่างไรก็ตาม หากเจาะลึกจนถึงเนื้อไม้จะทำให้บริเวณที่ถูกเจาะเป็นแผลและมีสีคล้ำ หรือการเกิดเปลือกบวมก็ทำให้เกิดสีคล้ำบนเนื้อไม้
บริเวณดังกล่าวได้ ซึ่งเมื่อเนื้อไม้ใหม่ถูกสร้างขึ้นมาจะปิดทับส่วนที่คล้ำไว้ด้านใน ส่วนการกรีดหน้าสูงกรีดขึ้น หากกรีดบาดเนื้อไม้ก็ทำให้เนื้อไม้มีสีคล้ำ
เช่นเดียวกัน

นายสุขุม วงษ์เอก ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า การใช้แก๊สเร่งน้ำยางสามารถเพิ่มผลผลิตน้ำยางให้สูงขึ้นกว่าการกรีดปกติ ปัจจุบันดำเนินการหลายระบบอยู่ในหลักการเดียวกัน ต่างกันที่วิธีการและความเข้มข้นของแก๊ส ด้วยวิธีการให้แก๊สโดยตรงกับต้นยางบริเวณเปลือกใกล้รอยกรีดหรือรอยเจาะเพื่อ ให้แก๊สกระจายและซึมสู่เปลือกชั้นในเข้าสู่ท่อน้ำยาง ด้วยคุณสมบัติของแก๊สที่ทำให้น้ำยางไหลผ่านผนังเซลล์ได้ดีขึ้น ช่วยเพิ่มความดันภายในท่อน้ำยาง และชะลอการจับตัวของเม็ดยางในเนื้อยาง น้ำยางแข็งตัวช้า ทำให้ไหลได้นานกว่าปกติ แก๊สที่นำมาเร่งน้ำยางเป็นแก๊สเอทธิลีนความเข้มข้น 68-99% หลักการคือ การปล่อยแก๊สเอทธิลีนทำให้ซึมเข้าสู่เปลือกชั้นในของต้นยาง จากนั้นใช้เข็มเจาะที่ลำต้นหรือกรีดสั้น 3-5 วันต่อครั้ง สามารถเพิ่มผลผลิตสูงกว่าการกรีดปกติและช่วยลดปัญหาการขาดแคลนแรงงานกรีดยาง

อย่างไรก็ตาม การใช้เทคโนโลยีดังกล่าว มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ผลจากการทดลองของสถาบันวิจัยยางโดยใช้แก๊สหลายระบบพบว่า การใช้แก๊สให้ผลผลิตต่อครั้งกรีดสูงกว่าการกรีดปกติร้อยละ 76-118 แต่ผลผลิตต่อปีสูงกว่าเพียงร้อยละ 65-67 ขณะที่รายได้สุทธิสูงกว่าการกรีดปกติเพียงร้อยละ 25 เนื่องจากต้องเสียค่าใช้จ่ายที่เป็นค่าอุปกรณ์ และค่าแก๊สเพิ่งขึ้นเฉลี่ยประมาณ 90 บาทต่อต้นต่อปี ซึ่งรายได้สุทธินี้ใกล้เคียงกับการใช้สารเคมีเร่งน้ำยางชนิดทา (เอทธิฟอน ความเข้มข้น 2.5%) ซึ่งสามารถทำให้ผลผลิตน้ำยางเพิ่มขึ้นได้เช่นเดียวกัน และวิธีการใช้ไม่ยุ่งยากเท่ากับการใช้แก๊ส ขณะที่การใช้แก๊สต้องระวังไม่ให้แก๊สรั่วเพราะหากแก๊สรั่วจะทำให้ ประสิทธิภาพลดลงหรือไม่เพิ่มผลผลิต ต้องรอเก็บน้ำยางในวันรุ่งขึ้นอาจเกิดปัญหาการขโมยน้ำยางได้ นอกจากนี้การใช้แก๊สจะให้ผลผลิตสูงในช่วง 3 ปีแรก หลังจากนั้นผลผลิตจะลดลง และปริมาณเนื้อยางแห้งต่ำกว่าปกติ ต้นยางทรุดโทรม เนื้อไม้มีตำหนิหากเจาะลึกถึงเนื้อไม้ สถาบันวิจัยยางแนะนำว่าการใช้แก๊สเร่งน้ำยางควรใช้เฉพาะพื้นที่ที่มีความ ชื้นในดินสูงและปริมาณน้ำฝนเพียงพอ เช่น พื้นที่ภาคใต้ และ 3 จังหวัดภาคตะวันออก เช่น ระยอง จันทบุรี ตราด ไม่ควรใช้ในพื้นที่ปลูกยางในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ เพราะอาจทำให้ต้นยางทรุดโทรม และเกิดอาการเปลือกแห้งมากขึ้น นอกจานี้ การใช้แก๊สแนะนำให้ใช้กับต้นยางก่อนโค่น 3-5 ปี หรือที่มีอายุไม่น้อยกว่า 20 ปี หรือหน้ากรีดล่างที่เปลือกงอกใหม่เสียหาย ไม่สามารถเปิดกรีดได้ และควรใช้กับต้นยางที่สมบูรณ์ ปัจจุบันสถาบันวิจัยยางยังไม่มีข้อมูลยืนยันการใช้แก๊สเร่งน้ำยางกับต้นยาง ที่กรีดใหม่ เนื่องจากอยู่ในระหว่างการทดลองและเก็บข้อมูลเพื่อศึกษาผลกระทบในระยะยาว

ดังนั้น การใช้แก๊สเร่งน้ำยาง ผู้ใช้จึงควรศึกษาข้อมูลโดยละเอียดและพิจารณาอย่างรอบคอบ คำนึงถึงความคุ้มค่ากับการลงทุน เนื่องจากการใช้แก๊สเอทธิลีนอาจมีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของต้นยางและการ ให้ผลผลิตในระยะยาว เฉพาะอย่างยิ่งกับต้นยางที่เปิดกรีดใหม่ เกษตรกรและผู้สนใจสามารถขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร โทร.0-2579-1576 หรือศูนย์วิจัยยาง ศูนย์บริการวิชาการด้านพืชและปัจจัยการผลิต (สถานีทดลองยาง) และสำนักงานตลาดกลางยางพารา กรมวิชาการเกษตรตามจังหวัดต่างๆ ในวันและเวลาราชการ หรือดูข้อมูลวิชาการถามปัญหาทางหน้าเว็บบอร์ด และติดตามราคายางได้ที่ www.rubberthai.com Call center 1174

นักเรียนทุน JSTP ประจำปี 48 โชว์ “เครื่องกรีดยางพาราไฟฟ้า” ผลงานที่ใช้ได้จริง จากการสังเกตสิ่งรอบตัวมาสร้างเครื่องใช้ไม้สอย กรีดยางได้ 10 ไร่ต่อชั่วโมง ประหยัดทั้งเวลา แรงงาน และยืดอายุต้นยาง ด้วยเงินลงทุนเพียง 3,000 บาท เตรียมพัฒนาต่อให้ได้น้ำยางมากขึ้น

ครอบครัวที่เข้าใจและพร้อมสนับสนุนบุตรหลานของตน ให้พัฒนาตนเองและกล้าแสดงความสามารถออกมาเป็นที่ประจักษ์แก่สาธารณชน ย่อมถือได้ว่า เป็นครอบครัวที่เข้มแข็งและอบอุ่นที่สุดครอบครัวหนึ่ง เนื่องจากครอบครัวเปรียบได้กับเสาหลักที่ค้ำจุนร่างกายและจิตใจของสมาชิกผู้ อยู่อาศัยทุกคน โดยเฉพาะกับบุตรหลานของพวกเขาเอง ซึ่งเมื่อเสาหลักค้ำจุนมีความหนักแน่นมั่นคงแล้ว การต่อเติมบ้านก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกเลย

นายปรัชญกร เฉลิมพงศ์ หรือ “น้องหนึ่ง” นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ภาควิชาคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ผู้ได้รับทุนการศึกษาถึงระดับด็อกเตอร์จากโครงการพัฒนา อัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับเด็กและเยาวชน (JSTP) ของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ก็เป็นหนึ่งในผู้โชคดี เหล่านั้น ที่ได้อาศัยอยู่ในครอบครัวที่เข้มแข็งและอบอุ่นเสมอมา

ด้วยความรักความเข้าใจของคุณพ่อคุณแม่คือ นายโกวิท และนางกรกมล เฉลิมพงศ์ ทำให้น้องหนึ่งสามารถผลิตผลงานประดิษฐ์ที่สามารถนำมาใช้งานได้จริง และสอดคล้องกับความต้องการจำเป็นของท้องถิ่นที่น้องหนึ่งอาศัยอยู่คือ จ.สุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นแหล่งที่ผู้คนประกอบอาชีพทำสวนยางสร้างรายได้เป็นหลัก

น้องหนึ่ง เผยว่า ขณะที่เขายังศึกษาอยู่ชั้น ม.5 ร.ร.สุราษฎร์พิทยา ซึ่งคุณพ่อคุณแม่รับราชการครูอยู่นั้น เขา ได้สังเกตเห็นว่า ในการทำสวนยางจะมีกรรมวิธีการกรีดยาง เพื่อเอาน้ำยางที่ยุ่งยากพอสมควร หากไม่มีความความรู้ความชำนาญในการกรีดยางมากพอแล้ว ก็ต้องใช้เวลานาน ได้น้ำยางน้อย และทำให้ต้นยางมีอายุการให้น้ำยางสั้นลง

ด้วยเหตุนี้เอง น้องหนึ่งจึงคิดประดิษฐ์ “เครื่องกรีด ยางพาราไฟฟ้า” ขึ้นมา ภายใต้การดูแลของ ผศ.ดร.สุรินทร์ กิตติธรกุล จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. ซึ่งน้องหนึ่ง แจกแจงว่า เขาใช้เวลาในการคิดค้นประมาณ 1 ปี และลงแรงสร้างอีก 1 เดือนจึงแล้วเสร็จ ด้วยการลองผิดลองถูก และใช้เงินลงทุนไปประมาณ 3,000 บาท โดยได้จดสิทธิบัตรแล้วเมื่อ 2- 3 เดือนก่อนหน้านี้

ด้านกลไกการทำงาน น้องหนึ่งชี้แจงว่า เป็นกลไกที่ไม่ซับซ้อนนัก ประกอบด้วย ชุดมอเตอร์พร้อมแบตเตอรี่ขนาด 12 โวลต์ และใช้หลักการเคลื่อนที่ในแนวโน้มถ่วงเพื่อสร้างเครื่องกรีดน้ำยางไฟฟ้าขึ้น มา ไม่มีหลักการอะไรที่ซับซ้อนมาก โดยมันจะทำงานได้นานประมาณ 6 ชั่วโมงต่อแบตเตอรี่ 1 ก้อน

สำหรับผลการนำเครื่องกรีดน้ำยางพาราไฟฟ้าไปใช้งานจริง พบว่า สามารถกรีดน้ำยางจากต้นยางได้เฉลี่ย 700 ต้น/ชม. หรือประมาณ 10 ไร่/ชม. เปรียบเทียบกับใช้แรงงานคน ซึ่งกรีดได้เพียง 200-300 ต้น/ชม. ตาม ความชำนาญ ทำให้เมื่อนำไปทดลองใช้กับต้นยางของเพื่อนบ้านแล้วก็ได้ รับเสียงตอบรับอย่างดี

“เครื่องกรีดยางพาราไฟฟ้าสามารถเคลื่อนที่ตามแนวกรีดที่เราต้องการและกลับไป ยังจุดเริ่มต้นได้อย่างดีในเวลาต้นละ 5-7 วินาที จาก ปกติที่ใช้แรงงานคนกรีดต้นละ 5-10 นาที เมื่อเทียบกันแล้ว เครื่องกรีดยางพาราไฟฟ้าจึงทำงานได้รวดเร็วและประหยัดแรงงานกว่า” น้องหนึ่งกล่าวและว่า นอกจากนี้ ด้วยเครื่องมือดังกล่าว ยังเป็นการยืดอายุต้นยางไปในตัว เพราะกรีดยางอย่างรวดเร็ว กรีดหน้ายางได้สม่ำเสมอ ขจัดปัญหาด้านความชำนาญของผู้กรีดยางให้หมดไป และไม่ทำให้หน้ายางเสีย จึงได้น้ำยางมาก

ทั้งนี้ จุดเด่นอีกอย่างหนึ่งของเครื่องกรีดยางพาราไฟฟ้า คือ สามารถติดตั้งใช้กับต้นยางได้สะดวก ด้วยการตอกตะปู 2 ตัวไว้ที่ต้นยาง เว้นระยะห่างในแนวดิ่งประมาณ ¾ ฟุต เพื่อติดตั้งเครื่องกรีดน้ำยาง นอก จากนี้ น้องหนึ่งยังได้คิดวิธีกรีดยางให้สะดวกขึ้นไปอีก ด้วยการใส่เกลียวเหล็กที่มีความยาวเดียวกับระยะห่างของตะปูทั้ง 2 ตัว เพื่อให้การกรีดยางครั้งต่อไปจะไม่กรีดซ้ำรอยเดิมอีก อันจะทำให้ต้นยางมีอายุการให้น้ำยางสั้นลง

“เกลียวเหล็กจะเป็นตัวบอกตำแหน่งที่เราจะใช้กรีดยางในวันถัดไป ซึ่งเมื่อเรากรีดยางวันนี้เสร็จแล้ว วันต่อมา เราก็ปรับเกลียวให้ลงมา 1 รอบตามจุดเครื่องหมายที่อยู่ด้านบน เพื่อกรีดยางในตำแหน่งใหม่ โดยที่เกลียวเหล็กจะมีรอบเกลียวเท่ากับ 365 รอบเท่ากับจำนวนวันในหนึ่งปี” น้องหนึ่งอธิบาย

ด้านข้อจำกัด น้องหนึ่ง พบว่า มอเตอร์ยังมีกำลังไม่มากพอ จึงต้องกรีดหน้ายางก่อน เครื่องถึงทำงานได้ดี ในส่วนปริมาณน้ำยางจากการใช้เครื่องกรีดยางพาราไฟฟ้านั้น ยังไม่เคยทดลองวัดปริมาณดู แต่ต่อไปจะลองพัฒนาให้เครื่องสามารถพ่น สารเร่งน้ำยางไปพร้อมๆ กับกรีดยาง ทำให้ได้น้ำยางมากขึ้น ขณะที่เกิดแผลจากการกรีดยางสั้นลง ทั้งนี้ สาเหตุหนึ่งที่จะลองพัฒนาต่อไปเนื่องจากทราบว่า ในภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีการปลูกยางมากขึ้น และคิดว่ายังมีคนที่ชำนาญในการกรีดยางอยู่ไม่มาก เครื่องกรีดยางพาราไฟฟ้าน่าจะเข้าไปช่วยได้

จากนั้นเมื่อกล่าวถึง การนำผลงานไปจัดแสดง น้องหนึ่ง กล่าวว่า เคย นำผลงานไปจัดแสดงในงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์ช่วงเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาครั้ง หนึ่งแล้ว ปรากฏว่ามีผู้ให้ความสนใจและได้รับเสียงตอบรับดีมาก สำหรับ การจัดแสดงครั้งต่อไป น้องหนึ่งเผยว่า ขณะนี้ได้ส่งผลงานไปร่วม ประกวดในโครงการ “คนเก่งไทยแกร่ง” ของกลุ่มชิน คอร์ปอเรชั่น และสามารถผ่านรอบ 26 คนสุดท้ายมาได้

ด้านนายโกวิท และนางกรกมล คุณพ่อคุณแม่ของน้องหนึ่ง กล่าวถึงบุตรชายที่ได้รับทุนการศึกษาจากสวทช. ว่า เป็นลูกคนเดียว นิสัยเรียบร้อย ขี้อาย อยู่ติดบ้าน ไม่ชอบไปเที่ยว ชอบเรื่องเทคโนโลยีมาตั้งแต่เด็ก และสนใจเรียนต่อในด้านนี้อย่างมุ่งมั่น เวลาว่างจะใช้เวลาอยู่ในห้องเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์

“ที่ผ่านมา ครอบครัวให้การสนับสนุนในทุกด้านเท่าที่ทำได้ แต่ก็ไม่ทำให้กระทบกับงานสอน สำหรับฐานะของครอบครัวก็ถือว่ามีฐานะปานกลาง ไม่ร่ำรวยเพราะต่างก็รับราชการทั้งคู่” คุณแม่ของน้องหนึ่งกล่าว และว่า แต่ก่อนน้องหนึ่งเคยเป็นนักกีฬาว่ายน้ำของเขตและเล่นขิมด้วย

น้ำยางไม่ออก ยางหน้าตาย
วิธีแก้ปัญหาน้ำยางไม่ไหลใน ยางพาราที่ให้ผลผลิตแล้ว


น้ำยางไม่ ไหลหรือไหลกระปริดกระปรอยน้อยกว่าเดิมจากที่เคยผลิตได้ในแต่ละครั้ง เนื่องจากต้นยางพาราติดเชื้อโรคหรือที่เรียกกันว่ายางพาราเป็นโรคและโรคที่ ว่านี้เกิดจากการเข้าลายของเชื้อรา เบื้องต้นจะมีอาการใบจุดสีเหลืองมีจุดสีน้ำตาลอยู่กึ่งกลางและค่อยๆขยายวง กว้างออกไปเรื่อยๆเหมือนใบไหม้ นอกจากนี้ยังมีเพลี้ยแป้งเป็นพาหะในการแพร่กระจายของเชื้อราดังกล่าว

สำหรับ เกษตรกรที่พบเจออาการดังกล่าว อย่าเพิ่งตกใจให้ท่านใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 21 – 0 – 0 หรือปุ๋ยคอกที่มีไนโตรเจนสูง เช่น มูลไก่ มูลเพาะ มูลโค เป็นต้น ร่วมกับภูไมท์ซัลเฟตและซิลโคเทรซ ในอัตรา 250 กก. 100 กก. และ ตามลำดับ แต่หากเป็นมูลสัตว์ให้ใช้ประมาณ 2 เท่าของปุ๋ยเคมีคือ 500 กก.คลุกเคล้าให้เข้ากันแล้วหว่านรอบโคนต้นๆละ 1 กก. โดยแบ่งใส่ 2 ครั้ง ครั้งละ 2 กำมือช่วงต้นฝนและปลายฝน
คำแนะนำ : ถ้าต้องการให้ได้ประสิทธิภาพ 100 เปอร์เซ็นต์เต็มควรมีการตรวจเช็คสภาพดิน (pH ดิน) ซึ่งค่า pH ดินที่เหมาะสมควรอยู่ที่ประมาณ 5.8 – 6.3 ซึ่งเป็นค่าที่ธาตุอาหารพืชสามารถปลดปล่อยธาตุอาหารได้เหมาะสมครบถ้วนและให้ ประโยชน์แก่พืชได้มากที่สุด แต่ถ้าเกษตรท่านใดมีปัญหาเกี่ยวกับ pH ดิน เช่น

การกรีดยาง http://www.rakbankerd.com/agriculture/open.php?id=198&s=tblplant

การกรีดยาง

การกรีดยางต้องยึดหลักที่ว่า เมื่อกรีดแล้วจะต้องได้น้ำยางมากที่สุด เปลือกเสียหายน้อยที่สุด กรีดได้นาน 25-30 ปี และประหยัดค่าใช้จ่ายมากที่สุด

ขนาดของต้นยางที่เปิดกรีดได้
1. ขนาดของต้นยางที่พร้อมเปิดกรีดต้องมีเส้นรอบต้นไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร วัดที่ความสูงจากพื้นดิน 150 เซนติเมตร
2. เปิดกรีดครั้งแรกเมื่อมีจำนวนต้นยางที่พร้อมเปิดกรีดในสวนเกินกว่าครึ่ง หนึ่ง ของต้นยาง ทั้งหมดในสวน
3. ต้นยางติดตา สามารถเปิดกรีดครั้งแรกได้ที่ระดับความสูงจากพื้นดิน 50, 75, 100, 125, หรือ 150 เซนติเมตรระดับใดระดับหนึ่งก็ได้ แต่ถ้าเปิดกรีดต่ำจะได้รับผลผลิตมากกว่า



วิธีติดรางและ ถ้วยรับน้ำยาง

เวลาที่เหมาะสมในการกรีดยาง
ควรจะเริ่มกรีดยางตั้งแต่ตอนเช้า ประมาณ 06.00-08.00 น. เพราะจะทำให้ปฏิบัติงานได้สะดวก เนื่องจากมองเห็นชัดเจนกว่ากลางคืนและผลผลิตที่ได้ใกล้เคียงกับการ กรีดในตอนกลางคืน

ขนาดของ งานกรีดยาง
คนกรีดยาง 1 คน จะสามารถกรีดยางในสวนยางที่ปลูกในพื้นที่ราบ ตามระบบครึ่งลำต้นวันเว้นวัน
ได้ประมาณ 400-450 ต้นต่อวัน

วิธีการกรีดยาง
ควรกรีดยางโดยใช้วิธีกระตุกข้อมือหรือการซอย พร้อมกับย่อตัวและสลับเท้าไปตามรอยกรีด ของต้นยาง อย่ากรีดโดยวิธีใช้ท่อนแขนลากหรือกระชากเป็นอันขาด การกรีดโดยวิธีกระตุกข้อมือจะทำให้กรีดได้เร็ว ควบคุมการกรีดง่าย กรีดเปลือกได้บาง แม้จะกรีดบาดเนื้อไม้ก็จะบาดเป็นแผลเล็กๆเท่านั้น

ระบบการ กรีดยาง
เนื่องจากในระยะ 2-3 ปีแรกของการกรีด ต้นยางยังอยู่ในระยะการเจริญเติบโตค่อนข้างสูง การกรีดยาง มากเกินไปจะทำให้ต้นยางชะงักการเจริญเติบโต ดังนั้นจึงควรกรีดยางในระบบครึ่งต้นวันเว้นวัน โดยหยุดกรีดในช่วงผลัดใบและไม่มีการกรีดชดเชยเพื่อ ทดแทน วันที่ฝนตกจนกระทั่งปีที่ 4 ของการกรีดเป็นต้นไป จึงสามารถกรีดชดเชยได้ระบบกรีดครึ่งลำต้นวันเว้นวันนี้ใช้ได้กับยาง เกือบทุกพันธุ์ ยกเว้นบางพันธุ์ที่เป็นโรคเปลือกแห้งได้ง่ายเท่านั้นที่ควรใช้ระบบกรีดครึ่ง ลำต้น วันเว้นสองวัน

ข้อควร ปฏิบัติในการกรีดยาง
1. ควรกรีดยางตอนเช้าหลังจากที่มีแสงสว่างแล้ว
2. กรีดยางเฉพาะต้นที่ได้ขนาดแล้ว
3. รอยกรีดจะต้องเริ่มจากซ้ายบนมาขวาล่าง เอียงประมาณ 30 องศากับแนวระดับ
4. อย่ากรีดเปลือกหนา เพราะจะทำให้เปลือกงอกใหม่เสียหาย
5. อย่ากรีดเปลือกหนา ภายใน 1 เดือน ไม่ควรกรีดให้เปลืองเปลือกเกิน 2.5 เซนติเมตร หรือภายใน 1 ปี ไม่ควรกรีดให้เปลืองเปลือกเกิน 25 เซนติเมตร
6. หยุดกรีดเมื่อยางผลัดใบหรือเป็นโรคหน้ายาง
7. มีดกรีดยางต้องคมอยู่เสมอ
8. การเปิดกรีดยางหน้าที่สองและหน้าต่อไปให้เปิดกรีดที่ระดับความสูงจากพื้นดิน 150 เซนติเมตร

การกรีดยางหน้าสูง
การกรีดยางหน้าสูง หมายถึง การกรีดยางหน้าบนเหนือหน้ากรีด ปกติซึ่งเป็นส่วน ที่ไม่เคยกรีดยางมาก่อน ต้นยางที่เหมาะสมที่จะทำการกรีดยางหน้าสูงคือ ต้นยางก่อนโค่นซึ่งมีอายุมาก หรือหน้ากรีดปกติเสียหาย
โดยทั่วไปการกรีดยางหน้าสูงจะต้องใช้สารเคมีเร่งน้ำยาควบคู่กันไปด้วย เพื่อต้องการให้ได้รับยาง มากที่สุดก่อนที่จะโค่นยางเก่าเพื่อปลูกแทน 2-4 ปี โดยใช้สารเคมีเร่งน้ำยางอีเทรล 2.5 เปอร์เซ็นต์ เป็นตัวเร่ง
แล้วคุณจะรู้จักต้นยางมากขึ้นด้วย http://www.rubber.co.th/knowledge_1b.html

สุดท้ายก่อนจะไปนอนดูนี่น่ะ


ราตรีสวัสดิ

1 ความคิดเห็น:

  1. นอกจากปุ๋ยชนิดเม็ดแล้ว การใช้ปุ๋ยอินทรีย์น้ำที่มีกรดฮิวมิคเป็นส่วนผสม ทำการคลุกเคล้ากับปุ๋ยเคมีเม็ดก่อนนำไปหว่าน ก็สามารถเพิ่มผลผลิตยางพาราได้อย่างมาก เพิ่มเติมเชิญที่ ปุ๋ยยางพารา

    ตอบลบ

Manager Online - ภาคใต้

Manager Online - ภาคกลาง-ตะวันออก

Manager Online - ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Manager Online - ภาคเหนือ

คันฉ่องนกไฟ

ผู้ติดตาม

http://hi5.com/friend/displayLoggedinHome.do