วันเสาร์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

การตรวจวิเคราะห์ดิน

http://www.ku.ac.th/e-magazine/

http://www.kmitl.ac.th/soilkmitl/know/soilfer/fer.htm

http://www.ku.ac.th/e-magazine/april48/agri/flora.html

http://www.ocsb.go.th/udon/All%20text/1.Article/01-Article%20P8.7b.htm

ตัวนี้คงพอตอบได้ http://osd101.ldd.go.th/?p=128


ประเมินระดับความอุดมสมบูรณ์ของดิน ตามสภาพความเป็นจริงในขณะนั้น ใช้ประกอบการตัดสินใจในการใช้ปุ๋ยเคมี บำรุงดินหรือไม่อย่างไร นอกจากนี้ ยังบอกสภาวะว่ามีปุ๋ยเคมีหรือธาตุอาหารพืชตัวใดบ้างที่ตกค้างอยู่ในดิน ซึ่งเป็นผลจากการปฏิบัติจากฤดูกาลที่ผ่านมา
ประโยชน์ 1.ใช้วิเคราะห์ปริมาณธาตุอาหารพืชในดิน
2. บอกสภาวะความอุดมสมบูรณ์ของดินในสภาพจริง
3. ใช้วิเคราะห์ดินเพื่อประกอบกับข้อมูลอื่นๆ


จะทำการตรวจวิเคราะห์ได้อย่างไร.....วัตถุประสงค์เพื่อการใช้ปุ๋ยได้อย่างเหมาะสมและประหยัดเงิน สามารถทำไ้ด้ด้วยตัวเองหรือไม่

คำตอบจาก ศ.ดร.ทัศนีย์ อัตตะนันทน์ ศาสตราจารย์ประจำภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครูผู้ถ่ายทอดความรู้ด้านปุ๋ยแก่เกษตรกรมาตลอดเกือบ 10 ปี ก็คือ "ปุ๋ยสั่งตัด" หรือการใช้ปุ๋ยเฉพาะที่เฉพาะทางตามค่าวิเคราะห์ดิน เจาะจงความเหมาะสมเฉพาะแปลงของเกษตรกรแต่ละราย

"ปุ๋ยเคมีทั่วไป เปรียบเทียบได้กับเสื้อผ้าที่ขายในท้องตลาด ที่เรียกกันว่าเสื้อโหล ซึ่งอาจจะไม่พอดีกับเรา ต่างกับเสื้อสั่งตัดที่เป็นขนาดของเราโดยเฉพาะ ปัจจุบันเกษตรกรยังใช้ปุ๋ยแบบเสื้อโหล นั่นหมายความว่า คำแนะนำการใช้ปุ๋ยเฉพาะข้าวหรือข้าวโพดจะใช้ทั้งสูตรปุ๋ยและปริมาณปุ๋ย เหมือนกันหมดทุกดินในประเทศไทย แต่ดินในประเทศไทยมีอยู่มากกว่า 200 ชนิด แล้วจะให้เหมือนกันทั้งหมดได้อย่างไร"

ดังนั้น เกษตรกรจึงจำเป็นต้องมีตัวช่วย ดร.ทัศนีย์ รวมทีมวิจัยนำแบบจำลองการปลูกพืชมาพัฒนาคำแนะนำปุ๋ยโดยนำปัจจัยต่างๆ ซึ่งประกอบด้วย ดิน พืช และภูมิอากาศ มาร่วมคำนวณหาข้อมูลที่แม่นยำ เพื่อให้ได้คำแนะนำปุ๋ยที่มีประสิทธิภาพจากโปรแกรม จากนั้นนำมาทดสอบในแปลงทดสอบและแปลงสาธิตโดยเกษตรกร และได้เปรียบเทียบผลผลิตที่คาดคะเนจากโปรแกรมกับผลผลิตที่ได้จริงในภาคสนาม พบว่ามีค่าใกล้เคียงกันมาก จากจุดเริ่มตั้งแต่ปี 2540 ได้พัฒนาเป็นคำแนะนำ "ปุ๋ยสั่งตัด" สำหรับข้าวโพดที่เรียกว่า SimCorn ในปี 2544 และสำเร็จเป็นคำแนะนำปุ๋ยสั่งตัดสำหรับข้าวเรียกว่า SimRice ในปี 2549 โดยได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (ส.ก.ว.)

ผล จากการวิจัยดังกล่าว กรมส่งเสริมการเกษตร กรมการข้าว กรมพัฒนาที่ดิน ธ.ก.ส. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมูลนิธิพลังนิเวศและชุมชน ได้นำคำแนะนำ "ปุ๋ยสั่งตัด" ไปขยายผลกับข้าวนาชลประทาน 8 จังหวัดภาคกลาง ในปี 2550 ปรากฏว่าได้ผลดีมาก พบว่า ถ้าใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินแล้วค่าปุ๋ยเคมีต่อไร่ต่อฤดูปลูกลดลงร้อยละ 47 ขณะที่ผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7 ในปี 2551 สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) กำลังนำไปขยายผลกับนาข้าว 1 ล้านไร่ในภาคกลาง และอีสานอีก 2,000 ไร่

"ปุ๋ย สั่งตัด" เป็นคำแนะนำปุ๋ยที่แตกต่างกันในดินแต่ละชนิด ในกรณีที่เป็นดินชนิดเดียวกัน แต่อยู่ต่างพื้นที่ วิเคราะห์ดินแล้ว มี เอ็นพีเค เท่ากัน แต่น้ำฝนไม่เท่า อากาศไม่เท่า แสงแดดไม่เท่า ก็จะมีคำแนะนำที่ต่างกัน ดังนั้น คำแนะนำ "ปุ๋ยสั่งตัด" จึงเป็นคำแนะนำปุ๋ยที่ละเอียดอ่อนมากและมีประสิทธิภาพ เพื่อให้เหมือนกับเราใส่เสื้อผ้าที่พอดี แต่เกษตรกรยังต้องมีการปรับใช้ในพื้นที่ของตนเองเพิ่มเติม จะได้เป็นข้อมูลเฉพาะดินของตนเอง ซึ่งไม่เหมือนใคร แม้กระทั่งแปลงใกล้เคียง เพราะลักษณะดินและการจัดการดินมีส่วนทำให้ธาตุอาหารในดินแตกต่างกัน"

แต่ เมื่อเอ่ยถึง "การวิเคราะห์ดิน" แล้ว สิ่งที่ต้องผุดอยู่ในความคิดของเกษตรกรทันทีก็คือ "เป็นเรื่องที่ยุ่งยาก!!"

"การ ตรวจดินเป็นเรื่องที่เกษตรกรทำได้ ไม่ยุ่งยากเลย เพราะขั้นตอนที่สลับซับซ้อน เราทำให้มันง่ายแล้ว เพียงแค่เกษตรกรต้องเก็บดินในวิธีการที่ถูกต้อง เปลี่ยนพฤติกรรมจากปกติที่ซื้อปุ๋ยมาโยนๆ มาลองเก็บดินให้ถูกวิธี และมาดูว่าเป็นดินชุดใด และวิเคราะห์ด้วยเครื่องมือว่ามีธาตุอาหารอะไรอยู่ในดินบ้าง จากนั้นก็นำค่าที่ได้มาเทียบเคียงกับตารางคำแนะนำการใช้ "ปุ๋ยสั่งตัด" แต่ต้องเป็นปัจจุบันที่สุด ไม่ใช่นำผลวิเคราะห์ดินเมื่อ 30 ปีที่แล้ว เก็บใส่ลิ้นชัก เมื่อถึงเวลาแล้วเก็บขึ้นมาใช้ เพราะดินมันเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ก็เหมือนกับคนเรามีอ้วนมีผอม เสื้อผ้าชุดเดิมก็อาจใส่ไม่ได้แล้ว มีเกษตรกรบางรายใช้ปุ๋ยสูตร 16-20-0 มานานมาก ซึ่งหมายความว่าไม่มีธาตุอาหารตัวท้าย แต่ปรากฏว่าเมื่อนำดินไปวิเคราะห์ปุ๊บ ดินในแปลงดังกล่าวขาดตัว K ดังนั้น แม้จะใส่ปุ๋ยสูตร 16-20-0 ไปมากแค่ไหน ดินก็ไม่เคยได้รับธาตุอาหารที่ขาด การใช้ปุ๋ยต้องมีความสมดุลตามปริมาณธาตุอาหารที่มีอยู่ในดิน จึงต้องมีการตรวจวิเคราะห์ดิน ซึ่งขั้นตอนการวิเคราะห์ดินง่ายมาก แต่เกษตรกรที่ยังไม่เคยลงมือมักจะมองว่าเป็นเรื่องยาก"

วิธีการตรวจ สอบชุดดินสามารถปฏิบัติตามคู่มือตรวจสอบชุดดินที่ทีมงานได้พัฒนาขึ้น หรือสามารถสอบถามได้ที่ สถานีพัฒนาที่ดินทุกจังหวัด ส่วนการวิเคราะห์ธาตุอาหารในดิน ก็สามารถวิเคราะห์เองได้ภายใน 30 นาทีด้วย "ชุดตรวจสอบ N P K ในดิน" ปัจจุบันราคาประมาณ 3,745 บาท สามารถวิเคราะห์ดินได้ 50 ตัวอย่าง หากเทียบกับการส่งดินตัวอย่างมาตรวจสอบในห้องแล็บซึ่งมีรายจ่ายราว 400 บาท ต่อ 1 ตัวอย่าง และใช้เวลามากกว่า 3 สัปดาห์ จึงจะรู้ผล นับว่าการตรวจสอบเองที่คุ้มค่าและคุ้มเวลากว่ามาก

การลงทุนจุดนี้ หากเกษตรกรสามารถรวมกลุ่มใช้ชุดตรวจสอบร่วมกัน หรือทางผู้นำชุมชน อบต. อบจ. หรือศูนย์ชุมชนที่มีอยู่ทั่วประเทศ เห็นความสำคัญและให้การสนับสนุนก็นับว่าเหมาะสมอย่างยิ่ง

เมื่อได้ ค่าวิเคราะห์ดินเสร็จแล้ว เกษตรกรก็สามารถนำมาเทียบเคียงกับคู่มือแนะนำการใช้ปุ๋ย หรือในท้ายเล่มหนังสือธรรมชาติของดินและปุ๋ย หรือคำนวณเองง่ายๆ ผ่านโปรแกรมสำเร็จรูปที่สามารถดาวน์โหลดมาใช้ได้จากเว็บไซต์ www.ssnm.agr.ku.ac.th

และเร็วๆ นี้ เกษตรกรยังสามารถรับคำแนะนำการใช้ปุ๋ยผ่านมือถือได้ง่ายๆ โดยระบบ SMS ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และศูนย์อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค)

มาถึงบรรทัดนี้มีคำถามตั้งขึ้นต่อว่า แล้วจะนำปุ๋ยตามคำแนะนำมาจากที่ใด ???

คำตอบก็คือ การใช้แม่ปุ๋ย N P K เป็นหลัก นำมาผสมตามสัดส่วนตามคำแนะนำนั่นเอง

"อาจจะไม่ง่าย เหมือนการซื้อปุ๋ยสูตร แต่การใช้แม่ปุ๋ยจะช่วยลดปัญหาปุ๋ยปลอมระบาดได้ส่วนหนึ่ง เพราะปัญหาทุกวันนี้คือเกษตรกรใส่ปุ๋ยเท่ากับใส่ดิน แต่ปัจจุบันพบปัญหาอีกว่าแม่ปุ๋ยก็หาได้ยาก จังหวะเหมาะที่ได้รับความร่วมมือจากภาคเอกชนรายหนึ่งที่สนับสนุนให้เกษตรกร รวมกลุ่มสั่งซื้อแม่ปุ๋ยนำเข้าผ่านบริษัทเพื่อให้ได้แม่ปุ๋ยในราคาที่ ถูกกว่าได้ ที่ต่างประเทศไม่ได้ขาดแคลนเลย ส่วนปุ๋ยสูตรที่นิยมใช้นั้นหน้าตาก็เหมือนกันไปหมด เราไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าจริงหรือปลอม จนกว่าจะมาวิเคราะห์ทางเคมี ปรากฏว่ามีคนไปเจอสูตร 15-15-15 ผลคือ มีแค่ 11-1-1 นี่เป็นต้นเหตุของเรื่องที่เกษตรกรแปลกใจว่าทำไมใส่ปุ๋ยไปแล้วมันเขียวแค่ แป๊บเดียว นั่นก็เพราะธาตุอาหารมีแค่นิดเดียวเท่านั้น" ดร.ทัศนีย์กล่าวเสริม

จากผลการใช้งานจริงของเกษตรกรตัวอย่างเคยใช้ ปุ๋ยรวม 72 กิโลกรัม ต่อไร่ เมื่อวิเคราะห์ดินแล้วเหลือ 25 กิโลกรัม ขณะที่ผลผลิตไม่ต่างกันมาก บางรายลดการใช้ปุ๋ยเหลือ 1 ใน 3 เฉลี่ยแล้วพบว่า เกษตรกรสามารถลดการใช้ปุ๋ย 38-49% นอกจากนี้ ยังส่งผลไปถึงการลดใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและสิ่งแวดล้อมด้วย

"ที่ ผ่านมา เกษตรกรเข้าใจว่าใส่ปุ๋ยมากจะทำให้ผลผลิตมาก แต่ในความเป็นจริงแล้วสิ่งที่ชอบคือแมลง เพราะไนโตรเจนทำให้พืชอวบ เต่งตึง แมลงก็มากิน เกษตรกรจึงต้องฉีดยาฆ่าแมลง บางคนเห็นแมลงอะไรก็ฉีดแล้ว แต่จริงๆ แล้ว มันมีทั้งแมลงตำรวจ แล้วก็แมลงผู้ร้าย เกษตรกรก็ฉีดหมด กันไว้ก่อน ในที่สุดผลร้ายก็ตามมา เขาก็เลยโทษกันว่าสารเคมีมาจากปุ๋ยเคมีที่เป็นอันตราย อันที่จริงแล้วมาจากยาฆ่าแมลงเหล่านี้นี่เอง"

แต่การใช้ "ปุ๋ยสั่งตัด" นี้ มีเงื่อนไขสิ่งหนึ่งคือ เกษตรกรต้องไม่เผาฟาง ศ.ดร.ทัศนีย์บอกว่า หากเผาฝางทิ้งก็เท่ากับการเผาเงินทิ้งเช่นกัน เพราะฟางข้าวเหล่านั้นก็คือปุ๋ยอินทรีย์ชั้นดีที่ไม่ต้องซื้อหา ช่วยปรับปรุงโครงสร้างดินให้โปร่งขึ้น ลดปัญหาดินแน่นทึบได้ดีและเพิ่มธาตุโพแทสเซียม

"ตอนนี้ปุ๋ยแพง เกษตรกรจะมาโยนเล่นไม่ได้ แต่ต้องใช้อย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ ดังนั้น ไม่ว่าปุ๋ยจะแพงอย่างไร ถ้าเราจัดการได้ดีและมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็คุ้ม ส่วนการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ราคาตันละ 7,000-12,000 บาท (ราคาต่อหนึ่งหน่วยธาตุอาหาร เท่ากับ 175-300 บาท) เกษตรกรอาจจะมองเห็นว่ามันถูกเมื่อเทียบราคาต่อตันกับปุ๋ยยูเรีย ซึ่งมีราคาสูงถึงตันละ 28,000 บาท (ราคาต่อหนึ่งหน่วยธาตุอาหาร เท่ากับ 61 บาท) เนื่องจากปุ๋ยอินทรีย์มีธาตุอาหารต่ำกว่าปุ๋ยเคมีมาก จึงมีราคาต่อหน่วยธาตุอาหารสูงกว่าปุ๋ยเคมี หากนำมาใช้ตามความต้องการของพืช เท่ากับว่าเกษตรกรต้องใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในปริมาณที่สูงกว่า ซึ่งหมายถึงรายจ่ายที่สูงขึ้น ยกตัวอย่าง การใช้ปุ๋ยยูเรียกับปุ๋ยอินทรีย์ พบว่า ต้องใช้ปุ๋ยอินทรีย์มากกว่า คิดเป็นสัดส่วน 17 ต่อ 400 ปุ๋ยอินทรีย์แทนปุ๋ยเคมีไม่ได้ แต่ต้องใช้ด้วยกัน เพราะหน้าที่ปุ๋ยอินทรีย์ก็คือปรับปรุงสภาพกายภาพ แต่บังเอิญว่าในปุ๋ยอินทรีย์นั้นมีธาตุอาหารอยู่บ้างเล็กน้อย แต่ปุ๋ยเคมีนั้นมีหน้าที่ให้ธาตุอาหารโดยตรง จึงเป็นคำตอบที่ว่า เราไม่สามารถเอาของที่ไม่เหมือนกันมาเทียบมาแทนกันได้ แต่สามารถใช้ร่วมกันได้"

ศ.ดร.ทัศนีย์ ยอมรับว่ารู้สึกหนักใจกับกระแสการผลิตปุ๋ยอินทรีย์เพื่อจำหน่ายที่เริ่มผิด เพี้ยนไป เพราะการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่ถูกต้องคือเป็นการนำเอาวัตถุทางธรรมชาติ เช่น เศษพืช ซากสัตว์ มูลสัตว์ต่างๆ ที่มีอยู่มาไถกลบลงไปในดิน โดยไม่จำเป็นต้องผ่านกระบวนการแปรรูปให้ต้นทุนเพิ่มสูงขึ้น และพยายามปลูกพืชตระกูลถั่วสลับกับพืชหลักที่ปลูกอยู่ แต่สิ่งที่หนักใจยิ่งกว่าก็คือ ยังมีเกษตรกรค่อนประเทศที่มองข้ามความสำคัญของดินที่เหยียบย่ำ ใช้ประโยชน์จากมันอย่างละเลย

"ตอนนี้ดินประเทศไทยเสื่อมโทรมมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่อีสาน เมื่อไปวิเคราะห์ดินแล้วอยู่ในระดับต่ำเกือบทั้งหมด ไม่มีธาตุอาหารใดๆ เหมือนทราย ภาคกลางเองก็เยอะ ทางเหนือก็เสื่อม ขณะที่เกษตรกรก็ไม่รู้ ประชากรก็เกิดทุกวัน แต่เราไม่สามารถไปบุกป่าสร้างพื้นที่ใหม่ได้อีกแล้ว เราต้องใช้พื้นที่เดิม แต่ถ้าเราไม่ดูแลเรื่องดินเสื่อมโทรม ผลผลิตก็จะค่อยๆ ลดลงจนถึงจุดที่แย่ถึงที่สุด แล้ววันนั้นกว่าเราจะสามารถฟื้นฟูได้ต้องใช้เวลาอีกเป็นสิบปี เกษตรกรไม่เพียงใช้ปุ๋ยเป็นอย่างเดียว แต่ต้องใส่ใจกับดิน หมั่นตรวจดิน ผู้ที่เกี่ยวข้องต้องร่วมมือกันให้ความรู้กับเกษตรกร"

ความพยายามใน การถ่ายทอดความรู้เรื่องดินและการใช้ปุ๋ยของ ดร.ทัศนีย์และทีมงาน เนิ่นนานมาร่วม 10 ปีแล้ว แต่การนำไปใช้จริงของเกษตรกรมีเพียง 10% เท่านั้น หลายคนบอกกับ ดร.ทัศนีย์ว่า เหมือนการหยดน้ำทีละหยดในมหาสมุทร แต่เธอบอกว่าไม่เป็นไร สักวันคงจะได้สักกระป๋องหนึ่ง การมีพันธมิตรมีผู้สนับสนุนร่วมเผยแพร่หรือต่อยอดงานวิจัยที่มากขึ้น ทำให้ภาพความหวังให้เกษตรกรลืมตาอ้าปากได้เริ่มชัดเจนขึ้น

"อาจารย์ ไม่ได้คาดหวังว่าเกษตรกรทุกคนทั่วประเทศจะต้องวิเคราะห์ดินเก่งหรือให้คำแนะ นำ "ปุ๋ยสั่งตัด" เก่ง แต่สิ่งที่เราหวังก็คือแกนนำชุมชนที่สามารถเรียนรู้วิธีการนี้ไปใช้หรือเผย แพร่ในชุมชน สอนกันเองในชุมชน เกษตรกรเก่งๆ บ้านเรามีเยอะเลย เพียงแต่ว่าเราจะขยายผลอย่างไรให้เกษตรกรมีความรู้ จะได้ไม่ถูกเอาเปรียบ ทุกวันนี้ให้อาจารย์ไปสอนไปบรรยายที่ไหน รวมกลุ่มกันมา อาจารย์ก็ไปหมด สักวันก็คงได้รับผลสำเร็จ...ก็คงจะทำไปจนกว่าอาจารย์จะตาย" คำทิ้งท้ายจาก ศ.ดร.ทัศนีย์
(เทคโนโลยี ชาวบ้าน : วันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2551 ปีที่ 20 ฉบับที่ 439)

สถานีพัฒนาที่ดินในเขตต่างๆ http://www.ldd.go.th/aboutldd/intro08.html#r9 เนื่องมาจาก การตรวจสอบชุดดินสามารถปฏิบัติตามคู่มือตรวจสอบชุดดิน ที่ทีมงานได้พัฒนาขึ้น หรือสามารถสอบถามได้ที่ สถานีพัฒนาที่ดินทุกจังหวัด ส่วนการวิเคราะห์ธาตุอาหารในดิน ก็สามารถวิเคราะห์เองได้ภายใน 30 นาทีด้วย "ชุดตรวจสอบ N P K ในดิน" ปัจจุบันราคาประมาณ 3,745 บาท สามารถวิเคราะห์ดินได้ 50 ตัวอย่าง

รายการตรวจวิเคราะห์ดิน

รายการทดสอบ

1. ความเป็นกรด-ด่าง (pH)

2. ปริมาณปูนที่ควรใช้แก้ไขดินกรด (LR)

3. ปริมาณอินทรียวัตถุ (O.M)

4. เนื้อดิน (Texture; Sand, Silt, Clay)

5. ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ (Available P)

6. Exchangeable K, Ca, Mg

7. ความเค็ม (Salinity)

- วัด EC (ค่าการนำไฟฟ้า) 1:5

- วัด ECe (ค่าการนำไฟฟ้า) Satutation extract

- วัดปริมาณเกลือ (ppt)

8. Minor Elements (Zn, Mn, Fe, Cu)

9. ไนโตรเจน (Nitrogen)

- ไนโตรเจนทั้งหมด (Total-N)

- แอมโมเนียม (NH+4-N)

- ไนเตรต (NO3- -N)

10. ฟอสฟอรัสทั้งหมด (Total-P)

11. โซเดียม (Na)

- Extractable Na

- Total-Na

12. อลูมินั่ม (Al)

- Extractable Al

- Total-Al

13. คลอไรด์ (Cl-)

14. ซัลเฟต (SO2-)

15. ซิลิกอน (Si)

16. โบรอน (B)

17. ปรอท (Hg)

18. สารหนู (As)

19. ตะกั่ว (Pb)

20. นิกเกิล (Ni)

21. แคดเมี่ยม (Cd)

22. โครเมี่ยม (Cr)

23. ความจุแลกเปลี่ยนแคดไอออน (CEC)

24. ความอิ่มตัวด้วยด่าง (%BS)

25. สัดส่วนคาร์บอน/ไนโตรเจน (C/N ratio)

26. ความชื้นในดิน (Moisture)

27. Sodiun Adsorption Ratio (SAR)

28. ความหนาแน่นรวม (Bulk Density)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Manager Online - ภาคใต้

Manager Online - ภาคกลาง-ตะวันออก

Manager Online - ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Manager Online - ภาคเหนือ

คันฉ่องนกไฟ

ผู้ติดตาม

http://hi5.com/friend/displayLoggedinHome.do