หน่อพุทธวงศ์
วงศ์แห่งการสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าหรือเส้นทางของพระโพธิสัตว์
การจัดลักษณะแห่งพระพุทธเจ้าพระพุทธเจ้านั้นมี ๒ ลักษณะใหญ่ๆ คือ
|
|
๑.พระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือ ผู้ที่บำเพ็ญบารมีเพื่อความเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีหน้าที่ตามพุทธประเพณี พุทธกิจในการประกาศพระสัทธรรมเผยแผ่และฝึกบุคคลพร้อมก่อตั้งพระพุทธศาสนาไว้ ในโลกธาตุ อันเป็นประโยชน์ให้แก่สรรพสัตว์ได้สร้างบารมีอันเป็นหนทางพ้นทุกข์ | |
พระสัมมาสัมพุทธเจ้ามี ๓ พุทธลักษณะ คือ
๑.๑ ปัญญาธิกะพุทธเจ้า คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่สร้างบารมีโดยใช้ปัญญาเป็นทางนำ ระยะเวลาในการสะสมพระบารมีทั้งหมด ๒๐ อสงไขยกับเศษแสนมหากัป คือปรารถนาอยู่ในใจเป็นเวลา ๗ อสงไขย หลังจากนั้นเปล่งวาจาต่อหน้าพระพักตร์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นเวลา ๙ อสงไขย รวมเป็น ๑๖ อสงไขย และได้เป็นพระนิตยะโพธิสัตว์ ได้รับพุทธพยากรณ์ครั้งแรก เหลืออีก ๔ อสงไขยกับเศษแสนมหากัป เป็นการสร้างบารมีอย่างยิ่งยวด และเข้มงวดขึ้นเรื่อยๆ และได้รับพุทธพยากรณ์จากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าซ้ำมาตลอดจนถึงกาลเวลาที่ พระองค์มาตรัสรู้
๑.๒ ศรัทธาธิกะพุทธเจ้า คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่สร้างบารมีโดยใช้ศรัทธาเป็นทางนำ ระยะเวลาการสะสมพระบารมีทั้งหมด ๔๐ อสงไขยกับเศษแสนมหากัป คือ ปรารถนาอยู่ในใจเป็นเวลา ๑๔ อสงไขย หลังจากนั้นเปล่งวาจาต่อหน้าพระพักตร์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นเวลา ๑๘ อสงไขย รวมเป็น ๓๒ อสงไขย และได้เป็นพระนิตยะโพธิสัตว์ ได้รับพุทธพยากรณ์ครั้งแรก เหลืออีก ๘ อสงไขยกับเศษแสนมหากัป เป็นการสร้างบารมีอย่างยิ่งยวด และเข้มงวดขึ้นเรื่อยๆ และได้รับพุทธพยากรณ์จากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าซ้ำมาตลอดจนถึงกาลเวลาที่ พระองค์มาตรัสรู้
|
|
๒. พระปัจเจกพุทธเจ้า คือ ผู้ที่บำเพ็ญบารมีเพื่อมาตรัสรู้เฉพาะตัวในภูมิแห่งการสำเร็จวิชาพระ พุทธเจ้าเพียงครึ่งหนึ่งเป็นปัญญาธิกกะพุทธเจ้า เวลาในการบำเพ็ญ คือ ๒ อสงไขยกับเศษแสนมหากัป และมิได้สั่งสอนผู้อื่นด้วยพระองค์ทรงรู้ว่ามิใช่อำนาจหน้าที่ของพระองค์ เว้นแต่บุคคลนั้นมีบุพกรรมร่วมกันมีบารมีพอถึงไตรสรณคม พระปัจเจกพุทธเจ้าจะตรัสรู้ในระหว่างว่างศาสนา และตรัสรู้ครั้งละหลายพระองค์ก็ได้ |
|
พระโพธิสัตว์
| |
๒. พระโพธิสัตว์ที่ได้รับพุทธพยากรณ์จากพระพุทธเจ้าในอดีตมาแล้ว เรียกว่า �นิตยะโพธิสัตว์� คือ มีความแน่นอนที่จะเป็นพระพุทธเจ้า เพราะมีการบำเพ็ญบารมีมามากจนสามารถเข้าพระนิพพานได้ แต่ก็ไม่อาจเข้านิพพานได้จะต้องดำรงพระฐานะเป็นสมเด็จองค์พระสัมมาสัมพุทธ เจ้าเสียก่อน แต่พระบารมีและเวลายังไม่สมบูรณ์ แม้จะพยายามปฏิบัติอย่างยิ่งยวดบังเกิดปัญญาอย่างเยี่ยมยอดก็ไม่สามารถเข้า นิพพานก่อนได้ แม้จะทุกข์ท้อแท้เพียงใด จนคิดที่จะเลิกเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ตาม แต่แล้วในที่สุดมหากุศลที่เป็นอนุสัย ก็จะพุ่งกระจายขึ้นมาให้ตั้งมั่นและบำเพ็ญบารมีต่อกันจนกว่าบารมีและเวลาจะ สมบูรณ์ สำหรับพระโพธิสัตว์ที่เป็นอนิตยะโพธิสัตว์ ที่สร้างบารมีสมบูรณ์แล้ว จะได้รับพุทธพยากรณ์เป็นครั้งแรก ต่อหน้าพระพักตร์พระพุทธเจ้า จะต้องมีธรรมมโนธาน ๘ ประการสมบูรณ์ จึงได้รับพุทธพยากรณ์โดยนัยว่า จะได้ตรัสรู้เป็นองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพระนามว่าอย่างนั้น ในกัปอันเป็นอนาคตที่เท่านั้นก็จะกลายเป็น �นิตยะโพธิสัตว์� ทันทีเป็นพระโพธิสัตว์ที่เที่ยงแท้ |
|
|
พระโพธิสัตว์ต้องบำเพ็ญ บารมี ๓๐ ทัศ ๑. ทานบารมี คือ การให้ทานทำบุญ บริจาคทรัพย์ บริจาคร่างกาย หรือบริจาคสัตว์ทั้งหลายของตน (รวมถึงภรรยา บุตร ธิดาของตนเอง) ๒. ศีลบารมี คือ การรักษาศีล ๕ ศีล ๘ หรือศีล ๒๒๗ ข้อ ๓. เนกขัมมะบารมี คือ การออกบวชเป็นพระ หรือเป็นฤาษี เป็นโยคี เป็นพราหมณ์ คือ การบำเพ็ญพรหมจรรย์ตามกำลัง ๔. ปัญญาบารมี คือ สร้างเสริมความรู้ ความสามารถ และปัญญาทางธรรมะให้เพิ่มขึ้น ๕. วิริยะบารมี คือ มีความขยันหมั่นเพียร กระทำสิ่งที่เป็นคุณประโยชน์ ทั้งในทางธรรมะ จนกระทั่งสำเร็จ ๖. ขันติบารมี คือ มีความอดทนต่ออารมณ์อันไม่พึงพอใจ ต่อการงานต่างๆ ต่อการปฏิบัติธรรม และต่อสิ่งแวดล้อมที่ไม่อำนวย ๗. สัจจะบารมี คือ การพูดความจริง ที่ประกอบไปด้วยความดีตามกาล และทำตามที่กล่าวไว้ ๘. อธิษฐานบารมี คือ ตั้งจิตอธิษฐานเมื่อสร้างกุศล ในสิ่งที่พึงปรารถนาที่เป็นคุณงามความดี ๙. เมตตาบารมี คือ มีจิตใจเมตตาต่อสัตว์ทั้งหลายเสมอเหมือนกัน ๑๐. อุเบกขาบารมี คือ มีใจเป็นอุเบกขาต่อความสุขความทุกข์ที่เกิดขึ้น |
|
บารมีทั้ง ๑๐ สามารถแยกออกได้เป็น ๓ ระดับ คือ
อานิสงส์พิเศษ อีกอย่างหนึ่งของพระนิตยโพธิสัตว์ คือ การทำอธิมุตตกาลกริยา คือ เมื่อท่านเกิดเป็นเทวดาหรือพรหมจะเกิดความเบื่อหน่ายในการเสวยสุขนั้น ปรารถนาที่จะสร้างบารมีในโลกมนุษย์ ท่านก็สามารถทำการอธิมุตต คือ อธิษฐานให้จุติ (ตายจากการเป็นเทพ) มาเกิดเป็นมนุษย์ได้ทันที โดยง่ายซึ่งเหล่าเทพเทวดาอื่นๆ ไม่สามารถทำอย่างนี้ได้ ตามไปสวดมนต์ตามลิงค์ http://watpanonvivek.com/index.php?option=com_wrapper&view=wrapper&Itemid=41 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น