วันเสาร์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

หงุดหงิดๆๆๆๆๆ -*-



วันนี้พาสองไปตัดผม คงด้วยตั่งใจว่าตื่นมาแล้วจะไปเปิดคอมฯเล่น แต่ถูกตัดกระแสด้วย ไปๆตัดผมกัน.....อาจเป็นตัวจุดความไม่ค่อยชอบใจแล้วเริ่มออกอาการไปเรื่อย ไปถึงร้านช่างผมตัดไปได้พักหนึ่ง เริ่มมีเสียงบ่นๆๆๆๆๆหน้าตาเริ่มหงุดหงิด.....อืม?????? อะไรทำให้คนเราเป็นแบบนี้

การศึกษาพบว่า การโกรธนั้นไม่ดีต่อสุขภาพด้วยเช่นกัน บางคนอาจจะแค่โกรธชั่วครั้งชั่วคราว แต่บางคนมันเป็นอาการถาวร เรียกว่าเป็นลึกถึงขั้น ขี้หงุดหงิดเชิงทัศนคิ ขี้โมโห จะเสี่ยงต่ออายุการใช้งานของหลอดเลือดแดง อาการความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ เส้นเลือดอุดตัน และระบบภูมคุ้มกันเสื่อม (สารพัดเลยเห็นไหมครับ) และจะเป็นปัญหาสุขภาพได้ตามนี้ครับ http://www.swu.ac.th/royal/book6/b6c4t3.html




คนที่หงุดหงิดง่ายเพราะมีข้อมูลกิเลสด้านโทสะมาก และมักจะคิดโกรธผู้อื่นได้โดยง่าย เช่นคนที่มีข้อมูลด้านการบ่นมาก มักจะคิดบ่นอยู่ในใจเสมอและบ่นได้ง่าย ยิ่งคิดซ้ำแล้วซ้ำอีกจะเกิดต่อยอด
การรู้เห็นความคิดอกุศลที่กำลังเกิดขึ้นในจิตใจได้เร็ว ก็จะสามารถดับความคิดนั้นได้เร็วเช่นกัน แนะนำวิธีเจริญสติ โดย เอกชัย จุละจาริตต์
ติช นัท ฮันห์ บอกว่า"ปาฏิหาริย์แห่งการตืนอยู่เสมอ มิใช่การที่ลืมตา และตืนขึ้น อย่างวันวาน แต่ เป็นการ ตื่น ทีรับรู้ได้เสมอ ว่ากำลังทำสิ่งใด ตื่น และรับรู้ถึงลมหายใจทียังคงอยู่ เป็นการตื่น ครั้งยิ่งใหญ่ในชีวิต เป็นการตื่นของ สติรับรู้ รับรู้ซึ่งปัจจุบัน รับรู้ถึงสิ่งที่กำลังสัมผัส กำลังยินเสียง และกำลังแลเห็น และสิ่งทีรับรู้นั้น คือของขวัญอันล้ำค่าที่สุดในชีวิต"
-พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ.ปยุตโต)นักปราชญ์องค์สำคัญองค์หนึ่งของเมืองไทย ปัจจุบันบอกว่า"วาสนาสร้างเองได้" เพราะความหมายที่แท้จริงของ- คำว่าวาสนาคือ นิสัยๆ ก็คือสิ่งที่เราทำบ่อยๆ จนกลายเป็นความเคยชิน และความเคยชินหรือนิสัยมีความสำคัญมากต่อชีวิตคนเรา
เพราะคนเราส่วนมากทำสิ่งต่างๆ ตามความเคยชิน ความหงุดหงิดของคุณก็เป็นความเคยชิน เป็นนิสัยที่คุณสร้างมันขึ้นมา เพราะฉะนั้นคุณต้องสร้างความเคยชินที่ดีบ่อยๆ จนเป็นนิสัย แทนความหงุดหงิด- สภาพจิตที่ดี ทีทุกคนควรสร้างไว้ในจิตใจเสมอๆ ตลอดเวลา คือ-ความร่าเริงเบิกบานใจ,ความอิ่มเอิบใจ,ความสงบเย็น การผ่อนคลายกายใจ ไม่เครียด,ความโปร่งโล่ง คล่องใจ สะดวกใจ ไม่มีอะไรมาบีบคั้นหรือคับข้อง, ภาวะที่จิตอยู่กับสิ่งที่ต้องการ ไม่มีอะไรมากวนจิต
-ทันโต เสฏโฐ มนุสเสสุ มนุษย์ที่ฝึกตนดีแล้ว เป็นผู้ประเสริฐสุดในหมู่มนษย์ พระพรหมคุณาภรณ์บอกว่า คนเราเกิดมาไม่ได้เป็นสัตว์ประเสริฐได้เลย ต้องฝึกฝน ต้องพัฒนา ต้องศึกษา ตรงกันข้าม คนเป็นสัตว์ที่อ่อนแอ่ที่สุด ต้องใช้เวลายาวนานในฝึกตน กว่าจะพึงตัวเองได้ ต่างจากสัตว์ส่วนมากพอเกิดก็เดินได้ช่วยตัวเองได้ แต่ความวิเศษของคนก็คือเป็นสัตว์ที่ฝึกได้ และต้องฝึก เมื่อฝึกตนดีแล้ว สามารถสร้างสิ่งต่างๆได้มากมาย ไม่ว่าจะเป็นวิทยาการ เทคโนโลยี ทุกอย่างในโลกเกิดได้เพราะ คนที่มีตนอันฝึกดีแล้วทั้งสินครับ
ที่มา:
-The Miracle of Being Awake by Thich Nhat Hanh แปลโดย พระประชา ปะสันนะธัมโม
-วาสนาสร้างเองได้ พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ.ปยุตโต)

นัก ดนตรีบำบัดได้ทำการวิจัยไว้ สรุปออกมาได้ความว่า ดนตรีคลาสสิกเนี่ยรักษาโรคได้เลิศสุด ไม่ว่าจะเป็นบทเพลงของโมสาร์ต บาค ปีโธเฟ่น โชแปง เป็นต้น แต่อย่าถามว่าทำไมนะครับ เพราะผลการรักษาที่ได้มาจากการสังเกตอาการที่เปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้นของคน ไข้ ไม่ใช่การทดลองทางวิทยาศาสตร์
บทเพลง ดนตรีบำบัดที่ผมจะทยอยเอามาลงเนี่ย บอกคร่าวๆก่อนว่าสามารถรักษาโรคทางด้านประสาทเป็นส่วนใหญ่ เช่น หงุดหงิด อารมณ์เสีย โกรธง่าย เก็บกด นอนไม่หลับ อารมณ์แปรปรวนง่าย จิตตก นอกจากนี้ยังสามารถรักษา โรคความดันสูง ระบบการย่อยอาหารไม่ดี (กระเพาะลำไส้ทำงานผิดปกติ) แก้ปวด ขจัดความอ่อนเพลีย เพิ่มความมั่นใจในตัวเอง และทำให้อารมณ์เบิกบาน (สรรพคุณเยอะอย่างกับยาเม็ดครอบจักรวาลเลย)
เอน ทรี่นี้เริ่มจากโรคอารมณ์เสีย หงุดหงิด โกรธง่าย ก่อนละกันครับ จะเฉลิมฉลองกันทั้งทีก็ต้องมีจิตใจที่เบิกบานก่อน
อาการ แบบนี้ต้องใช้Moonlight ของ ปีโธเฟ่นครับ ฟังทุกวันสักสองอาทิตย์นะครับ แล้วลองถามคนรอบข้างดูว่าฉันเปลี่ยนไปไหม อันนี้จาก http://aunlamun.exteen.com/20061222/music-therapy-1 น่าสนใจนะครับแวะไปดูได้เผื่ออะไรที่เป็นโรคจะได้หายๆไปแล้วดีขึ้น
สำหรับผมๆว่าเป็นเพราะ ความไม่สมดุลกันไม่ว่าด้านไหนทั่งนั่น หมายถึงสภาพจิตและกายที่ไม่สอดคล้องกัน การวางใจไม่ได้และการไม่ยอมรับสิ่งที่เป็น หรืออาจมาจากอาหารก้อได้นะครับ

ขอตบท้ายด้วย

ความโกรธมักเกิดขึ้นได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่กันทั้งนั้นเมื่อไม่ได้สิ่ง ที่เขาต้องการหรือผิดหวังจากสิ่งที่เขาไม่คาดคิด ถ้าเกิดขึ้นอาจทำให้ลืมตัวทำในสิ่งที่เขาคาดไม่ถึงหากคุมสติไม่อยู่ เพราะขาดความอดกลั้นย่อมเป็นปัญหาแน่นอนค่ะ คุณแม่ คุณแม่คงต้องหาวิธีให้ลูกได้ฝึกระบายอารมณ์โกรธของเขาให้โกรธเป็น นั่นก็คือ โกรธให้ถูกวิธี เด็กในวัยนี้เขาอยากเป็นที่รักเป็นที่สนใจของผู้ใหญ่ จึงเกิดความเครียดจากการที่อยากทำอะไรให้เป็นไปตามความคาดหวังของพ่อแม่ พอไม่เป็นอย่างที่คิดก็เกิดความกดดัน เกิดความเครียดและแสดงอาการออกมา
ดังนั้นพ่อแม่จึงไม่ควรคาดหวังกับลูกให้ทำในสิ่งที่ตนต้องการมากเกินไป หากลูกกำลังแสดงอารมณ์โกรธออกมา ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่จะไม่ฟังใครทั้งนั้น ก็คงต้องรอเวลาจนลูกอารมณ์เย็นสักพัก จึงค่อย ๆ พูดหรือแนะนำ เมื่ออารมณ์เย็นลงอาจให้ลูกอธิบายความรู้สึกของตัวเองออกมาว่าโกรธอะไร เพราะอะไร และเรื่องอะไรจึงทำให้โกรธ หรือ คุณแม่อาจใช้วิธีการสัมผัสจากแม่ เช่น ตบไหล่เบา ๆ ลูบหลัง จะทำให้เขาสงบ หลังจากนั้นให้เขานับ 1-10 จนกว่าอารมณ์จะสงบ เป็นการฝึกสติให้เขารู้ตัวเอง หรือหากลูกโกรธมากจนอยากทำร้ายผู้อื่น ควรฝึกให้ลูกรู้จักอดกลั้นโดยหาทางระบายความโกรธทางอื่นที่ไม่เป็นอันตราย ต่อตัวเองและผู้อื่น เช่น ใช้ดินสอขีดเขียนแรง ๆ ลงไปที่กระดาษให้สาแก่ใจ กระโดดลอยตัวกระทืบเท้า ต่อยลงกระสอบทราย (ถ้ามี) ตะโกนร้องเพลงดัง ๆ ฯลฯ และหากลูกมีพฤติกรรมทำร้ายผู้อื่นหรือขว้างปาข้าวของ คุณแม่ต้องหาวิธีการจัดการให้เขาหยุดพฤติกรรมดังกล่าว หรืออาจลงโทษเพื่อให้รู้ว่าเป็นพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้อง แต่ต้องไม่ใช้อารมณ์ คุณแม่อาจจับแขน ทั้งสองข้างพร้อมกับบอกลูกด้วยเสียงนุ่มนวลไม่ดุด่าเกรี้ยวกราด ลูกไม่ควรทำเช่นนี้ มีอะไรให้พูดหรือบอกตรง ๆ และหากทำเช่นนี้ลูกอาจมีผลกระทบจากสังคมอย่างไร และแม่ไม่ชอบที่ลูกแสดงอาการเช่นนี้ มีอะไรให้พูดกันดี ๆ ด้วยเหตุผล สุดท้าย คุณแม่อาจต้องหันมาดูตัวเองสักหน่อยว่าคุณแม่เป็นคนขี้โมโห ใจร้อนโกรธง่ายไหม เพราะพฤติกรรมของลูกย่อมมีการเลียนแบบพ่อแม่ แบบลูกไม้หล่นไม่ไกลต้นไงคะ …

ตอบโดย นางอรรำไพ วินทะไชย สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์

ที่มา เว็บไซต์สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์

และบางคนเป็นโรค

โรคอารมณ์แปรปรวน โรคแมเนีย-ซึมเศร้า (Bipolar disorder or Manic-depressive disorder)

นายแพทย์ฐานันดร์ ปิยะศิริศิลป์

คำจำกัดความ

ลักษณะสำคัญของโรคนี้ คือ ผู้ป่วยมีความผิดปกติของอารมณ์เป็นอาการสำคัญ โดยอารมณ์ที่ผิดปกตินั้นอาจเป็นอารมณ์เศร้าหรืออารมณ์รื่นเริงสนุกสนานผิด ปกติ ร่วมกับอาการอื่นของโรคซึมเศร้า หรือโรคแมเนียโดยไม่มีโรคทางกาย โรคของสมอง หรือพิษจากยาเป็นสาเหตุของอาการดังกล่าว

โรคอารมณ์แปรปรวน แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ

1. Depressive Disorders มีอารมณ์เศร้าเป็นอาการหลักร่วมกับอาการอื่น ๆ

2. Bipolar Disorders มีอารมณ์สนุกสนานแบบ Mania เป็นอาการหลัก และมักมีหรือเคยมีอาการของโรคซึมเศร้า

อาการ

โรคซึมเศร้า มีอาการสำคัญ ๆ ดังนี้

² อารมณ์เศร้า ผู้ป่วยรู้สึกใจคอหดหู่ เศร้าหมอง ไม่มีชีวิตชีวา รู้สึกไม่แจ่มใส อารมณ์เศร้านี้จะเป็นติดต่อกันหลายวันถึงเป็นสัปดาห์

² อารมณ์หงุดหงิดโกรธง่าย ผู้ป่วยรู้สึกหงุดหงิดง่ายโดยไม่มีสาเหตุชัดเจนบ่อย ๆ

² ความรู้สึกเบื่อและหมดความสนใจ ผู้ป่วยรู้สึกเบื่อและหมดความสนใจในสิ่งต่าง ๆ ที่เคยทำให้รู้สึกดี เช่น ไม่อยากดู TV ไม่อยากไปดูภาพยนตร์ ไม่อยากคุยกับเพื่อนหรือญาติ ไม่อยากไปเที่ยว เป็นต้น

² อาการเบื่ออาหาร ผู้ป่วยรู้สึกเบื่อ ไม่รู้สึกอยากอาหาร กินอาหารน้อยลงจนน้ำหนักลด

² นอน ไม่หลับ ระยะแรกอาจจะหลับยาก นอนหลับไม่สนิท ฝันร้าย หรือตื่นบ่อย เมื่อเป็นมากขึ้น อาจตื่นกลางดึก ตีหนึ่ง ตีสอง หรือตื่นเช้ามืด หลับต่อไม่ได้ เป็นทุกคืน

² อาการอ่อนเพลีย ผู้ ป่วยรู้สึกอ่อนเพลีย ไม่มีแรง เหนื่อยง่าย โดยไม่มีสาเหตุทางร่างกายชัดเจน

² ความคิดเชื่องช้า การเคลื่อนไหวตลอดจนการพูดจาเชื่องช้าลง รู้สึกไม่กระตือรือร้น ต้องฝืนใจทำสิ่งต่าง ๆ เช่น การพูด การแต่งตัว การทำงาน เป็นต้น

² สมาธิเสีย ความจำไม่ดีและลืมง่ายเป็นอาการสำคัญ อ่านหนังสือแล้วจำไม่ได้ ไม่มีสมาธิในการทำงาน

² ความรู้สึกว่าตัวเองไร้ค่า ผู้ป่วยรู้สึกตัวเองไม่มีค่า หรือหมดความสำคัญต่อครอบครัว เพื่อนร่วมงาน

² ความคิดอยากตาย เมื่อเศร้ามาก ๆ ผู้ป่วยจะคิดอยากตายและพยายามฆ่าตัวตาย ถ้าไม่ได้รับการรักษาอาจฆ่าตัวตายสำเร็จ

โรค Bipolar Disorder ระยะ Mania Episode มีอาการดังนี้

² มีอารมณ์รื่นเริงสนุกสนานผิดปกติ หรือมีอารมณ์หงุดหงิดโกรธง่าย อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย

² อาการนอนไม่หลับ อาจหลับยาก ตื่นบ่อย หรือนอนไม่หลับเลย ผู้ป่วยจะลุกขึ้นมาทำงานต่าง ๆ วุ่นวาย โดยไม่รู้สึกอ่อนเพลีย

² มีอาการพูดมาก พูดเร็วและส่งเสียงดัง

² ไม่มีสมาธิ สิ่งกระตุ้นจากภายนอกจะเบนความคิดให้ออกนอกเรื่องได้ง่าย

² มีการเคลื่อนไหวและมีกิจกรรมมากผิดปกติ ผู้ป่วยจะพูดคุยกับคนทั่วไปแม้ไม่รู้จักกัน ชอบออกนอกบ้านไปพบเพื่อนหรือญาติพี่น้องบ่อยผิดปกติ

² ความคิดเปลี่ยนเรื่องเร็ว ผู้ป่วยมีความคิดหลาย ๆ เรื่อง เกิดขึ้นรวดเร็ว และแสดงออกโดยการพูดมากและเร็ว

² มีอารมณ์ทางเพศเพิ่มขึ้นผิดปกติ

² การตัดสินใจไม่ดี เช่น ใช้เงินเปลืองและซื้อของมากผิดปกติ ลงทุนในกิจการต่าง ๆ อย่างไร้เหตุผล

² รู้สึกว่าตนเองมีความสำคัญมากผิดปกติ มีความสามารถพิเศษ ร่ำรวยมาก ทั้งที่ไม่เป็นความจริง

² ถ้าอาการมาก อาจมีอาการหูแว่ว ประสาทหลอนร่วมด้วย

การดำเนินของโรค

ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการประมาณ 6 - 9 เดือน เมื่ออาการของโรคสงบลง มักจะสามารถดำเนินชีวิตได้ตามปกติ แต่จะมีโอกาสเป็นซ้ำได้อีก จึงอาจต้องใช้ยาทางจิตเวชควบคุมอาการ เพื่อไม่ให้เป็นซ้ำ

การรักษา

ยาทางจิตเวช มีความสำคัญมากในการรักษาโรคกลุ่มนี้ ปัจจุบันมียารักษาอารมณ์เศร้าหลายชนิดที่ให้ผลการรักษาดี รวมทั้งยาควบคุมอารมณ์แปรปรวนในการรักษาผู้ป่วย Bipolar Disorder ผู้ป่วยส่วนใหญ่ต้องรักษาด้วยยาประมาณ 6 - 9 เดือน

จิตบำบัดและครอบครัวบำบัด ตามสภาพปัญหาส่วนตัวและครอบครัวของผู้ป่วย

เอกสารอ้างอิง

w สมภพ เรืองตระกูล, ตำราจิตเวชศาสตร์ กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์เรือนแก้ว, 2542

w มาโนช หล่อตระกูล, ปราโมทย์ สุคนิชย์, จิตเวชศาสตร์ รามาธิบดี กรุงเทพมหานคร : สวิชาญการพิมพ์,

2544

ความรู้เรื่องโรคทางจิตเวชและปัญหาพฤติกรรม

<ห้องรับแขก

คลินิคจิต-ประสาท 563 ถ.สามเสน แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กทม 10300 โทร. 0-2243-2142 0-2668-9435

เอ.....ทีนี้จะตัดสินใจว่าใช่โรคหรือเปล่านี้ทำไง?????
ดูนี่หน่อยดีกว่า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Manager Online - ภาคใต้

Manager Online - ภาคกลาง-ตะวันออก

Manager Online - ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Manager Online - ภาคเหนือ

คันฉ่องนกไฟ

ผู้ติดตาม

http://hi5.com/friend/displayLoggedinHome.do