วันพุธที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

จิต(สติ)

ความหมายของสติ
ตามพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ หัวภูมิพลอดุลยเดช ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยรามคำแหง ณ อาคารใหม่สวนอัมพร 7 กรกฎาคม 2520 ไว้ตอนหนึ่งว่า
การบังคับตนเองนั้นเกิดขึ้นได้จากความรู้สึก ระลึกได้ว่าอะไรเป็นอะไร หรือเรียกสั้นๆว่า สติ
กล่าวคือ ก่อนที่บุคคลจะทำ จะพูด หรือแม้แต่จะคิดเรื่องต่างๆสติ หรือความรู้สึกระลึกได้นั้นจะทำให้หยุดคิดว่า สิ่งที่จะทำนั้นผิดชอบชั่วดีอย่างไร จะมีผลเสียหายหรือจะเป็นประโยชน์อย่างไรต่อไปในระยะยาว เมื่อบุคคลคิดได้ก็จะสามารถตัดสินการกระทำของตนได้ถูกต้อง แล้วก็จะกระทำแต่เฉพาะสิ่งที่สุจริตที่มีประโยชน์อันยั่งยืน ไม่กระทำสิ่งที่จะเป็นความผิดเสียหายทั้งแก่ตนและส่วนรวม ความมีสตินั้นจะช่วยให้สามารถศึกษาทุกสิ่งทุกอย่างได้อย่างละเอียดประณีต คือเมื่อจะศึกษาสิ่งใดก็จะพิจารณากลั่นกรองสิ่งที่มิใช่ความถูกต้องแท้จริง ออกเสียก่อนเพื่อให้ได้มาแต่เนื้อแท้ที่ปราศจากโทษ บัณฑิตทั้งปวงผู้หวังความมั่นคงปลอดภัยทั้งของตนของชาติบ้านเมือง เมื่อจะทำการงานใดๆที่สำคัญ ควรอย่างยิ่งที่จะหยุดคิดสักหน่อยก่อนทุกครั้ง แล้วท่านจะไม่ต้องประสบกับความผิดหวังและผิดพลาดในชีวิต
สติ ตามความหมายในพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์(2527) หมายถึง ความระลึกได้, นึกได้,ความไม่เผลอ,การคุมใจไว้กับกิจหรือกุมจิตไว้กับสิ่งที่เกี่ยวข้อง,จำ การที่ทำและคำที่พูดแล้วแม้นานได้
ชวยง พิกุลสวัสดิ์ (2544) ได้กล่าวถึงความหมายของสติว่าหมายถึง การระลึกได้ คือระลึกได้ในเวทนาต่างๆอันได้แก่ การเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การรู้รส การสัมผัส การนึกคิด ขณะที่เรามองเห็นภาพก็เพราะขณะนั้นเรามีสติอยู่กับการเห็น ขณะที่เราได้ยินเสียงก็เพราะขณะนั้นเรามีสติอยู่กับเสียง ขณะที่เราได้กลิ่นก็เพราะขณะนั้นเรามีสติอยู่กับกลิ่น ขณะที่เรารู้รสอาหารก็เพราะขณะนั้นเรามีสติอยู่กับรส ขณะที่เรารู้สึกหนาวก็เพราะขณะนั้นเรามีสติอยู่กับการสัมผัสทางกาย ขณะที่เราคิดเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้ก็เพราะ ขณะนั้นเรามีสติอยู่กับการนึกคิด จะเห็นว่าสติทำงานอยู่กับทวารทั้งหก คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ตลอดเวลา บางครั้งสติก็ทำงานอยู่กับทวารนี้บางทีสติก็ทำงานอยู่กับทวารโน้น แล้วแต่ความตั้งใจ เช่น ถ้าเราตั้งใจดูรายการโทรทัศน์สติก็จะอยู่กับเวทนาคือการเห็นและการได้ยิน สลับผลัดเปลี่ยนกันไปด้วยความเคยชิน ทำให้เรารู้สึกว่าเห็นภาพด้วยได้ยินเสียงด้วย แต่ในขณะที่เราตั้งใจดูโทรทัศน์อยู่นั้นแม้อากาศจะร้อนเราก็ไม่รู้สึก เพราะไม่ได้เอาสติไปอยู่กับการสัมผัสทางกายและถ้าเราลองตั้งใจดูเฉพาะภาพของ โทรทัศน์อย่างเดียวไม่สนใจในเสียงเลย เราก็จะรู้สึกว่าเห็นแต่ภาพไม่รู้สึกว่าได้ยินเสียง จะเห็นว่าตลอดชีวิตของคนเรานั้นสติทำงานตลอดทั้งวัน ตั้งแต่ตื่นขึ้นมาในตอนเช้าจนกระทั้งเข้านอนในตอนกลางคืนเลยทีเดียว สติจะไม่ทำงานก็เฉพาะตอนที่เราสลบ ซึ่งบางทีเรียกว่าหมดสติ กับตอนที่เรานอนหลับสนิทเท่านั้น แม้ขณะฝันสติก็ยังทำงานอยู่ คือ อยู่กับการนึกคิด สติมีประโยชน์มากในการปฏิบัติธรรม เราจึงควรทำความรู้จักกับสติให้ดี ควรฝึกให้มีกำลังมากๆ สติจะมีกำลังมากเมื่อมีความตั้งใจมาก เช่น ตั้งใจจะมองจะมีสติในการเห็นมากกว่าที่ไม่ตั้งใจมอง ขณะใดที่เรารู้สึกชัด เช่น เห็นภาพชัด ได้ยินเสียงชัด แสดงว่าขณะนั้นเรามีสติมาก หรือเรียกว่าสติมีกำลัง ถ้าสติมีกำลังเราจะรู้สึกตื่นตัว จิตใจจะกระปรี้กระเปร่า ขณะใดที่เรารู้สึกไม่ชัด ก็แสดงว่าเรานั่งเหม่อ ใจลอยหรือง่วงนอน ขณะนั้นสติจะอ่อนกำลัง เราไม่ค่อยรู้สึกตัว
หนังสือเรียนวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมและหนังสือเรียนวิชาพระพุทธศาสนารวมถึงหนังสือประกอบการ เรียนการสอนในระดับชั้นประถมศึกษา ช่วงชั้นที่ 2 มีผู้ให้คำนิยามของสติ ไว้ดังนี้
สติ ตามความหมายขอฉัฐภูมิ หลอมประโคน (2544) หมายถึงความระลึกได้ คิดได้ ในสิ่งที่ตนทำและพูด
สติ ตามที่เอกชัย จุละจาริตต์ (2546) กล่าวคือ การมีความตั้งใจหรือมีจิตใจจดจ่ออยู่กับกิจที่เจตนาอยู่โดยไม่เผลอไปคิด ฟุ้งซ่าน
สุวิน ทองปั้น และคณะ(2546) กล่าวว่า สติ หมายถึง ระลึกได้โดยระลึกได้ว่าขณะนั้นตนกำลังพูด กำลังทำอะไร นึกได้ก่อนที่จะทำ จะพูดอะไร สติทำหน้าที่ตรวจสอบผลที่จะเกิดขึ้นจากการกระทำ การพูด เมื่อเรามีสติ ย่อมป้องกันความผิดพลาด ความเสียหายที่จะเกิดจากการกระทำ การพูด การคิด ส่วนสัมปชัญญะ หมายถึง ความรู้ตัว รู้สึกตัว ได้ขณะกำลังทำ กำลังพูด กำลังคิดอะไรกับใคร เรื่องอะไร เวลาใด สมควรไม่สมควร ความรู้สึกตัว ช่วยกระตุ้นเตือนไม่ให้เราทำ พูด ในสิ่งที่จะก่อให้เกิดความผิดพลาดเสียหาย
สติ ตามความหมายที่พระมหาสมชาย ฐานวุฑ.โฒ (2545) ให้ไว้ คือ ความระลึกนึกได้ถึงความผิด-ชอบ-ชั่ว-ดี เป็นสิ่งกระตุ้นเตือนให้คิด พูด ทำ ในสิ่งที่ถูกต้อง ทำให้ไม่ลืมตัว ไม่เผลอตัว ใช้ปัญญาพิจารณาใคร่ครวญสิ่งต่างๆได้
ธรรมชาติของจิตมีการนึกคิดตลอดเวลา การนึกคิดนี้ ถ้าไม่มีสติกำกับก็จะกลับกลายเป็นความคิดฟุ้งซ่านต่างๆ ใช้ประโยชน์อะไรไม่ได้ แต่ถ้ามีสติแล้ว จะทำให้ไม่เผลอ ควบคุมความนึกคิดได้ ไม่ปล่อยใจให้เลื่อนลอยไป ไม่ปล่อยอารมณ์ให้เป็นไปตามสิ่งที่มากระทบ

การดูจิต (การฝึกสติ)
การมีสติก็คือการฝึกสติปัฏฐาน 4 http://www.wfb-hq.org/specth11.htm สี่อย่างที่ว่านั้นคือ
กาย เวทนา จิต ธรรม
ฟังดูอาจจะงง พูดง่าย ๆ ก็คือเมื่อใดเราเกิดความรู้สึกในสิ่งใดที่ชัด ก็ให้รู้อันนั้น การรู้นั้นรู้อะไร กล่าวโดยย่อคือให้มีความรู้สึกตัวผ่านอายตนะทั้ง 6 ได้แก่ ตา (รูป), หู (เสียง), จมูก (กลิ่น), ลิ้น (รส), กาย (สัมผัส), ใจ (ความรู้สึก-ความคิดปรุงแต่ง) รู้ไปเรื่อยๆ ตามอารมณ์หรือสภาวธรรมที่ปรากฏ “ตามจริง” ในขณะนั้น ๆ

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอนหลักใหญ่ 3 ประการในโอวาทปาฏิโมกข์ คือให้ละชั่ว ทำดี และฝึกจิตให้ผ่องใสจากกิเลสทั้งหลาย

เราพูดถึงอยู่เสมอถึงคำ ว่า “สติปัญญา”
เราใช้ปัญญาอยู่เสมอก็จริง แต่สตินั้นแท้จริงแล้ว
เรานำออกมาใช้น้อยนัก ทั้งที่สตินั้นมีคุณค่าต่อชีวิต
และจำเป็นแก่ชีวิต มีคุณค่าเหลือที่จะประมาณได้
(พระธรรมสิงห บุราจารย์ หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม วัดอัมพวัน จ.สิงห์บุรี)

จิตที่ ส่งออกนอก เป็นสมุทัย
ผลอันเกิดจากจิตที่ส่งออกนอก เป็นทุกข์
จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง เป็นมรรค
ผลอันเกิดจากจิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง เป็นนิโรธ
(หลวง ปู่ดูลย์ อตุโล)

การดูจิตเปรียบเสมือนการทำวิปัสสนากรรมฐาน จึงเป็นภาวนาบารมี ซึ่งเหนือกว่าศีลและทาน (อ่านเพิ่มเติมได้ในหนังสือ "วิธี สร้างบุญบารมี" สมเด็จพระสังฆราชฯ http://www.larnbuddh...an/baramii.html หรือ ถ้าสะดวกฟังเสียง บทพระนิพนธ์ในสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช เรื่อง วิธีสร้างบุญบารมี
ก็ที่เว็บนี้ http://www.kanlayana...owtogetboon.wma ) ดังนั้นจึงเสมือนเป็นการทำบุญโดยไม่เสียสตางค์ และเป็นบุญสูงสุด ทำได้ทุกที่ ทุกเวลาตามกำลังสติที่เรามี หรือศึกษาเพิ่มเติมที่ http://www.buddha-dhamma.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=334451&Ntype=4

ขอให้ดวงจิตนี้มีสติ ปัญญา นำสู่หนทางชีวิิตที่สุขสว่าง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Manager Online - ภาคใต้

Manager Online - ภาคกลาง-ตะวันออก

Manager Online - ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Manager Online - ภาคเหนือ

คันฉ่องนกไฟ

ผู้ติดตาม

http://hi5.com/friend/displayLoggedinHome.do