วันพฤหัสบดีที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ประชาธิปไตย


ศ.ดร.มณีปิ่น พรหมสุทธิรักษ์ คณบดีคณะอักษรศาสตร์ ม.ศิลปากร เปิดเผยว่า ก้าน ธูป ณัฐ กานต์ สกุลดาราชาติ สอบติดคณะอักษรศาสตร์ ม.ศิลปากร จริง โดยเป็น 1 ใน 200 คนที่ผ่านการคัดเลือกจากผู้สมัครหลายพันคน ที่ได้ศึกษาในโครงการพิเศษ สาขาเอเชียศึกษา ซึ่ง ก้านธูป ณัฐกานต์ สกุลดาราชาติ มีผลคะแนนผ่านเข้ามาในระดับปานกลาง

รศ.ดร.มณีปิ่น กล่าวต่อว่า ความจริงแล้ว ก้านธูป ณัฐกานต์ สกุลดาราชาติ ได้รับโอกาสที่ดี เธอสามารถทำข้อสอบได้ สอบสัมภาษณ์ผ่าน จนกระทั่งได้เข้าร่วมเรียนในโครงการพิเศษของ ม.ศิลปากร แต่ขณะเดียวกัน มีผู้ส่งข้อมูล และประวัติของ ก้านธูป ณัฐกานต์ สกุลดาราชาติ เพื่อคัดค้านการรับเธอเข้าศึกษาต่อเป็นจำนวนมาก ซึ่งจากการพิจารณาเอกสารหลักฐาน ก็พบว่า ก้านธูป ณัฐกานต์ สกุลดาราชาติ ขาดคุณสมบัติในข้อที่ว่า นักศึกษาต้องมีความจงรักภักดีต่อสถาบันหลักของประเทศ อันถือเป็นกฎหลักของมหาวิทยาลัย อีกทั้งยังพบว่า เป็นผู้ที่บุคลิกภาพมีปัญหา หากเข้ามาเรียน อาจเข้ากับเพื่อนไม่ได้ จึงจำเป็นต้องตัดสิทธิ์ ก้านธูป ณัฐกานต์ สกุลดาราชาติ ไม่ให้เข้าเรียน

อย่างไรก็ตาม มีรายงานข่าวว่า ก้านธูป ณัฐกานต์ สกุลดาราชาติ ไปสมัครสอบที่ ม.เกษตรศาสตร์ หลังเธอต้องพลาดหวังจาก ม.ศิลปากร โดยมีการ์ดคนเสื้อแดงกว่า 40 คน ไปคอยคุม ทว่าในวันที่ 25 พ.ค. กลับไม่ปรากฎตัว ก้านธูป ณัฐกานต์ สกุลดาราชาติ มารายงานตัวสอบสัมภาษณ์ที่ ม.เกษตรฯ แต่อย่างใด นั่นหมายความว่า เธอสละสิทธิ์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่ก็ไม่วายมีข่าวลือออกมาอีกว่า เหตุผลที่ ก้านธูป ณัฐกานต์ สกุลดาราชาติ สละสิทธิ์ เป็นเพราะเธอได้ทุนการศึกษาไปเรียนฟรีถึงเมืองนอก ส่วนได้จากใครอย่างไรนั้นไม่มีการเปิดเผย

ทั้งนี้ จากการสืบประวัติของ ก้านธูป ณัฐกานต์ สกุลดาราชาติ พบว่า เธอคือผู้โพสต์ข้อความหมิ่้นสถาบันพระมหากษัตริย์ในเฟซบุ๊กของตัวเอง และในเว็บไซต์ใต้ดิน จนถูกกระแสสังคมกดดันอย่างหนัก และเธอเคยถูกไล่ออกขณะเรียนชั้นมัธยมศึกษาที่โรงเรียนรัตนราษฎร์บำรุง อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี เพราะหมิ่นพระบรมเดชานุภาพมาแล้วด้วย

ต่อจากนั้น ก้านธูป ณัฐกานต์ สกุลดาราชาติ ก็ได้ย้ายมาศึกษาต่อที่โรงเรียนธารปราสาทเพชรวิทยา จ.นครราชสีมา ซึ่งขณะเรียนอยู่ที่นี่เธอมักจะถูกว่ากล่าวตักเตือนเรื่องการสำนึกรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ แต่นั่นก็ไม่ได้ทำให้เธอเปลี่ยนความคิดแต่อย่างใด ทุกคนต่างรู้จักเธอดีในฐานะคนประชาธิปไตยหัวรุนแรง โดย ก้านธูป ณัฐกานต์ สกุลดาราชาติ เคยได้รับรางวัลชนะเลิศ และรางวัลดีเด่น โครงการประกวดเรียงความส่งเสริมประชาธิปไตย หัวข้อ "ประชาธิปไตย สมบูรณ์" ขณะเรียนอยู่ชั้น ม.5 ก่อนจะจบการศึกษาชั้น ม.6 เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา
ที่นี้เรามาดูว่าประชาธิปไตยเป็นอย่างไง.....

ประชาธิปไตยในสายตา พุทธทาส

การเมืองกับประชาธิปไตย กล่าวได้ว่าเป็นเรื่องเดียวกัน แต่ก็มีความต่างกันอยู่ในเนื้อใน และระดับชั้นการพัฒนา การเมืองเป็นเรื่องความรู้ ความคิด และการปฏิบัติจัดการสังคมทั่วไป ส่วนประชาธิปไตยเป็นเรื่องเดียวกัน แต่มีระดับที่สูงกว่า คือ ต้องใช้ขั้นที่รู้ดี คิดได้ และใช้เป็น

รู้อะไร คิดอะไร ใช้อะไร ?
รู้ความจริง คิดความจริง และใช้ความจริง หรือ
รู้ธรรม คิดตามธรรม และปฏิบัติตามธรรม ดังที่กล่าวแล้วในตอนต้น

ท่านพุทธทาสได้ให้แนวทางแก่เราไว้ว่า

“ประชาธิปไตยที่ว่าเป็นของประชาชน เพื่อประชาชน โดยประชาชน นั้น ใช้ได้เฉพาะประชาชนที่มีธรรมเท่านั้น, ถ้าประชาชนไม่มีธรรม มันก็กลายเป็นประชาธิปตายเท่านั้นเอง, ดังนั้น ต้องหว่านพืชธรรมก่อนพืชประชาธิปไตย.

ประชาธิปไตยเพื่อลดหรือป้องกันความหตก.(เห็นแก่ตัว)ถ้าเห็นแก่ตัวก็มีแต่ประ ชาธิปตาย, โดยไม่รู้สึกตัว ความไม่เห็นแก่ตัวจึงเป็นรากฐานของประชาธิปไตย, ประชาธิปไตยแท้จึงมีแต่ความไม่เห็นแก่ตัว ซึ่งเป็นของมีได้ยาก สำหรับปุปุชนสมัยนี้ที่บูชาวัตถุ.

ธรรมมีความเป็นประชาธิปไตยอยู่ในตัวเอง , เพราะหมายถึง ความไม่เห็นแก่ตัว อยู่โดยธรรมชาติ , อย่างแยบความไม่เห็นแก่ตัวออกจากประชาธิปไตย.”

(พุทธทาส อินทปญโญ. ป่วย 3 เดือนเกิดหนังสือเล่มนี้.มกรา-กุมภา-มีนา 35,2539 ปกหลัง)

วาทกรรมชิ้นนี้ เตือนสติเราเรื่องใด ?

เตือนสติเราเรื่องประชาธิปไตยกับเรื่องธรรมว่า ประชาธิปไตยที่เราพูดถึงกันว่า เป็นการให้ประชาชนเป็นใหญ่ ช่วยตนเองช่วยกันเอง โดยมีพิธีกรรมการเลือกตั้ง ส่งผู้แทนเข้าไปบริหารจัดการชุมชน ประเทศนั้น ตัวประชาชนเองจะต้องมีธรรม นั้นคือ ประชาชนส่วนใหญ่จะต้องมีธรรม โดยเฉพาะผู้นำในทุกระดับและทุกภาคส่วนจะต้องมีธรรม และตัวธรรมที่ท่านพุทธทาสชี้แนะคือ “ความไม่เห็นแก่ตัว” หรือความไม่หมกมุ่นอยู่กับการใฝ่รู้ ใฝ่คิด ใฝ่ทำ เพื่อกาม เพื่อกิน เพื่อเกียติ เพื่อตนเองและพวกพ้องของตนในวงแคบ

ตัวประชาชนที่จะเข้าไปใช้อำนาจที่เป็นของประชาชนส่วนใหญ่นั้น จะต้องมีธรรมสัจจะ ที่ว่า “สัตว์ทั้งหลายเป็นเพื่อนทุกข์ เกิด-แก่-เจ็บ-ตาย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น” อยู่ในใจ

ตัวประชาชนที่เป็นผู้ร่วมพิธีกรรมเลือกตั้ง (ลงคะแนน เสียง) ก็ต้องท่องคาถาธรรมสัจจะนี้ เพราะเป็นคาถาช่วยพัฒนาความเป็นมนุษย์ให้เคารพในความเป็นมนุษย์ของเพื่อน มนุษย์ รวมถึงสัตว์อื่น ๆ ด้วย สาระของคาถาธรรมสัจจะนี้ก็คือ คำที่จะเชื่อมโยงมนุษย์ทั้งกาย วาจา ใจ เข้าสู่ความจริงทั้งมวล ทั้งที่ตัวมนุษย์และสรรพสิ่งได้ง่ายขึ้น

ความเห็นแก่ตัว ของ มนุษย์เป็นธรรมสัจจะฝ่ายลบ ความไม่เห็นแก่ตัว เป็นธรรมสัจจะฝ่ายบวก คือ ช่วยสร้างสันติสุขให้มนุษย์และสังคมมนุษย์ได้อย่างดีวิเศษ

คาถาบทนี้ ใครรู้ใครท่องจำจนขึ้นใจและบริกรรมตลอดไปก็จะช่วยยกระดับความรู้ ความคิด และการกระทำให้สูงขึ้นได้

สรุป
การเมืองและประชาธิปไตยในสายตาของพุทธทาส ก็คือ การเมืองและประชาธิปไตยในสายตาของพุทธธรรมหรือพระพุทธองค์ผู้ทรงปราศจากความ เห็นแก่ตัว หลุดพ้นจากความยึดมั่นถือมั่น ในความเป็นตัวกู-ของกู แต่อยู่ด้วยปัญญาที่บริสุทธิ์สะอาด ช่วยให้มองโลกและชีวิตได้อย่างถูกต้องตามความเป็นจริงและสิ่งที่มนุษย์ควร รู้ ควรคิด ควรทำ เพื่อความผาสุกของตนและเพื่อนมนุษย์

พุทธทาส คือ ปราชญ์ผู้เดินตามรอยพระบาทพระพุทธองค์ เรียนรู้ธรรมจากคำสอนของพระพุทธองค์ แล้วนำสู่สังคมไทยและสังคมโลก จนโลกยกย่องยอมรับว่าเป็นพุทธธรรมแท้ไม่ผิดไม่เพี้ยน ใครรู้ได้ ทำได้ ใช้เป็น ก็จะเห็นผลแน่นอน

สังคมโลกและสังคมไทยกำลังเดินเข้าสู่ทางตันในการแก้ไขปัญหาสังคม การเมือง ถึงเวลาแล้ว ที่เราจะช่วยกันศึกษาเรียนรู้ และนำออกสู่การปฏิบัติ เพื่อพัฒนาตนเองและสังคมของเราต่อไป ดังวาทกรรมอีกบทหนึ่งของพุทธทาสภิกขุที่ว่า

“การเปลี่ยนแปลงสังคมเป็นสิ่งจำเป็น: ต้องเปลี่ยนแปลงอุดมคติของสังคมลงไปถึง สามัญชน มิฉะนั้น เขาไม่ทำแม้สิ่งที่เขาทำได้ มีแต่การเป็นทาสอายตนะ (รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสทางกายและธรรมารมณ์ : ผู้เขียน)

“สังคม คือ ตัวเรา : มิใช่เสร็จเรื่องส่วนตัวแล้วจึงจะคิดถึงสังคม ลงมือทำอะไรก็นึกถึงสังคมไปตั้งแต่แรก นี้แหละคือ อุดมคติของสามัญชน”

(พุทธทาสภิกขุ ใน “ป่วย 3 เดือน เกิดสมุดเล่มนี้ มกราคม-กุมภาพันธ์-มีนาคม 2535)

จากหนังสือ วาทะธรรมทางการเมือง ของพุทธทาสภิกขุ ซึ่งเรียบเรียงโดย ไพโรจน์ อยู่มณเฑียร จัดพิมพ์โดย บ้านลานธรรม

***********************************************************

ระบบประชาธิปไตย มันเป็นระบบครองโลกหรือเกี่ยวถึงกันไปหมดทั้งโลก ถ้าว่าระบบนี้มันมืดมิดแล้วก็ ทั้งโลกมันจะมืดมิด แล้วมันก็กำลังมืดมิดเพราะว่าความเป็นประชาธิปไตยมันไม่ค่อยจะมี

ทางประชาธิปไตยนั่นฟ้าสางอย่างไร พูดสั้น ๆ ก็ว่า คือการทำให้ศีลธรรมกลับมาเป็นรากฐานของประชาธิปไตย ประชาธิปไตยนี้มันดีต่อเมื่อมีศีลธรรมเป็นรากฐาน ถ้าไม่มีศีลธรรมเป็นรากฐานมันก็เป็นประชาธิปไตยโกง

ประชาธิปไตยโกงนั่นมันร้ายกาจอย่างไร คือประชาชนทั้งหลายไม่มีศีลธรรม แต่ถือระบบประชาธิปไตย มันก็มีโอกาสที่จะใช้กิเลสของตนอย่างเสรี แต่ละคน ๆ มีเสรีภาพที่จะใช้กิเลสของตนอย่างเต็มที่ แล้วจะทนไหวหรือ ในเมื่อทุกคนใช้กิเลสของตนอย่างเต็มที่เมื่อประชาชน ทุกคนมันไม่มีศีลธรรม มันโกง มันก็เลือกผู้แทนโกงระวังให้ดี อย่าเป็นประชาชนโกง เลือกผู้แทนโกง มันจะเป็นการทำลายเกินไป
เมื่อประชาชนเลือกผู้แทนโกง ก็ได้ผู้แทนโกง ผู้แทนโกงทั้งหลายไปประกอบกันเป็นรัฐสภา ก็เป็นรัฐสภาโกง รัฐสภาโกงไปตั้งคณะรัฐบาล ก็เป็นคณะรัฐบาลโกง เจ้าหน้าที่ทุกคนก็เป็นคนโกง โกงกันทั้งบ้านทั้งเมือง จนกระทั่งพระเจ้าพระสงฆ์ก็ไม่เว้น หรือจะโกงขึ้นไปถึงเทวดา เพราะว่าคนโกงมันทำบุญทำกุศลไปเกิดเป็นเทวดา มันก็เป็นเทวดาโกง โกงกันหมดทั้งจักรวาล แล้วจะอยู่กันได้อย่างไร

ประชาธิปไตยต้องมีศีลธรรมเป็นรากฐาน ไม่อย่างนั้นจะเป็นประชาธิปไตยไม่ได้ ที่พูดกันว่า ประชาธิปไตยดีกว่าระบบใดนั้น หลับตาพูด คนไทยนับถือฝรั่งเป็นอาจารย์ เมื่อฝรั่งเขาว่าอย่างไร ก็พูดตามกันไปอย่างนั้น ว่าประชาธิปไตยนี้เพื่อประชาชน ของประชาชน โดยประชาชน แต่ลืมพูดไปว่าที่นี่มีศีลธรรม

“ประชาธิปไตย” เบื้องต้นสำหรับสามัญชน

โดย ปรีดี พนมยงค์


ความ หมายของคำว่า “ประชาธิปไตย”

คำว่า “ประชาธิปไตย” ประกอบด้วยคำว่า “ประชา” หมายถึงหมู่คนคือปวงชน กับคำว่า ”อธิปไตย” หมายถึงความเป็นใหญ่

คำว่า “ประชาธิปไตย” จึงหมายถึง “ความเป็นใหญ่ของปวงชน”

ราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายของคำว่า “ประชาธิปไตย” ไว้ในหนังสือพจนานุกรมของทางราชการว่า “แบบการปกครองที่ถือมติปวงชนเป็นใหญ่”

ทั้งนี้พึงเข้าใจว่าการที่ปวงชนจะมีความเป็นใหญ่ในการแสดงมิติได้ก็จำเป็น ที่ชนทุกคนรวมกันเป็นปวงชนนั้นต้องมี “สิทธิและหน้าที่ของมนุษยชน” อันเป็นสิทธิและหน้าที่ตามธรรมชาติของทุกคนที่เกิดมาเป็นมนุษย์ คือ สิทธิเสรีภาพและความเสมอภาคซึ่งมนุษย์จะต้องใช้พร้อมกันกับหน้าที่ มิให้เกิดความเสียหายแก่เพื่อมนุษย์อื่นและหมู่คนอื่นหรือปวงชนเป็นส่วนรวม ถ้าชนส่วนมากซึ่งเป็น “สามัญชน” ถูกตัดสิทธิมนุษยชนโดยให้มีหน้าที่แต่อย่างเดียว สามัญชนก็มีลักษณะเป็นทาส หรือข้าไพร่ของชนส่วนน้อยซึ่งมีสิทธิใหญ่ยิ่งหรือ “อภิสิทธิ์ชน” แบบการปกครองจึงไม่ใช่ประชาธิปไตย ถ้าสามัญชนมีสิทธิมนุษยชนอย่างเดียว โดยไม่มีหน้าที่ มนุษยชนแบบการปกครองก็เกินขอบเขตของประชาธิปไตย



หลักการของระบอบประชาธิปไตย

วิทยากร เชียงกูล

ความ หมายและความสำคัญ

ระบอบประชาธิปไตย หมายถึง ระบอบการปกครองตนเองของประชาชน ตรงกันข้ามกับระบอบอำนาจนิยม ( เช่น ระบอบราชาธิปไตย , ระบอบเผด็จการทหาร, ระบอบ อำมาตยาธิปไตย ) ซึ่งเป็นระบอบปกครองโดยคนเดียว หรือโดยคน กลุ่มน้อย ผู้มีอำนาจมากกว่าประชาชนทั่วไป (เรียกว่า พวกอภิสิทธิชน) ในโลกยุคเศรษฐกิจตลาดเสรีสมัยใหม่ คนส่วนใหญ่ซึ่งเป็นพลเมือง ผู้ เสียภาษี(ทั้งทางตรงและทางอ้อม) และเป็นเจ้าของสาธารณสมบัติร่วมกัน เชื่อว่าระบอบประชาธิปไตย เป็นระบอบที่จะสร้างความมีประสิทธิภาพ(ในการแก้ปัญหาและพัฒนาประเทศ) และความเป็นธรรม ได้มากกว่าระบอบอำนาจนิยม ในบาง สถานการณ์ ในระบอบอำนาจนิยม อาจจะมีผู้ปกครองที่เป็นคนดีหรือคนเก่งอยู่บ้าง แต่ก็ไม่มีหลักประกันว่า เขาหรือลูกหลาน หรือพรรคพวกเขา ที่ได้ตำแหน่งจากการสืบเชื้อสาย หรือ การแต่งตั้ง จะปกครองประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นธรรม สำหรับคนส่วนใหญ่เสมอไป เพราะระบบสืบเชื้อสายและแต่งตั้งเป็นระบบที่ไม่แน่นอน และไม่ มีประสิทธิภาพ และเพราะว่าการให้คนสืบทอดอำนาจโดยไม่มีการ ตรวจสอบถ่วงดุลมักนำไปสู่การฉ้อฉลเพื่อประโยชน์ส่วนตน ระบอบ ประชาธิปไตยดีกว่าระบอบอำนาจนิยมในแง่ที่ว่า มีระบบคัดเลือก ผู้บริหารที่มีประสิทธิภาพกว่า และมีระบบการตรวจสอบถ่วงดุล อำนาจเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ปกครองมีอำนาจมากจนเกินไปได้ดีกว่า แต่ทั้งนี้ต้องเป็นระบอบประชาธิปไตยที่ประชาชน มีส่วนร่วมอย่างแท้จริง ไม่ใช้สักแค่มีการเลือกตั้ง แต่ยังมีการซื้อเสียงขายเสียง การโกง การใช้อำนาจและระบบอุปถัมภ์

รูปแบบประชาธิปไตย
ระบอบประชาธิปไตย หรือการปกครองตนเองของประชาชน อาจจะแบ่งเป็น
1.ประชาธิปไตยโดยตรง – ประชาชน มาประชุมกัน อภิปรายและลงคะแนนกันในเรื่องสำคัญ เช่น การประชุมเรื่องงบประมาณ กฏหมาย ในระดับท้องถิ่น หรือการลงประชามติในระดับประเทศ เช่น การจะ รับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
2.ประชาธิปไตยโดยระบบผู้แทน เนื่อง จากประเทศส่วนใหญ่มีประชาชนมาก มีความซับซ้อน ต้องแบ่งงานกันทำ จึงมักใช้วิธีเลือกผู้แทนขึ้นไปเป็นฝ่ายบริหารและ ฝ่ายออกกฏหมาย
3.ประชาธิปไตย แบบประชาชนมีส่วนร่วม การผสมผสานทั้ง 2 แบบ แรก รวมทั้งการให้ประชาชนมีการปกครองตนเองในระดับท้องถิ่น มีองค์กร อิสระที่รักษาผลประโยชน์ฝ่ายประชาชน มีสื่อมวลชนและองค์กรประชาชนที่เข้มแข็ง ภาคประชาชนหรือสังคม พลเมืองมีบทบาทในการตัดสินใจเรื่องการบริหารประเทศค่อนข้างมาก ไม่ได้ปล่อยให้ผู้แทนทำทุกอย่างโดยประชาชนให้ใช้สิทธิแค่เลือกตั้งผู้แทน นานๆครั้งเท่านั้น ตั้งแต่ปี 2475 ประเทศ ไทย ใช้ประชาธิปไตยแบบที่ 2 เป็นบางช่วง (บางช่วงเป็ฯเผด็จการทหาร) ประเทศไทยควรใช้แบบที่ 1 และ 3 เพิ่มขึ้นเพราะระบอบประชาธิปไตย โดยระบบผู้แทนมีข้อจำกัด โดยเฉพาะในสภาพที่นักการเมืองกลุ่มน้อยมีฐานะทางเศรษฐกิจสูง มีอำนาจและความรู้สูงกว่าประชาชนส่วนใหญ่มาก ทำให้คนกลุ่มนี้มักได้เป็นผู้แทน และมักจะทำอะไรก็ทำได้ตามใจ ชอบ รวมทั้งการคอรัปชั่น,การหาผลประโยชน์ทับ ซ้อน โดยอ้างว่าเพราะประชาชนเลือกพวกเขาเข้าไปแล้ว เขาจะทำอะไรก็ถือว่าเป็นประชาธิปไตยทั้งนั้น ประชาธิปไตย โดยระบบผู้แทน หมายถึงว่า ประชาชนเลือกผู้แทนเข้าไปเป็นผู้บริหารจัดการแทนตัวพวกเขา เพื่อให้บริหารประเทศเพื่อประโยชน์ของประชาชน ไม่ใช่เลือกไปเป็นเจ้านายและประชาชนยังมีสิทธิคัดค้านถอดถอนผู้แทนที่ขึ้นไป เป็นรัฐบาลแล้วไม่ได้ทำหน้าที่อย่างซื่อตรงและเพื่อส่วนรวมด้วย แต่รัฐธรรมนูญที่ผ่านมาไม่ได้เปิดช่องทางและไม่มีการให้การศึกษาและข่าวสาร แก่ประชาชนว่า ประชาชนมีสิทธิ ประการหลังที่สำคัญนี้ด้วย ประชาชน ไม่ได้เลือกผู้แทนไปเป็นเจ้านายในระบอบอำนาจนิยมซึ่งเป็นระบอบเก่า แต่วัฒนธรรมแบบอำนาจนิยม (ยกย่องเกรงกลัวคนมีอำนาจ) ยังคงตกค้างมาจนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะในประเทศไทยและประเทศ กำลังพัฒนาอื่นๆ ที่ประชาชนได้รับการศึกษาและข่าวสารน้อยและหรือได้รับแบบคุณภาพต่ำ ทำ ให้เป็นประชาธิปไตยแค่รูปแบบ หรือเป็นประชาธิปไตยเพียงบางส่วน ยังไม่ใช่การปกครองตนเองของประชาชน ที่ประชาชนมีส่วนร่วม อย่างแท้จริง ระบอบประชาธิปไตย ไม่ใช่หมายถึงแค่ ประชาธิปไตย ทางการเมือง (ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพ เลือกตั้ง คัดค้าน ถอดถอน ผู้แทนได้) เท่านั้น หากต้องเป็นประชาธิปไตยทาง เศรษฐกิจ (มีการกระจายทรัพย์สิน และรายได้ที่เป็นธรรม มีการแข่งขันที่เป็นธรรม) และประชาธิปไตยทาง สังคม (ประชาชนมีการศึกษา รับรู้ข้อมูลข่าวสาร มีสิทธิเสรีภาพ และโอกาสการเข้าถึง ศาสนา ความเชื่อ ศิลปวัฒนธรรม อย่างเสมอภาคกัน) ด้วย ประชาธิปไตย 2 อย่างหลังนี้ ประเทศไทยยังมีน้อย รวมทั้ง ไม่มีการให้การศึกษา ให้ความรู้ ข้อมูลข่าวสารประชาชนในเรื่องนี้มากพอ เป็นเหตุให้ประชาธิปไตย การเมือง พัฒนาไปได้ช้ามาก

ประชาธิปไตย ในแง่เนื้อหา ระบอบประชาธิปไตยไม่ได้หมายถึง แค่ระบบการเลือกตั้ง หากต้องประกอบไปด้วยสภาวะความเป็นประชาธิปไตย อย่างน้อย 6 ข้อ คือ

1. การเลือกตั้งผู้แทน จะต้องเป็นอิสระและยุติธรรม ไม่มีการใช้อำนาจหน้าที่ของ เจ้าหน้าที่รัฐ เพื่อโกงการเลือกตั้ง ไม่มีการซื้อเสียงขายเสียง และการที่กลุ่มอภิสิทธิชนใช้อำนาจอิทธิพลระบอบอุปถัมภ์ ให้คนต้องเลือกเฉพาะพวกเขาบางคน
2. จะต้องมีระบบการ ตรวจสอบถ่วงดุลอำนาจที่ดี เช่น ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายตุลาการ องค์กรอิสระ องค์กรประชาชนสามารถตรวจสอบถ่วงดุลฝ่ายบริหารได้ และต่างฝ่ายต่างตรวจสอบถ่วงดุลซึ่งกันและกัน รวมทั้งภาคประชาชนสามารถถอดถอนผู้แทนที่มีพฤติกรรมไม่ชอบธรรมได้
3. การบริหารบ้านเมือง จะต้องโปร่งใส มีเหตุผลอธิบายได้ เป็นไปเพื่อประโยชน์ส่วนรวม ไม่มีการคอรัปชั่น การหาผลประโยชน์ทับซ้อน การเล่นพรรคพวก หาประโยชน์ส่วนตัว
4. มีรัฐธรรมนูญและ กฏหมาย ขนบธรรมเนียม ที่มุ่งประโยชน์คนส่วนใหญ่ อย่างมี เหตุผล มีความคงเส้นคงวา คนส่วนใหญ่ยอมรับ และรัฐธรรมนูญ กฎหมาย เหล่านั้นมีผลบังคับใช้ด้วย
5. สื่อมวลชนและองค์กร ประชาชนมิสิทธิเสรีภาพ, เป็นอิสระ, มี ศักดิ์ศรี และเข้มแข็ง ประชาชนมีจิตสำนึกความเป็นพลเมือง และมีส่วนร่วมในการไปใช้สิทธิเลือกตั้ง การแสดงความคิดเห็น การสมาคม การชุมนุม การทำประชาพิจารณ์ (เปิดอภิปรายความคิดเห็น ประชาชนเรื่องกฏหมายและโครงการต่างๆ) และการลงประชามติว่า ประชาชนจะรับหรือไม่ในเรื่องสำคัญๆ
6. มีการกระจายการ พัฒนาเศรษฐกิจ สังคม สู่ประชาชน ทำให้เกิดประชาธิปไตยทาง เศรษฐกิจและสังคม และการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมที่มั่นคง สม่ำเสมอ

ดังนั้น แม้จะมีการเลือกตั้งและมีผู้สมัคร สส. จากพรรคการเมืองพรรคหนึ่ง ได้รับการเลือกตั้งเข้ามาด้วยเสียงข้างมาก แต่ถ้าไม่ได้เกิดสภาวะความเป็นประชาธิปไตยตามแนวทาง 6 ข้อนี้ เช่น เป็นรัฐบาลที่ใช้อำนาจผูกขาดแทรกแซงองค์กรอิสระ ปิดปากสื่อมวลชนและประชาชน คอรัปชั่น หาผลประโยชน์ส่วนตนและพวกพ้อง เราก็ควรถือว่าระบอบการปกครองแบบนี้เป็นระบอบประชาธิปไตยเพียงเปลือกนอก หรือเป็นประชาธิปไตยจอมปลอม ไม่ใช่ระบอบประชาธิปไตยที่ ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง

หากในบางช่วง เช่น หลัง พ.ศ. 2475-2490 , พ.ศ. 2516-2519 ฯลฯ เรามีสภาวะความเป็นประชาธิปไตยบางข้อ มากบ้างน้อยบ้าง ก็อาจถือว่ามีความเป็นระบอบประชาธิปไตยในเชิงเปรียบเทียบ (กับประเทศอื่น,กับประวัติศาสตร์ช่วงอื่น) ได้ระดับหนึ่ง ประเด็นที่สำคัญคือ ประเทศใดจะเป็นประชาธิปไตยในแง่เนื้อหามากน้อยแค่ไหน ขึ้นอยู่กับความตื่นตัวและความเข้มแข็งของภาคประชาชนในแต่ละประเทศ ในแต่ละช่วงตอนของประวัติศาสตร์เป็นสำคัญหลักการประชาธิปไตยระบอบประชาธิปไตย อยู่บนรากฐานหลักการที่สำคัญ 5 ประการ คือ
1. หลักการอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน ประชาชน แสดงออกซึ่งการเป็นเจ้าของโดยใช้อำนาจที่มีตามกระบวนการเลือกตั้งอย่าง อิสระและทั่วถึงในการให้ได้มาซึ่งตัวผู้ปกครองและผู้แทนของตน รวมทั้งประชาชนมีอำนาจในการคัดค้านและถอดถอนผู้ปกครองและผู้แทนที่ประชาชน เห็นว่า มิได้บริหารประเทศในทางที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวม เช่น มีพฤติกรรมร่ำรวยผิดปกติ 2. หลักเสรีภาพ ประชาชนทุกคนมีความสามารถในการกระทำหรืองดเว้นการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งตาม ที่บุคคลต้องการ ตราบเท่าที่การกระทำของเขานั้น ไม่ไปละเมิดลิดรอนสิทธิเสรีภาพของบุคคลอื่น หรือละเมิดต่อความสงบเรียบร้อยของสังคมและความมั่นคงของประเทศชาติ
3. หลักความเสมอภาค การเปิดโอกาสให้ประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงทรัพยากรและคุณค่าต่างๆของสังคม ที่มีอยู่จำกัดอย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่ถูกกีดกันด้วยสาเหตุแห่งความแตกต่างทางชั้นวรรณะทางสังคม ชาติพันธุ์ วัฒนธรรมความเป็นอยู่ ฐานะทางเศรษฐกิจ หรือด้วยสาเหตุอื่น
4. หลักการปกครองโดยกฏหมายหรือหลัก นิติธรรม การให้ความคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานของ ประชาชนทั้งในเรื่องสิทธิเสรีภาพในทรัพย์สิน การแสดงออก การดำรงชีพ ฯลฯ อย่างเสมอหน้ากัน โดยผู้ปกครองไม่สามารถใช้อำนาจใดๆลิดรอน เพิกถอนสิทธิเสรีภาพของประชาชนได้ และไม่สามารถใช้อภิสิทธิอยู่เหนือกฏหมาย หรือเหนือกว่าประชาชนคนอื่นๆได้
5. หลักการเสียงข้างมาก (Majority rule)ควบ คู่ไปกับการเคารพในสิทธิของเสียงข้างน้อย (Minority Rights) การ ตัดสินใจใดๆที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนหมู่มาก ไม่ว่าจะเป็น การเลือกตั้งผู้แทนของประชาชนเข้าสู่ระบบการเมือง การตัดสินใจของฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร หรือฝ่ายตุลาการ ย่อมต้องถือเอาเสียงข้างมากที่มีต่อเรื่องนั้นๆ เป็นเกณฑ์ในการตัดสินทางเลือก โดยถือว่าเสียงข้างมากเป็นตัวแทนที่สะท้อนความต้องการ/ข้อเรียกร้องของ ประชาชนหมู่มาก หลักการนี้ ต้องควบคู่ไปกับการ เคารพ และคุ้มครองสิทธิเสียงข้างน้อยด้วย ทั้งนี้ก็เพื่อ เป็นหลักประกันว่า ฝ่ายเสียงข้างมากจะไม่ใช้วิธีการพวกมากลากไปตามผลประโยชน์ความเห็นหรือกระแส ความนิยมของพวกตนอย่างสุดโต่ง แต่ต้องดำเนินการเพื่อประโยชน์ของประชาชนทั้งหมด เพื่อสร้างสังคมที่ประชาชนเสียงข้างน้อย รวมทั้งชนกลุ่มน้อย ผู้ ด้อยโอกาสต่างๆ สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข โดย ไม่มีการเอาเปรียบกันและสร้างความขัดแย้งในสังคมมากเกินไป ค่านิยม ทัศนคติ ที่ส่งเสริมประชาธิปไตย ระบอบประชาธิปไตย นอกจากจะเป็นระบอบการเมืองแล้ว ยังเป็นระบอบเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมด้วย ดังนั้นจึงไม่ใช่อยู่ที่รัฐธรรมนูญ กฏหมาย การเลือกตั้ง และการต่อรองทางการเมืองเท่านั้น หากอยู่ที่สมาชิกในสังคมจะ ต้องช่วยกันหล่อหลอม สร้างค่านิยม วิถีชีวิต ที่เป็นประชาธิปไตย มาตั้งแต่ในครอบครัว โรงเรียน ที่ทำงาน ชุมชน เพื่อจะนำไปสู่หรือการปกป้อง ระบอบประชาธิปไตย ทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม

ค่านิยมประชาธิปไตยที่ประชาชน ระบบการศึกษา สื่อมวลชน ฯลฯ ควรช่วยกันสร้างคือ
1. เป็นคนที่มีเหตุผล ยอมรับเรื่องสิทธิหน้าที่ ความเป็นจริงในทางสังคม เคารพในตัวเอง เคารพในศีลธรรมและ ประโยชน์ร่วมกันของส่วนรวม
2. มีทัศนคติที่ดีต่อ เพื่อนมนุษย์ มีความเคารพซึ่งกันและกัน และมีความสามัคคี

3. เข้าใจความจำเป็นและ ประโยชน์ของการเข้ามาอยู่ร่วมกันเป็นพลเมืองของประเทศ เพื่อประโยชน์ของ สมาชิกทุกคนในระยะยาว

4. เคารพกฏหมายและ ดำเนินชีวิตในกรอบของกฏหมายที่มีเหตุผลและเป็นธรรม

5. มีจิตใจเปิดกว้างและ พร้อมที่ปรับตัวรับกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมได้

6. เป็นคนที่มีความรับ ผิดชอบผูกพันกับสิ่งที่เขาได้กระทำลงไป

7. มีจิตใจที่เป็นธรรม เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ไม่มีอคติต่อผู้ที่มีความแตกต่างจากตน เช่น นับถือ ศาสนาอื่นหรือเชื้อชาติอื่น เป็นต้น บทบาทของประชาชนในการเสริมสร้างระบอบ ประชาธิปไตย ไม่ใช่แค่การใช้สิทธิในการเลือกตั้งนานๆครั้ง และพยายาม เลือกคนดีคนเก่งมาบริหารประเทศเท่านั้น ประชาชนต้องขวนขวาย ศึกษา พัฒนาตนเอง ใช้สิทธิและหน้าที่พลเมืองที่ดีเข้าไปแสดงความคิดเห็นและมีส่วนร่วมในการ บริหารประเทศ ในการตัดสินใจ เรื่องการใช้ทรัพยากรของประเทศ การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ของชุมชน จังหวัด และประเทศ อย่างแข็งขัน และอย่างสม่ำเสมอตลอด ทั้งปีและทุกปีด้วย

ธรรมะธรรมชาติ
การเมืองใหม่: ประชาธิปไตยศีลธรรม ผู้เขียน ดร.บวร ประพฤติดี และ รศ.ดร.ทิพาพร พิมพิสุทธิ์
วันจันทร์, ตุลาคม 5th, 2009
บทนำ
ประชาธิปไตยเป็นทุนทางสังคมวัฒนธรรมและจริยธรรม สังคมตะวันตกได้พัฒนาระบอบประชาธิปไตยและสร้างวัฒนธรรมการเมืองแบบมีส่วน ร่วมที่เป็นหลักจริยธรรม วิถีชีวิตและวัฒนธรรมการเมืองตะวันตกเพื่อกำหนดระบบการปกครองบ้านเมืองที่ดี ประชาชนได้รับประโยชน์จากการเมืองแบบประชาธิปไตย กรอบแนวคิดประชาธิปไตยแบบทุนของตะวันตกได้ส่งออกไปทั่วโลกผ่านระบบการศึกษา ที่เป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อการสร้างชาติและสังคมประเทศ ไทยก็ไม่มีข้อยกเว้น
โจทก์ที่ตั้งคือกว่า 76 ปี ของการพัฒนาทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของประเทศไทย เราเรียนรู้ระบอบประชาธิปไตยแบบทุนนิยมของประเทศตะวันตกที่เราลอกเลียนแบบมา มากน้อยแค่ไหน เพียงพอแล้วหรือยัง ?ทำไมระบอบประชาธิปไตยแบบทุนนิยมที่ลอกเลียนแบบมาไม่สามารถนำไปสู่การ พัฒนาการเมืองแบบประชาธิปไตยในสังคมไทย ? อะไรคือตัวปัญหาของการพัฒนาประชาธิปไตยไทยและทางออกทางการเมืองคืออะไร?
ประชาธิปไตยแบบนายทุน
ประชาธิปไตยทุนนิยมเป็นทุนทางสังคมและวัฒนธรรมของตะวันตกที่มีเอกลักษณ์และ บริบทแบบตะวันตก กระบวนการเรียนรู้ทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคมสิ่งแวดล้อมถ่านทอดผ่านสถาบันการศึกษาและสถาบันทางการเมือง พรรคการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์ การสรรหานักการเมืองผ่านกระบวนการคัดเลือกทั้งทางสังคม การเมืองและกระบวนการมีส่วนร่วมเชิงจริยธรรม
กระบวนการมีส่วนร่วมทางการเมืองในสังคมตะวันตกจึงเป็นกลไกที่ควบคุมและไม่ เปิดโอกาสให้การเลือกตั้งกลายเป็นกระบวนการซื้อสิทธิขายเสียง สรรหานักการเมืองโกงเข้าสภาและวางนโยบายของรัฐเพื่อเป็นการแบ่งผลประโยชน์ ต่างตอบแทนของชนชั้นนำที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนที่เรียกว่าการ คอรัปชั่นเชิงนโยบาย พรรคการเมืองจะทำหน้าที่มากกว่าสรรหานักการเมืองคุณธรรมคือเป็นสถาบัน พัฒนาการศึกษาทางการเมืองให้กับประชาชนและประชาชนมีบทบาทสูงในการตรวจสอบ กิจกรรมการเมืองทั้งทางตรงและทางอ้อม นักการเมืองที่เลวร้ายเกิดได้แต่ตายอย่างรวดเร็วในระบบที่การตรวจสอบของภาค ประชาชนเข้มแข็ง
การเมืองแบบตะวันตกเป็นการเมืองของนายทุนและกลุ่มผลประโยชน์นักวิชาการตะวัน ตกผู้โด่งดังฮาโรลล์ แลสเวลล์ กล่าวว่าการเมืองเป็นเรื่อง “ ใครได้ ได้อะไร เมื่อไร อย่างไรและให้กับกลุ่มใด” ดังนั้นกระบวนการมีส่วนร่วมทางการเมืองเพื่อจัดสรรทรัพยากรเพื่อสังคมจึง สำคัญสำหรับสังคมตะวันตกเป็นวัฒนธรรมประชาธิปไตยที่กระบวนการตรวจสอบจากภาค ประชาชนสั่งสมจนกลายเป็นวิถีชีวิตประชาธิปไตยมีอิทธิพลเหนือวิธีคิดและการ ปฏิบัติของคนตะวันตกมาช้านาน
ดังนั้นเราจะเห็นชัดว่ากระบวนการตรวจสอบของระบอบประชาธิปไตย มีทั้งรูปแบบทางการและไม่เป็นทางการเป็นกระบวนการสำคัญยิ่ง เพราะคนส่วนใหญ่มีพื้นฐานความรู้ทางการเมือง มีการเข้าร่วมทางการเมืองสูงเพื่อกำหนดทิศทางเดินของรัฐบาลภายใต้กรอบ ประชาธิปไตยที่ถูกกำหนดโดยกลุ่มผลประโยชน์ธุรกิจการเมือง ประโยชน์สาธารณะในสังคมตะวันตกจึงถูกจัดสรรผ่านกระบวนการทางการเมืองในระบอบ ประชาธิปไตยแบบทุนที่มีการตรวจสอบจากกลุ่มผลประโยชน์ทางการเมืองและสังคม
การตรวจสอบที่เป็นทางการจะเข้มข้นมากเริ่มตั้งแต่นักการเมืองที่อาสาเข้ามา รับใช้ประชาชนต้องมีคุณธรรมเราเคยเห็นนายแกรี่ ฮาทท์ อดีตนักการเมืองคนดังตัวเต็งผู้สมัครตัวแทนพรรคเดโมแครต์เพื่อเป็น ประธานาธิบดีของประเทศ ถูกสื่อมวลชนนำเสนอปัญหาเรื่องศีลธรรมเพราะทำตัวไม่เหมาะสมเรื่องสตรีที่ไม่ ใช่ภรรยาก็ถอนตัวจากการเป็นผู้สมัครทันที อดีตประธานาธิปดีริชาร์ด เอ็ม นิกสันถูกประชาชนต่อต้านเมื่อลงจากตำแหน่งเพราะเป็นผู้นำที่ไม่ดี( Social Sanction ) เป็นต้น
ดังนั้นกระบวนการพัฒนาประชาธิปไตยแบบตะวันตกจึงเน้นการพัฒนาทรัพยากรบุคคล ทางการเมืองในกรอบวัฒนธรรมการเมืองแบบมีส่วนร่วม การศึกษาประชาธิปไตยจึงเป็นกระบวนการเรียนรู้ทั้งจากภายในห้องเรียนและฝึก ปฏิบัตินอกห้องเรียน ในบ้านและนอกบ้านหลากหลายไม่มีสายการบังคับบัญชาควบคุมการเปลี่ยนแปลงกระบวน ทัศน์และวิธีคิดของประชาชน กระบวนการเรียนรู้ทางการเมืองแบบมีส่วนร่วมจึงทำให้ระบบการตรวจสอบทางการ เมืองสามารถควบคุมความเลวร้ายของนักกินเมือง นักโกงเมืองนักเลงใหญ่ไม่สามารถเข้ารับการสรรหาในระบบการเมืองแบบนี้ได้ง่าย นัก
การเมืองไทย นายทุน ขุนศึก ข้าราชการ
การเมืองไทยแบบโคบาลตะวันตกเป็นการรวมตัวกันของกลุ่มผลประโยชน์ที่ขาด คุณธรรม ระหว่างนักธุรกิจเจ้าของทุนใหญ่ที่ขาดความรับผิดชอบต่อสังคม( Corporate Social Responsibility ) นักการเมืองผู้กำหนดนโยบายจากอำนาจดุลพินิจและข้าราชการที่ขาดจิตสาธารณะ ร่วมคิดจัดการบริหารทรัพย์สินของประชาชนให้กับกลุ่มผลประโยชน์ดังกล่าว กลุ่มผลประโยชน์ที่เป็นชนชั้นนำใช้การศึกษาแบบตะวันตกวางวิสัยทัศน์การพัฒนา ประชาธิปไตยภายใต้กรอบนโยบายการสร้างชาติให้ทันสมัยแบบไร้ปัญญาและจริยธรรม นำไปสู่กระบวนการโกงชาติปล้นแผ่นดินที่เรียกว่าการทุจริตเชิงนโยบายที่เห็น ปัจจุบัน
ภายใต้กรอบของวัฒนธรรมไทยที่เน้นความสัมพันธ์เชิงอำนาจ ผู้ปกครองจึงใช้กฎหมายและดุลพินิจเชิงอำนาจ( Discretionary Power ) ขับเคลื่อนวิสัยทัศน์การพัฒนาทางการเมืองของประเทศไทยให้ทันสมัยแบบพี่งพามา ตลอดระยะเวลากว่า 76 ปี เราจึงเห็นการเปลี่ยนผ่านของการเมืองแห่งอำนาจและผลประโยชน์ระหว่างกลุ่มนาย ทุน ขุนศึกและข้าราชการตลอดเวลาโดยประชาชนผู้ได้รับผลกระทบ( Policy Stakeholders )ไม่ได้มีส่วนร่วมในการกำหนดการเปลี่ยนแปลงวิสัยทัศน์ในการบริหารและพัฒนา ประเทศตลอดหลายทศวรรษของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของประเทศ
กระบวนการมีส่วนร่วมทางการเมืองที่เป็นบริบทสำคัญของการพัฒนาประชาธิปไตยแท้ จริงแล้วเป็นกระบวนการมีส่วนร่วมสั่งการจากผู้มีอำนาจ ชนชั้นนำกำหนดนโยบายในแนวดิ่งมากกว่ากระบวนการมีส่วนร่วมในแนวราบที่ประชาชน คิดร่วมทำในบริบทของภาคประชาชน เมื่อเป็นเช่นนี้นโยบายสาธารณะที่ดีจึงไม่สามารถเกิดได้อย่างเต็มรูปแบบใน โครงสร้างประชาธิปไตยแนวดิ่ง จะมีแต่นโยบายของชนชั้นนำหรือกลุ่มผลประโยชน์กลุ่มใหญ่ที่ใช้สรรพนามว่า รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งเท่านั้นเอง เราจึงเห็นกระบวนการทุจริตเชิงนโยบายจากการคิดแนวดิ่งของกลุ่มผลประโยชน์ ดังกล่าวตลอดมาจนปัจจุบัน
กระบวนการตรวจสอบทางการเมืองจากภาคประชาชนจึงขาดพลังเพราะการจัดตั้งองค์กร อิสระทางการเมืองเน้นการสรรหาบุคลากร การกำหนดคุณสมบัติของกรรมการตรวจสอบเป็นกรอบการคิดแนวดิ่งตลอด เราจึงมีแต่ผู้ทรงคุณวุฒิจากระบบราชการที่คุ้นเคยกับวัฒนธรรมอำนาจมาเป็นผู้ ตรวจสอบซึ่งมีผลให้การตรวจสอบขาดพลังเป็นอย่างยิ่ง นอกจากนั้นนักการเมืองผู้มีอำนาจได้เข้าไปแทรกแซงกระบวนการสรรหากรรมการตรวจ สอบในองค์กรอิสระดังที่เราทราบกันมา ยิ่งทำให้กระบวนนี้ไม่มีผลในภาคปฏิบัติ
การพัฒนาทรัพยากรบุคคลทางการเมืองไทย จึงเป็นการพัฒนาในกรอบแนวดิ่งเชิงอำนาจ ตัวอย่างเช่นพรรคการเมืองส่วนใหญ่จะคัดเลือกนักการเมืองจากกลุ่มชนชั้นนำ อดีตข้าราชการ กลุ่มอิทธิพลท้องถิ่น และครอบครัวนักการเมืองถ่ายทอดทายาทเป็นรุ่นๆและผูกขาดการเมืองแบบครอบครัว และผลประโยชน์ส่วนตนและพวกพ้อง ตัวอย่างเช่นนักการเมืองแบบครอบครัวที่มีอิทธิพลในจังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นอาทิ
การเมืองไทยมาถึงจุดทางตันไม่มีทางออกเพราะสาเหตุสำคัญดังกล่าวมาคือการ เมืองเป็นเรื่องการใช้อำนาจดุลพินิจที่ขาดศีลธรรมและคุณธรรมเพื่อประชาชน การเมืองเป็นเรื่องส่วนตัวของนักการเมืองกำหนดนโยบายเพื่อการทุจริตเชิง นโยบาย นำเงินงบประมาณแบ่งปันเพื่อผลประโยชน์ของกลุ่มชนชั้นนำมากกว่าที่จะนำเงิน ภาษีประชาชนไปแก้ปัญหาความทุกข์ยากของประชาชนอย่างจริงจัง การเมืองเชิงอำนาจที่ขาดศีลธรรมมาถึงจุดวิกฤติเมื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ยึดอำนาจประเทศไทยจากกระบวนการเลือกตั้งที่กล่าวกันว่าทุจริตครั้งใหญ่ที่ สุด จนพรรครัฐบาล ไทยรักไทยถูกตัดสินโดยกระบวนการตุลาการให้ยุบพรรคการเมืองและลงโทษกรรมการ บริหารพรรคดังเป็นที่ทราบกันทั่วไป
บทเรียนของการเมืองเชิงอำนาจขาดศีลธรรมคุณธรรมและการบริหารธุรกิจแบบ CEO ในระบบการเมืองของรัฐบาลไทยรักไทยและพรรคพลังประชาชนเป็นบทเรียนที่มีค่า ยิ่งต่อการเกิดใหม่ของการเมืองภาคประชาชนอย่างแท้จริงที่นำโดยพันธมิตร ประชาชนเพื่อประชาธิปไตยขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การเมืองศีลธรรมที่พัฒนามา จากกรอบแนวคิดของท่านอาจารย์พุทธทาสเรื่องธรรมะกับการเมือง ธรรมาธิปไตย การเมืองเป็นหน้าที่ของทุกคน เรามาใช้หนี้แผ่นดินด้วยการเสียสละความสุขส่วนตนเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน และถือว่าเป็นการสร้างบุญทำความดีทดแทนคุณของแผ่นดินแม่
ในความเป็นจริงการเมืองภาคพลเมืองได้วางต้นแบบต่อยอดความคิดท่านอาจารย์พุทธ ทาสเรื่องธรรมะกับการเมืองมานานแล้วในภาคประชาชนระดับรากแก้วและภาควิชาการ ตัวแบบสามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขาของศาสตราจารย์นายแพทย์ประเวศ วะสีเป็นกลไกสำคัญที่พยายามสร้างต้นแบบการเมืองภาคประชาชนจากกระบวนการมี ส่วนร่วมของกลุ่มผลประโยชน์หลักคือภาครัฐราชการ ภาควิชาการสถาบันการศึกษาและภาคประชาชนรากแก้วรวมทั้งกลุ่มกลุ่ม NGO มารวมกันเพื่อสร้างกระบวนการนโยบายสาธารณะที่ดีจากประชาชนตัวอย่างเช่น โครงการสัจจะวันละบาท แผนสุขภาพประชาชนของคนสงขลาเป็นต้น
การเมืองใหม่คือประชาธิปไตยศีลธรรม
วิกฤติ 7 ตุลาคม 2551 ทำให้อำนาจรัฐบาลที่ขาดความชอบธรรมถึงทางตัน ผู้นำรัฐบาลขาดปัญญาไร้สติใช้อำนาจและตัณหาแก้ปัญหาการเมืองซึ่งนำไปสู่การ สูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ของประเทศไทยอีกครั้งหนึ่ง ตำรวจใช้อาวุธหนักเข่นฆ่าประชาชนอย่างบ้าคลั่ง มีประชาชนเสียชีวิต เสียอวัยวะหลั่งเลือดบนแผ่นดินแม่ที่ทุกคนเกิดมา ประชาชนเหล่านั้นคือพลังของแผ่นดินเสียสละชีวิตและอวัยวะเพื่อแผ่นดินเกิด เป็นการทำบุญที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคือการเสียสละร่างกายและชีวิต เป็นบุญที่ใหญ่กว่าการทอดกฐินหรือสร้างศาลาวัด การเสียสละครั้งนี้จะต้องนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงการเมืองไทยไปสู่การเมือง ใหม่ที่มีธรรมะนำการเมือง
ประชาธิปไตยศีลธรรมเริ่มจากการสร้างวัฒนธรรมการเมืองใหม่ การเมืองของพระเจ้า การเมืองเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน การเมืองแบบธรรมาธิปไตยกระบวนการขับเคลื่อนวัฒนธรรมการเมืองคุณธรรมนำโดย พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยใช้หลักธรรมะอารยะขัดขืนขั้นสูงสุด ต่อต้านรัฐบาลที่ขาดความชอบธรรมและผู้นำที่ไม่มีคุณธรรม มีแกนนำและประชาชนผู้กล้าหาญและเสียสละสูงสุดนำหน้า ประชาชนทัพหลังสนับสนุน มีการสื่อสารอย่างไร้พรมแดนด้วยข้อมูลที่สมบูรณ์ถึงทุกบ้านทุกครัวเรือน เพื่อเสริมสร้างพลังของประชาชนที่รักชาติให้กลายเป็นพลังของแผ่นดินขับ เคลื่อนวัฒนธรรมการเมืองใหม่ที่เรียกว่า “ การเมืองศีลธรรม ” เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนทุกคน
ประชาธิปไตยศีลธรรมจึงต้องมีกติกาที่ประชาชนทุกคนมีส่วนร่วมในกระบวนการ สรรหาบุคลากรทางการเมืองอย่างแท้จริง ดังนั้นการเขียนกฎหมายรัฐธรรมนูญจึงต้องตอบคำถามนี้ได้ การเลือกตั้งแบบหนึ่งคนหนึ่งเสียงน่าจะเป็นจุดนำร่องการคิดแบบนี้ได้ การจัดกลุ่มผลประโยชน์ให้หลากหลายมีตัวแทนที่สำคัญครบทุกระดับชั้นอาชีพก็ เป็นกรอบที่ดีในการสร้างการเป็นตัวแทนของประชาชนในระบอบประชาธิปไตย
นักการเมืองในกรอบการเมืองใหม่จึงไม่ควรดำรงตำแหน่งการเมืองเป็นอาชีพเช่น เดียวกับอาชีพนักกฎหมาย ข้าราชการ( Occupation ) แต่ต้องเป็นมืออาชีพ คนเก่งที่เสียสละ( Professional ) เข้ามารับใช้บ้านเมืองชั่วคราวสลับภารกิจผลัดเปลี่ยนกันทำงานมาทำหน้าที่ ใช้หนี้แผ่นดินและมาทำบุญให้กับประชาชนผู้ยากไร้และต้องการความช่วยเหลือ การเมืองศีลธรรมจึงเป็นการเมืองใหม่ที่นักการเมืองคือผู้กล้าและเสียสละเข้า มาดูและจัดสรรเงินภาษีของประชาชนเพื่อประโยชน์สาธารณะ
นักการเมืองคือทรัพยากรบุคคลจากหลายอาชีพและผลประโยชน์แต่ทุกคนต้องเป็นผู้ มีความรู้ คุณธรรมและความกล้าหาญเสียสละความสุขส่วนตนเพื่อประโยชน์สาธารณะ ท่านอาจารย์พุทธทาสสอนว่า ขอให้เป็นคนดีก็เพียงพอแล้ว นักการเมืองจึงต้องเป็นนักการเมืองของพระเจ้าเป็นผู้มีคุณธรรมจึงมาจากระบบ ใดก็ได้เพราะแน่นอนว่าคนดีมีคุณธรรมทุกคนจะต้องเข้าไปนำการเมืองเพื่อจัดสรร ทรัพยากรของแผ่นดินทำประโยชน์สุขให้เกิดขึ้นกับเพื่อนร่วมชาติทุกคนแน่นอน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Manager Online - ภาคใต้

Manager Online - ภาคกลาง-ตะวันออก

Manager Online - ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Manager Online - ภาคเหนือ

คันฉ่องนกไฟ

ผู้ติดตาม

http://hi5.com/friend/displayLoggedinHome.do